ทานบารมี - การให้ของพระโพธิสัตว์ ตอนที่ 11-13 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  31 พ.ค. 2562
หมายเลข  30898
อ่าน  556

บางครั้งเมื่อไม่เต็มใจที่จะให้ หรือเสียดายของ ผู้นั้นก็ควรพิจารณาถึงสิ่งที่เขาต้องการจริงๆ ว่าเขาต้องการเก็บวัตถุนั้นหรือว่าเขาต้องการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมทั้ง 4 การพิจารณาด้วยประการนี้ สามารถที่จะเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้การให้เกิดขึ้น และขณะนั้นก็เป็นการละคลายการผูกใจในทาน (เนื่องด้วยความพอใจยิ่ง ในวัตถุที่เลิศ) ข้อความต่อไป ([เล่มที่ 74] ขุททกนิกาย จริยาปิฎก หน้าที่ 659)

"อนึ่ง พระมหาสัตว์เมื่อให้ทาน ย่อมเห็นความสิ้นเปลืองของไทยธรรมในกาลใด. ย่อมสําเหนียกว่า สภาพของโภคะทั้งหลายเป็นอย่างนี้ คือ มีความสิ้นไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา (หมดไป และแตกทำลายไปเป็นธรรมดา) . อีกอย่างหนึ่ง เพราะเราไม่ทําทานเช่นนั้นมาก่อน. โภคะทั้งหลายจึงปรากฏความในรูปอย่างนี้ (หมดไป เสื่อมไปเช่่นนี้) . เอาเถิดเราจะพึงให้ทานด้วยไทยธรรมตามที่ได้ (ตามที่มีอยู่) น้อยก็ตาม ไพบูลย์ก็ตาม. เราจักบรรลุถึงที่สุดแห่งทานบารมีต่อไป. พระมหาสัตว์นั้น บริจาค มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ให้ทานด้วยของตามที่ได้. การผูกใจในทานข้อที่ ๔ ของพระมหาสัตว์ เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไปด้วยอาการอย่างนี้. "

บางท่านเชื่อว่าเมื่อให้ของไป ทรัพย์ที่มีก็จะหมดไป แต่ความจริง ก็เป็นปรกติของทรัพย์อยู่แล้วที่จะเสื่อมไป หมดไป ไม่ว่าจะให้ หรือไม่ได้ให้ เมื่อถึงเวลานั้น ทรัพย์ของเราก็จะหมดไป หายไป บางคนที่มีทรัพย์มาก และกลัวว่าถ้าเขาไม่ได้ให้ทรัพย์ ทรัพย์นั้นก็จะเลื่อมไป เพราะฉะนั้น เขาเชื่อว่าเขาควรที่จะให้ไปดีกว่า เมื่อเกิดภัยพิบัติจากไฟ จากน้ำ หรือจากโจร หรือเมื่อทรัพย์สินถูกริบคืน โดยพระราชา ผู้นั้นอาจจะเสียใจว่าไม่ได้ให้ไป จะเห็นได้ว่าทรัพย์นั้นไม่ได้หมดไปเพราะการให้ แต่ขึ้นกับกรรมว่าผู้นั้นจะมีทรัพย์ หรือว่าสูญเสียทรัพย์ไป

ข้อความนี้แปลจาก...The Perfection of Generosity - The Bodhisatta’s giving III


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ