คุณความดีที่นำไปสู่การรู้แจ้งความจริง - ศีลบารมี ตอนที่ 3-12 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  4 มิ.ย. 2562
หมายเลข  30908
อ่าน  541

ข้อความใน[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฏก หน้าที่ 578 แสดงเรื่องศีลบารมี ดังต่อไปนี้

- ศีลบารมี มีการละเว้น เป็นลักษณะ ท่านอธิบายว่า มีการสมาทาน (การถือเอาเป็นข้อประพฤติ) เป็นลักษณะ และมีการตั้งมั่นเป็นลักษณะ (หมายถึง ความตั้งมั่น หรือความเป็นมูลรากของกุศลธรรมที่ดีงามทั้งหลายให้เกิดขึ้นได้) [1]
- มีการกําจัดความเป็นผู้ทุศีล เป็นรส. หรือมีความไม่มีโทษเป็นรส (หน้าที่) [2]
- มีความสะอาด เป็นปัจจุปัฏฐาน (ผลปรากฏ หรืออาการที่แสดง) [3]
- มีหิริโอตตัปปะ (ความละอายต่อความชั่ว และการเกรงกลัวต่อผลของบาป) เป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด) [4]

ข้อความนี้แปลจาก…The Perfection of Morality

---------------------------------

[1] ข้อความแปลจากภาษาอังกฤษ และข้อความจากวิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ หน้าที่ 17 แสดงลักษณะของศีลว่า ประกอบด้วย 2 ลักษณะคือ สมาทาน (การถือเอาข้อประพฤติปฏิบัติทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี เป็นต้น) และ ความเป็นรากฐานให้กุศลธรรมทั้งปวงเจริญขึ้นได้ ไม่ว่าจะจำแนกโดยเจตนาใดๆ ทั้งหมดก็จะไม่พ้นไปจาก "สมาทาน" (ถือเอาเป็นข้อประพฤติ) และ "ความเป็นรากฐาน (ของกุศลธรรมที่ดีงาม) ”
[2] คำว่า "รส" (อ่านว่า ระ-สะ) หมายถึง "หน้าที่" ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ "การกระทำ (กิจ) และความสำเร็จ (สมบัติ) ” ศีลนั้น มีการหยุดความประพฤติผิด เป็นกิจ และคุณความดีอันหาโทษไม่ได้ของคนดี เป็นสมบัติ
[3] ความบริสุทธิ์ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นอาการที่แสดง
[4] ส่วนหิริและโอตตัปปะ เป็นปทัฏฐาน เป็นเหตุใกล้แห่งศีลนั้น เพราะเมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ ศีลจึงจะเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี ศีลก็เกิดไม่ได้ ตั้งอยู่ไม่ได้.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ