ทานบารมี - ความเข้าใจอันเนื่องจากการให้ ตอนที่ 12-13 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  31 พ.ค. 2562
หมายเลข  30899
อ่าน  708

เป็นสิ่งที่ยากที่สุดที่จะอบรมเจริญบารมี (คุณความดีที่ให้ถึงฝั่ง) แม้ว่าผู้นั้นได้ฟังธรรมและเรียนอย่างมากเกี่ยวกับบารมี ก็ขึ้นกับกำลังความสามารถของแต่ละบุคคลที่ผู้นั้นจะอบรมเจริญกุศลได้ในระดับใด บารมีควรที่เจริญอบรมขึ้นทีละเล็กทีละน้อยควบคู่ไปกับปัญญา บ่อยๆ เนืองๆ ผู้นั้นรู้ว่าบารมีนี้จำเป็น ถ้าเป็นผู้เข้าใจว่ากิเลสของตนมีมาก และยากที่จะอบรมเจริญปัญญาได้ถ้ากิเลสไม่ได้ละคลายลงบ้าง เพราะฉะนั้น ในแต่ละชาติกิเลสควรที่จะค่อยๆ ลดลง เพื่อที่ว่าจะสามารถรู้แจ้งในอริยสัจทั้ง 4ได้ เมื่อถึงความเป็นพระโสดาบัน เมื่อรู้แจ้งอริยสัจธรรมครั้งที่ 1 และผู้นั้นจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ ควรที่จะทราบว่าปัญญาประเภทใดเกิดร่วมกับทานบารมี [เล่มที่ 78] อภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้าที่ 563 หมวดของ ญานวิภังค์ (วิเคราะห์ในปัญญา) อธิบายเกี่ยวกับปัญญา เช่น จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา... ทานมยปัญญา สีลมยปัญญา เป็นต้น

ในคัมภีร์สัมโมหวิโนทนี (ขับไล่ความไม่รู้) อรรถกถาในคัมภีร์วิภังค์ จาก...[เล่มที่ 78] อภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้าที่ 652 อธิบายว่า

"ปัญญาใด อันสัมปยุตด้วยเจตนาในทาน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ปัญญานี้ ชื่อว่า ทานมยปัญญา (หมายถึง ปัญญา ความเข้าใจที่เกิดพร้อมกับเจตนาให้ หมายถึง ความเข้าใจอันเนื่องจากการให้ หรือ ทานมยปัญญา) "

เมื่อได้อ่านเช่นนี้ ก็ควรที่จะพิจารณารายละเอียดของปัญญาซึ่งเกิดพร้อมกับความตั้งใจให้ (เจตนาในทาน) ปัญญาไม่สามารถที่จะเกิดด้วยอกุศลจิต และเกิดไม่ได้เมื่อผู้นั้นหวังผล ข้อความต่อไปในคัมภีร์สัมโมหวิโนทนี แสดงว่า

"ปัญญาใด อันสัมปยุตด้วยเจตนาในทาน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ปัญญานี้ ชื่อว่า ทานมยปัญญา. ก็
เมื่อบุคคลคิดว่า เราจักให้ทานดังนี้ ก็ให้ทานอยู่ ครั้นให้ทานแล้ว ก็พิจารณาอยู่ซึ่งทานนั้น. ทานมยปัญญานั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยอาการ ๓ อย่าง คือ ปุพพเจตนา (ก่อนให้) มุญจนเจตนา (กำลังให้อยู่) อปรเจตน (หลังให้แล้ว) "

คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี แสดงโดยละเอียดเกี่ยวกับปัญญาซึ่งเกิดพร้อมกับกุศลจิตที่มีเจตนาให้ กุศลจิตสามารถที่จะเกิดได้โดยไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย หรือมีปัญญาเกิดร่วมด้วย กามวจรกุศลจิต (กุศลจิตที่เป็นไปกับอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ที่เกิดพร้อมกับปัญญาเจตสิก สามารถที่จะเป็นกุศลจิตในขั้นทาน ขั้นศีล หรือขั้นภาวนา การอบรมเจริญปัญญา รวมไปถึงสมถภาวนา และสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นการอบรมเจริญวิปัสสนา เมื่ออบรมเจริญทานบารมี จุดประสงค์ควรที่จะเป็นความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง โดยไม่คาดหวังผลเพื่อตนเอง จึงเป็นการปรุงแต่เพื่อปัญญาซึ่ง เป็นความเข้าใจอันเนื่องจากการให้ (ทานมยปัญญา)

ข้อความนี้แปลจาก...The Perfection of Generosity - Understanding based on giving


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ