ศีลบารมี - อกิตติจริยา ตอนที่ 8-13 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
ถ้าเราพิจารณาบารมีที่อบรมเจริญโดยพระโพธิสัตว์ ในชาติก่อนที่ท่านจะมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามที่แสดงในคัมภีร์จริยาปิฎก ก็จะเห็นได้ว่าการอบรมเจริญบารมีของเราเองนั้นเล็กน้อยจริงๆ เมื่อเทียบกับการอบรมเจริญบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมากมายเกินประมาณ เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะอบรมเจริญทุกๆ บารมีต่อไปยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรที่จะคาดหวังว่าสำหรับปัญญาที่รู้ตรงในลักษณะของนามและรูปซึ่งกำลังเกิดดับอย่างรวดเร็วในขณะนี้ ไม่สามารถรู้แจ้งสัจจะที่มีจริงได้อย่างรวดเร็วทันทีทันใด แต่ความเข้าใจต้องถูกอบรมเจริญขึ้นทีละเล็กทีละน้อยในช่วงเวลาที่ยาวนานไม่มีที่สุด ข้อความในตอนท้ายของคัมภีร์อรรถกถา ในเรื่องของ "อกิตติจริยา" ใน[เล่มที่ 74] คัมภีร์จริยาปิฎก หน้าที่ 55 แสดงว่า
"แม้จิตเลื่อมใสในท่านเหล่านั้น (หมายถึงเลื่อมใสในพระโพธิสัตว์) ก็พึงพ้นจากทุกข์ได้ จะพูดไปทําไมถึงการทําตามท่านเหล่านั้นโดยธรรมสมควรแก่ธรรมเล่า. (อาจเป็นแต่เพียงการพูดว่าเลื่อมใสถึงความประพฤติของพระโพธิสัตว์ และไม่ได้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ตามที่พระโพธิสัตว์ได้ประพฤติแล้ว) "
เพราะฉะนั้นถ้าเพียงแต่มีความเลื่อมใสในบารมีของพระพุทธเจ้าที่อบรมในชาติก่อนๆ ของพระองค์ ก็ไม่เพียงพอ แต่เราควรที่จะประพฤติบารมีเหล่านี้ (ตามที่พระโพธิสัตว์ประพฤติมา) ในชีวิตประจำวันด้วย เราอาจจะกล่าวว่าเราเลื่อมใดด้วยคำพูดแต่ แม้ว่าเราพูดด้วยกุศลจิต ถ้าเราไม่ได้ประพฤติตามด้วยข้อประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง ก็ไม่มีทางที่จะถึงฝั่งได้ อาจจะพิจารณาบารมีที่เราเริ่มอบรมเจริญ การที่สนใจในการฟังธรรมและศึกษาเกี่ยวกับของประพฤติปฏิบัติเกี่ยวข้องกับธรรม จะต้องมีวิริยบารมี ความเพียรที่จะฟังธรรม ถ้าไม่มีวิริยะ หรือความเพียรชอบ เราจะไม่มาฟังธรรม แต่ก็จะไปฟังเรื่องอื่นที่ให้เราสนุกสนานและพอใจ เมื่อฟังธรรมก็จำเป็นต้องมีขันติบารมีด้วย (ความอดทนทั้งต่อสิ่งที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ) เพราะบางครั้งเราต้องฟังในสิ่งที่เราไม่ได้รู้สึกสนใจเลย ไม่ได้น่าสนุกสนานเลย ถ้าไม่มีความอดทน ก็ไม่สามารถอบรมเจริญบารมีอื่นๆ ได้ เช่น ศีลบารมี เป็นต้น ถ้าปราศจากศีลบารมี ก็จะละเมิดศีลด้วยการกระทำทางกายและคำพูด
ข้อความนี้แปลจาก...[เล่มที่ 74] The Perfection of Morality - Conduct of Akitti