เสพอารมณ์ และ ความเร็วของจิต
กราบเรียนถามสองคำถาม
หนึ่ง คำว่าเสพอารมณ์ หมายถึงยินดียินร้ายกับอารมณ์นั้น ใช่หรือไม่
สอง ประมาณการ/เปรียบเทียบความเร็วของจิต มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกส่วนไหนหรือ อรรถกถา ฎีกาที่ใหน อย่างไร
ขอบพระคุณยิ่งครับ
๑. คำว่า เสพอารมณ์ ภาษาบาลี ชวน ในการกล่าวถึงวิถีจิต โดยกิจ ซึ่งมักนิยมแปลทับศัพท์ว่า ชวนะ และอธิบายว่า เสพอารมณ์ หรือแล่นไปอย่างเร็ว ขณะนั้นจิตเป็นกุศล เป็นอกุศล หรือเป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์
๒. มีกล่าวไว้ในอรรถกถาและฎีกาทั้งหลาย ว่าจิตเกิดดับเร็วเมื่อเทียบกับรูป เมื่อรูปดับหนึ่งขณะ จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 79
อนึ่ง ต่อมน้ำ ย่อมเกิดขึ้น และแตกดับไปในหยาดแห่งน้ำนั้นๆ เป็นของไม่ตั้งอยู่นาน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้น และย่อมดับไปเป็นของไม่ตั้งอยู่นาน คือเวทนานั้นซึ่งบัณฑิตพึงนับได้แสนโกฏิขณะ * เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในขณะชั่วการดีดนิ้วมือครั้งหนึ่ง.
อนุโมทนาครับ แต่ยังไม่ตรงตามที่อยากทราบครับ อยากทราบในความหมายเช่น เสพคนพาล ซ่องเสพคนพาล บัณฑิตไม่ควรซ่องเสพ (คำแปลว่า คบ) อยากทราบหมายถึง "ยินดียินร้าย" หรือไม่ ส่วนเคยพบว่า ชั่วดีดนิ้วหนึ่งครั้ง จิตเกิดแสนโกฏขณะ อะไรทำนองนี้ ไม่ทราบมีที่ไหนเขียนไว้ครับ
จาก ..ความคิดเห็นที่ 2 ได้ยกพุทธพจน์ซึ่งกล่าวถึงเวทนา ซึ่งเป็นเจตสิก เจตสิกเกิดพร้อมจิตและดับพร้อมจิต ดังนั้น จิตจึงเกิดดับเร็วเท่ากับเวทนาหรือจิตและเจตสิกเกิดดับเร็วเท่ากัน
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 79
อนึ่ง ต่อมน้ำ ย่อมเกิดขึ้น และแตกดับไปในหยาดแห่งน้ำนั้นๆ เป็นของไม่ตั้งอยู่นาน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้น และย่อมดับไปเป็นของไม่ตั้งอยู่นาน คือ เวทนานั้นซึ่งบัณฑิตพึงนับได้แสนโกฏิขณะ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในขณะชั่วการดีดนิ้วมือครั้งหนึ่ง.