ศีลบารมี - ศีลของอกิตติดาบส ตอนที่ 5-13 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  12 มิ.ย. 2562
หมายเลข  30930
อ่าน  531

บางท่านอาจจะสงสัยว่า การให้พร หรือ การขอพร (รับพร) หมายถึงอะไร จะได้เห็นความตั้งใจแน่วแน่เพื่อที่จะอบรมเจริญกุศลธรรม จากที่ท่านอกิตติดาบสปรารถนาในพรนั้น พรที่ปรารถนาก็เพื่อการอบรมเจริญในบารมีทั้ง 10 ข้อความต่อไปใน คัมภีร์จริยาปิฎก หน้าที่ 48 แสดงว่า

"ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ คนทั้งหลายได้บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติ และ ของเป็นที่รักด้วยความโลภใดแล้วไม่เดือดร้อน ข้อความโลภนั้นไม่พึงอยู่ในอาตมาเลย."

นี้แสดงว่าท่านมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในจิตของท่าน ท่านไม่ได้หวังที่จะมีความติดข้องแม้ในสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อน บางท่านที่ไม่ได้มีความมั่นคงในการอบรมเจริญบารมีอาจคิดว่าความติดข้องทำให้ชีวิตสะดวกสบาย และน่าพอใจ ตราบเท่าที่ความติดข้องนั้น ไม่ได้ทำให้ใครต้องเดือดร้อน ก็ไม่ได้มีอันตรายในความติดข้องนั้นแต่อย่างไร แต่ว่าท่านอกิตติต้องการที่จะเป็นอิสระจากความติดข้องทั้งหมด นี่คือความมั่นคงในกุศลธรรมที่เป็นระดับของบารมี ข้อความต่อไปแสดงว่า

"ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าว ดีแล้ว ฯลฯ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก."

เราจะปรารถนาพรที่จะเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้กุศลมั่นคงยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับท่านอกิตติหรือไม่ สิ่งที่ท่านของยังไม่ครบ พรข้อถัดไปที่ท่านอกิตติดาบสขอ ก็แสดงอีกครั้งถึงความหมายของกุศลธรรมที่เป็นขั้นของบารมี ข้อความต่อไปแสดงว่า

อกิตติดาบสกล่าวว่า "ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ นา ไร่ ทอง โค ม้า ทาสและบุรุษ ย่อมเสื่อมไป (และตายไป) (ความไม่น่าพอใจนั้นไม่พึงมีแก่อาตมา) "

การเสื่อมจากทรัพย์เป็นอกุศลวิบาก เป็นผลที่ได้รับจากอกุศลกรรมที่ผู้หนึ่งผู้ใดได้กระทำไปในอดีต จะไม่มีการสูญเสียทรัพย์เลยถ้าผู้นั้นไม่ได้ทำอกุศลกรรม ข้อความต่อไปแสดงเรื่องการขอพรของท่านอกิตติ

" (นา ไร่ ทอง โค ม้า ทาสและบุรุษ ย่อมเสื่อมไป) ด้วยโทษใด โทษนั้น ไม่พึงอยู่ในอาตมาเลย (หมายถึงขอให้ไม่มีอกุศลกรรมใดๆ ที่สามารถเป็นเหตุให้เกิดการสูญเสีย ความเสื่อมในทรัพย์ เช่นนั้น) "

ท้าวสักกะตรัสว่า "ข้าแต่ท่านกัสสปะ ฯลฯ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก"

ท่านอกิตติดาบสกล่าวว่า "ท่านท้าวสักกะหากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ยินคนพาล ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยคนพาล ไม่พึงกระทํา และไม่พึงชอบใจการสนทนาปราศรัย ด้วยคนพาล."

ท้าวสักกะตรัสถาม "ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะอะไรท่านจึง ไม่ชอบคนพาล ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงไม่ปรารถนาที่จะเห็นคนพาล."

ข้อความนี้ถูกแปลจาก...The Perfection of Morality - Ascetic Akitti’s sila IV


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ