ศีลบารมี - ศีลของอกิตติดาบส ตอนที่ 2-13 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  10 มิ.ย. 2562
หมายเลข  30922
อ่าน  751

ศจศีลบารมีเป็นคุณความดีอย่างเลิศ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้ถึงฝั่งอันแสนไกล คือการดับกิเลสไม่เกิดอีกเลย ข้อความเกี่ยวกับ ศีลของอกิตติดาบสในคัมภีร์อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก [เล่มที่ 74] ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ หน้าที่ 44 แสดงว่า

"ในบทเหล่านั้น ...ในกาลที่เราเป็นดาบสชื่อว่าอกิตติอยู่ในป่าใบหมากเม่านั้น (การทวีป) ...ด้วยเดชแห่งการบําเพ็ญตบะ คือด้วยอานุภาพแห่งศีลบารมี. จริงอยู่ศีลท่านเรียกว่า ตบะ เพราะเผาความเศร้าหมองอันเกิดแต่ทุจริต. หรือเพราะอานุภาพแห่งเนกขัมมบารมีและวิริยบารมี. เพราะแม้บารมีเหล่านั้นท่านก็เรียกว่าตบะ เพราะเผาความเศร้าหมองคือตัณหา และความเกียจคร้าน (หมายถึง ศีลบารมี ท่านแสดงว่าเป็นตบะ เพราะเผาทุจริต ส่วนเนกขัมมบารมีเผาตัณหา และวิริยบารมีเผาความเกียจคร้าน) "

บารมีทั้ง 10 เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และในสมัยที่พระโพธิสัตว์ดำรงค์พระชาติเป็นอกิตติ ท่านได้สะสมศีลบารมีพร้อมด้วยบารมีอื่นๆ เช่น เนกขัมมบารมีและวิริยบารมี เป็นต้น ข้อความต่อไปแสดงว่า

"อกิตติดาบสอาศัยต้นหมากเม่าใหญ่ ณ ที่นั้น สร้างบรรณศาลาพักอาศัยอยู่. แต่เพราะความเป็นผู้มักน้อยจึงไม่ไปในที่ไหนๆ บริโภคผลไม้ในกาลที่ต้นไม้นั้นมีผล เมื่อยังไม่มีผลก็บริโภคใบไม้ชงน้ํา ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วยฌานและสมาบัติ (หน้าที่ 41) ... (อกิตติดาบสแสวงหาของบริโภคที่พอเพียง เพียงวันละหนึ่งครั้ง) อกิตติดาบสคิดว่า การแสวงหาของบริโภควันหนึ่งสองครั้ง ไม่เป็นการขัดเกลากิเลส ... (หน้าที่ 45) "

นี่คือการอบรมเจริญขันติบารมี เพราะว่าชีวิตของท่านไม่มีเยื่อใยผูกพันกับความต้องการที่จะบริโภคอาหาร ข้อความต่อไปแสดงว่า

"ด้วยเดชแห่งศีลของอกิตติดาบสนั้น...ท้าวสักกะ...ทรงดําริว่า ... ดาบสนี้มีความประพฤติทางกายวาจาและใจบริสุทธิ์สะอาด ไม่อาลัยในชีวิต บริโภคใบหมากเม่าชงน้ํา ...ดาบสนี้ประพฤติตบะที่ทําได้ยากอย่างนี้เพื่ออะไรหนอ"

ข้อความนี้แปลจาก...The Perfection of Morality - Ascetic Akitti’s sila I


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
kullawat
วันที่ 24 มิ.ย. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ