ปริยัติอย่างไรที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง
สภาพธรรมมะ (จิต เจตสิก รูป) ที่ต้องเรียนเป็นปริยัติเพื่อนำไปสู่การเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง เพราะเท่าที่เคยฟังท่านอาจารย์สุจินต์เทศน์ในพื้นฐานอภิธรรมและแนวทางเจริญวิปัสนา (สติระลึกรู้ในสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถ์ที่ปรากฏขณะนั้น) ท่านจะเน้นเรื่องการฟังมาก ฟังเข้าใจทีละคำ ฟังจนมีความมั่นคงเป็นสัจญาน เป็นปัจจัยสำคัญให้สติปัฏฐานเกิด อยากทราบว่าเรามีความจำเป็นต้องเรียนศึกษาธรรมะจนเข้าใจถ่องแท้จริงๆ (ไม่ใช่จำตัวเลขจำชื่อไปสอบ) ทั้งหมดในอภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรือ อภิธรรมมัตสังคหะ หรือไม่ครับ จึงจะเกิดสติทำกิจเจริญสติปัฏฐานได้
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แท้ที่จริงแล้ว อภิธรรม ก็คือ สิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม ว่าเป็นอภิธรรม ไม่ว่าจะกล่าวถึงเรื่องใดก็ตาม ก็ไม่พ้นไปจากอภิธรรมเลย เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ความดี ความชั่ว เป็นต้น ล้วนเป็นธรรมที่มีจริง ที่เป็นอภิธรรม ทั้งสิ้น พระอภิธรรมจึงไม่ได้อยู่ในตำรา แต่เป็นชีวิตจริงๆ ทุกขณะ เพราะฉะนั้น สำคัญที่การเริ่มต้น ด้วยการฟังด้วยการศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย การศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องนั้น ต้องไม่ใช่แบบวิชาการ แต่เป็นไป เพื่อขัดเกลา ละคลายกิเลส มีความเห็นผิด ความไม่รู้ เป็นต้น เมื่อตั้งต้นอย่างถูกต้อง ก็จะไม่ทำให้ไปในทางที่ผิด เมื่อมีปัญญาเจริญขึ้น จะอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็สามารถรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้ ครับ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ศึกษาธรรม เข้าใจความเป็นอนัตตาครับ ยิ่งต้องการมากเท่าไร ก็เป็นเครื่องเนิ่นช้า โลภะ คือ ความหวัง เกิดได้ โดยไม่รู้ตัวเลย ทั้งกระซิบ บอกให้ทำตามทุกอย่าง เมื่อยังไม่รู้ ไม่เข้าใจ ก็ควรศึกษา ว่าธรรมลึกซึ้ง เพียงใด ทุกประการที่จะเกื้อกูลได้ พระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ วิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา ลักขณาทิจตุกกะ ฯลฯ ทั้งหมด ทุกอย่างเกื้อกูล เพื่อเข้าใจว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เพื่อให้เป็นตัวตน ขึ้นเรื่อยๆ หรืออยากได้มากเรื่อยๆ ไม่อย่างนั้นจะมีคำว่า จิรกาลภาวนา นิรันตรภาวนา ได้อย่างไร ในพระไตรปิฎก
ภาวนา 4 ประการ เพื่อถึงการบรรลุธรรม
ขอขอบคุณ และ ขออนุโมทนาครับ