ทานบารมี - การให้ของพระโพธิสัตว์ ตอนที่ 10-13 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  31 พ.ค. 2562
หมายเลข  30897
อ่าน  630

ข้อความต่อไปในคัมภีร์อรรถกถาแสดงว่าพระโพธิสัตว์กำลังคิดเมื่อท่านมีวัตถุที่สามารถจะให้ได้แต่จิตของท่านไม่น้อมไปที่จะให้ ([เล่มที่ 74] ขุททกนิกาย จริยาปิฎก หน้าที่ 658)

"เมื่อมหาบุรุษนั้นตั้งใจเพื่อบริจาคโดยชอบอย่างนี้ วัตถุที่หวงแหนหรือวัตถุไม่มีวิญญาณอันใดเกิดขึ้น. การผูกใจในทาน ๔ คือ การไม่สะสมทานในกาลก่อน ๑ ความที่วัตถุหวงแหนมีน้อย ๑ ความพอใจยิ่ง ๑ ความคิดถึงความหมดสิ้น ๑ ในวัตถุนั้น. ในการติดตามทานเหล่านั้น

ในกาลใด เมื่อไทยธรรมมีอยู่แก่พระมหาโพธิสัตว์ และเมื่อยาจกปรากฏ จิตในกาลให้ไม่แล่นไปไม่ก้าวไป (ว่องไวในความคิดที่จะให้) . ด้วยเหตุนั้นควรแน่ใจในข้อนั้นได้ว่า เมื่อก่อนเรามิได้สะสมในการให้เป็นแน่. ดังนั้นในบัดนี้ ความใคร่ที่จะให้ของเราจึงไม่ตั้งอยู่ในใจ. .... ย่อมให้ทานด้วยคิดว่า ต่อแต่นี้ไป เราจักมีใจยินดีในทานเป็นอย่างยิ่ง เอาเถิดเราจักให้ทานตั้งแต่วันนี้ไป."

เพราะฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่าการให้นั้นบังคับไม่ได้ ผู้ที่ได้สะสมมาที่จะให้บ่อยๆ เนืองๆ ก็สามารถที่จะให้ได้ทันที โดยไม่ลังเล ไม่ต้องคิดหลายๆ ครั้ง ดังนั้น เมื่อใจผู้ใดไม่แล่นไปไม่ก้าวไป ไม่ว่องไวในความคิดที่จะให้ทันที หรือเมื่อเขาลังเล ก็รู้ได้ว่าเขาไม่ได้สะสมมาที่จะให้ในอดีตแน่นอน ข้อความต่อไปแสดงว่า

"พระมหาโพธิสัตว์นั้น บริจาค (ให้ทาน มีใจเอื้อเฟื้อ) มีมือสะอาด (มือที่เปิด หมายถึงของนั้นให้ออกแล้วจากมือ) ยินดีในการเสียสละ เมื่อมีผู้ขอ ยินดีในการแจกทาน ... การผูกใจในทานข้อที่หนึ่ง (หมายถึง การไม่ได้สะสมทานมาในกาลก่อน) เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไปด้วยประการฉะนี้."

จะเห็นได้ว่า เราควรที่จะสังเกตจิตของเราเมื่อไม่ได้น้อมไปที่จะให้ ข้อความต่อไปแสดงว่า

"อนึ่ง พระมหาสัตว์ เมื่อไทยธรรมมีน้อยและบกพร่อง ย่อมสําเหนียกว่า เมื่อก่อนเพราะเราไม่ชอบให้ บัดนี้เราจึงขาดแคลนปัจจัยอย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัดนี้แม้เราจะเบียดเบียนตนด้วยไทยธรรมตามที่ได้นิดหน่อยก็ตามเลวก็ตาม จะต้องให้ทานจนได้ (แม้ว่าสิ่งที่มีอยู่ จะน้อยหรือเป็นของที่บกพร่อง ก็ให้) . เราจักบรรลุทานบารมีแม้ต่อไปจนถึงที่สุด. พระมหาสัตว์นั้น บริจาค มีฝ่ามือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ของยินดีในการแจกจ่ายทาน ให้ทานตามมีตามได้. การผูกใจในทานข้อที่ ๒. เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไป ด้วยอาการอย่างนี้"

เมื่อบางท่านไม่ได้ให้ อาจจะพิจารณาได้ว่า เขาไม่ได้สะสมการให้มา และจากนี้ไป เขาก็จะพยายามที่จะสะสม หรือพิจารณาว่า สิ่งที่เขาจะให้ได้นั้น เป็นสิ่งที่บกพร่อง หรือ ของนั้นมีอยู่น้อย ก็เพราะว่าเขาไม่ได้ให้ในอดีต และต่อจากนี้ไป แม้ว่าเขามีของอยู่น้อย แต่ก็ควรที่จะให้ ข้อความต่อไปแสดงว่า

"อนึ่ง พระมหาสัตว์ เมื่อจิตใคร่จะไม่ให้ (ไม่เต็มใจให้) เกิดขึ้นเพราะเสียดายไทยธรรม (ของที่จะให้นั้นเป็นของเลิศ และสวยงาม) ย่อมสําเสนียกว่า ดูก่อนสัตบุรุษ ท่านปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณอย่างสูงสุด ประเสริฐกว่าสิ่งทั้งปวงมิใช่หรือ. เพราะฉะนั้นท่านควรให้ไทยธรรมที่พอใจอย่างยิ่ง เพื่อสัมมาสัมโพธิญาณนั้นเท่านั้น. พระมหาสัตว์นั้นบริจาค มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน. การผูกใจทานข้อที่๓ ของพระมหาสัตว์ เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไป ด้วยอาการอย่างนี้."

บทความนี้แปลจาก...The Perfection of Generosity - The Bodhisatta’s giving II


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ