การสะสมเจริญปัญญา
ปัญญาที่ว่าความว่า ต้องศึกษาอบรมนั้น ปัญญาบางส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นปัญญาเจตสิกจะเสื่อมลงกลับเป็นไม่รู้ได้หรือไม่
สิ่งที่สะสมอยู่ในจิต ย่อมไม่เสื่อมสูญไปไหน ตราบใดที่ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน เพราะฉะนั้นปัญญาที่สะสมมาแล้ว ย่อมไม่เสื่อมหายไปไหน แต่ถ้าขาดการอบรมเจริญต่อไป ย่อมเป็นการสะสมสิ่งอื่น ซึ่งไม่ใช่ปัญญา แต่เป็นอวิชชาจึงมีกำลังมากกว่าตามปริมาณการสะสม
ก่อนอื่นต้องทราบว่า ...
ปัญญาคืออะไร? คือความรู้ถูก ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ในสภาพธรรม คือสิ่งที่ปรากฎ ปัญญาเป็นความรู้จริง ปัญญาเมื่อเกิดกับจิต ย่อมละอวิชชาคือความไม่รู้ได้ในขณะนั้น ขอให้พิจารณาดูนะคะว่า ขณะที่ไม่รู้ ขณะนั้น เป็นปัญญาหรืออวิชชาปัญญาก็เหมือนสภาพธรรมอื่น คือเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่เกิดขึ้นมาเองได้จึงต้องอาศัยการอบรม เริ่มด้วยการฟังธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาตาม แล้วน้อมมาประพฤติปฏิบัติ ปัญญาเองก็มีหลายระดับตามการสะสม จนกว่าจะเฉียบแหลม คมกล้า มีกำลัง ถ้าปัญญาไม่คมจริงๆ ประหารกิเลสไม่ได้หรอกค่ะ ลองคิดดูนะคะ มรรคจิตเกิดขึ้นเพียงขณะเดียว ถ้าไม่คมจริงๆ จะตัดกิเลสขาดหรือค่ะ สำหรับในเบื้องต้น ปัญญาจะต้องรู้ความต่างระหว่างกุศลกับอกุศลให้ได้เสียก่อน มิฉะนั้น ก็จะเห็นโลภะว่าเป็นปัญญาใช่มั้ยค่ะ ก็เลยเจริญโลภะให้หนาขึ้นไปอีก คิดว่าคงไม่ต้องสาธยายไปมากกว่านี้นะคะ
ขออนุโมทนาและยินดีที่ได้ร่วมสนทนาค่ะ
อนุโมทนาค่ะ ปัญญาหรือโลภะน่าคิดนะ สำหรับผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท
ในชีวิตประจำวันของผมโดยมากก็เป็นโลภะครับ เมื่อมีโอกาสได้ฟังพระธรรมขณะนั้นก็ไม่แน่ว่าเป็นปัญญามากน้อยแค่ไหน ก็น้อยมาก แต่ก็ยังดีที่เริ่มฟังบ้าง (คงไม่หายไปไหนนะครับ)
ขออนุโมทนา
ดิฉันก็พิมพ์ช้ามากค่ะ ต้องอาศัยการมองแป้นพิมพ์ บางทีก็หาตัวอักษรไม่เจอ วนอยู่ตั้งนาน ขอยอมช้าดีกว่า เคาะผิดค่ะ พอจะโยงเข้ากับธรรมได้บ้างมั้ยคะ? ถึงช้าดีกว่าปฏิบัติผิด เพราะถ้าปฏิบัติผิด รับรองว่าไปไม่ถึง ช้าหรือเร็วจึงไม่สำคัญ ที่สำคัญคือต้องถูก ดิฉันเองก็ยังเป็นผู้ที่ หนา ไปด้วยกิเลสเช่นกันค่ะ แต่ธรรมสอนให้เราแยกแยะระหว่างกุศลกับอกุศล ถึงแม้อกุศลมีมากในวันหนึ่งๆ แต่ถ้าสติเกิดบ่อยขึ้น ย่อมขัดเกลาอกุศลนั้นให้บางเบาลง คงต้องค่อยๆ ขัดเกลาจริงๆ ค่ะ เพราะรู้ตัวดีว่ายังไม่พร้อมที่จะพรากไปจากกามคุณ ๕ "สู้กับใครไม่สู้ คิดที่จะสู้กับกิเลส" แค่การละความ เห็นผิดว่าเป็นตัวตน ก็หนักหนา สาหัส แล้วค่ะ
จิตเป็นสภาพธรรมที่สะสมทั้งฝ่ายดีและไม่ดี เช่น ขณะที่จิตโกรธเกิดขึ้นก็สะสมอยู่ในจิต ไม่สูญหายไปไหนเป็นปัจจัยให้ครั้งต่อไปโกรธเพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อปัญญาเกิดก็ไม่หายไป ไหนเช่นกัน ก็สะสมอยู่ในจิตนั้นเอง
การสะสมเจริญปัญญา ปัญญาเป็นสี่งที่ พระพุทธองค์ ทรงสรรเสริญมาก การบูชาและการแสดงความนอบน้อมต่อพระองค์ ด้วยปฎิบัติบูชาจึงประเสริฐที่สุด เพื่อให้รู้สภาพธรรม พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต การที่จะรู้สภาพธรรม หรือเห็นธรรมตามความเป็นจริง ต้องเจริญสติปัฎฐาน ซึ่งต้องอาศัยการฟังด้วยดี นานมาก เพื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฎ อย่างละเอียด คล่องแคล่วจริงๆ ถ้าไม่เข้าใจเรื่องราวของลักษณะของสภาพธรรม อย่างดีที่สุดแล้ว สติจะไประลึกอะไร ระลึกไม่ถูก ดังนั้น การสะสมเจริญปัญญาเพื่อเข้าใจเรื่องราวของลักษณะของสภาพธรรมให้ดีที่สุด ละเอียดและถูกต้องที่สุด จะเป็นเหตุปัจจัยให้สัมมาสติในมรรคมีองค์ ๕ หรือ องค์ ๘ เกิดอบรมเจริญสติไปเรื่อยๆ จนเกิดวิปัสสนาญาณจนถึงขั้นบรรลุมรรคผล แต่อย่าหวัง อย่ารีบร้อน อย่าจดจ้อง อย่าประมาท เพราะต้องเป็นจิรกาลภาวนา และมีขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง คืออดทนนานมากๆ ไม่รู้กี่ชาติ บำเพ็ญบารมี ๑๐ ก็จำเป็นอย่างยิ่งนะครับ
เรียนคุณ pirmsombat ตอนนี้ผู้ที่เริ่มเรียนมีความเข้าใจน้อยมาก เจริญสติยังไม่เป็น ไม่รู้จักอะไรคือสัมมาสติ อะไรคือ วิปัสสนา จะเริ่มต้นยังไงดี อธิบายคร่าวๆ ได้ไหม
ผู้ที่เริ่มเรียนมีความเข้าใจน้อย ก็ถูกต้องแล้วล่ะครับ ความเข้าใจจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเอง ตามการสะสม ตามการศึกษา ไม่ควรรีบร้อน เร่งรีบ เพราะความใจร้อนจะนำไปสู่หนทางที่ผิดได้ง่ายๆ และไม่ต้องกังวลว่าเจริญสติไม่เป็น ถ้าค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ ทำความเข้าใจ สติก็จะทำหน้าที่ "ระลึก" ปัญญาจะทำหน้าที่ "เข้าใจ" ไม่ใช่ตัวเราระลึก ไม่ใช่ตัวเราที่เข้าใจนามธรรมและรูปธรรม มีปรากฏให้ศึกษา ทำความเข้าใจ ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่เอง
เรียนคุณ tanya ครับ ผู้ที่เริ่มเรียน เจริญสติยังไม่เป็น เป็นธรรมดาครับ ตัองฟังธรรมที่ไม่คลาดเคลื่อนอีกมากและนาน นี่เป็นการสร้างเหตุ ธรรมทั้งหลายย่อมมาแต่เหตุ ฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจว่า สติคืออะไร สติระลึกอะไร เมื่อไหร่ สติ คือการระลึกได้ เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง คือเป็นสภาพรู้ อาการรู้ สัมมา คือชอบ ถูก ดี สัมมาสติ ก็คือระลึกชอบ ถูกต้อง
วิ แปลว่า แจ้ง ปัสสนา แปลว่า เห็น วิปัสสนา คือเห็นแจ้งหรือรู้แจ้งตามตวามเป็นจริง เริ่มต้นต้องมีสัทธาในพระพุทธศาสนาก่อนเพื่อน สัทธาเปรียบเหมือนพืชหรือเมล็ดพันธุ์ข้าวของชาวนา ถ้าไม่มีพืช ก็ไม่มีการทำนาของชาวนา ผู้ศึกษาและปฎิบัติธรรม ถ้าไม่มีสัทธาก็ไม่มีการฟังธรรม ก็ไม่สามารถเข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรมได้ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดปัญญา รู้ลักษณะของสภาพธรรม ปัญญาที่เกิดจาก การอบรมเจริญภาวนา จะค่อยๆ เพี่มขึ้นจนถึงบรรลุมรรคผลได้ ตามกำลังปํญญาของแต่ละท่าน สรุปว่า มีสัทธาและศึกษาอบรมไปเริ่อยๆ โดยไม่มีเราที่เป็นผู้ที่มีสัทธา ไม่ไช่เราที่ศึกษาอบรม มีแต่ธรรมนะครับ ยินดีช่วยทุกอย่างและขออนุโมทนาครับ
ขั้นแรก ต้องรู้ว่ามีสติกับหลงลืมสติต่างกันอย่างไร สัมมาสติ การระลึกชอบ ระลึกถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ เช่น เห็นมีจริง ฯลฯ สีเป็นรูป เห็นเป็นนามธรรม เป็นต้น
กราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่ได้อธิบายธรรมะขั้นสูงให้ได้ฟังและพิจารณาต่อไป นับว่าท่านผู้ตอบเป็นผู้ที่มีความรู้จริงๆ และยังมีจิตใจเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่นไม่ให้เดินผิดทางไป เราเอง แม้จะยังไม่เข้าใจถึงขั้นบรรลุในตอนนี้ ก็หวังว่าจะจดจำไว้เป็นประโยชน์ในวันหน้า แต่ยังมีความไม่สบายใจก็คือ การที่คุณ pirmsombat บอกว่า อย่าหวัง อย่ารีบร้อน ก็รู้สึกเกรงว่าไม่รีบปฎิบัติให้สำเร็จในชาตินี้ กรรมเก่าที่เคยกระทำไว้จะมาเช็คบิลเสียก่อน เกิดหลงทางไปไม่กลับมา การที่ได้มาพบกับท่านผู้รู้ทั้งหลาย ก็จะสูญเปล่า ท่านผู้รู้พอจะแนะนำวิธีแก้ไขกรรมไม่ดี ที่ได้ทำไปแล้วให้เบาบางลงจะได้ไหม หรือจะมีวิธีใด โอกาสใด ในการเร่งปฎิบัติหนักๆ เพื่อจะทำชดใช้กรรมเก่าให้ดีขึ้น การที่เมื่อก่อนได้กระทำผิดพลาดไป เพราะเราไม่รู้ ไม่ได้ตั้งใจ บางทีเพื่อนชวนไปอะไรอย่างนี้ ในทางโลกเขายังมีการอภัยโทษกันเลย ในทางธรรมะ จะลดโทษให้บ้างได้ไหม
ขอขอบพระคุณ
คุณtanya คะ
อย่าเป็นทุกข์ กังวลใจกับอกุศลที่ดับไปแล้วเลยค่ะ ขณะที่กังวล ขณะนั้นก็เป็นการเพิ่มอกุศล ให้หนายิ่งขึ้นไปอีก ถึงคราวที่กรรมจะให้ผล แม้ผู้นั้นจะเป็นถึงพระอรหันต์หมดกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิง ก็ยังหนีไม่พ้นอกุศลวิบาก ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่ไม่ทุกข์ ดิฉันมีพระสูตรมาฝากค่ะ ลองอ่านดูนะคะ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่นี่ ...