ศีลบารมี - ศรัทธามั่นคงในพระสัทธรรม (ธรรมที่มีอยู่จริง) ตอนที่ 12-13 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  17 มิ.ย. 2562
หมายเลข  30947
อ่าน  622

ถ้าผู้ใดอบรมกุศลธรรมโดยที่ไม่ได้หวังผลเพื่อตนเอง ผลที่ได้ก็จะต้องสอดคล้องกันกับกุศลที่ผู้นั้นกระทำ บางคนอาจจะพูดเก่ง แสดงความคิดของตนเองด้วยคำที่ไพเราะ แต่เมื่อผู้นั้นพูด ก็ควรที่จะคิดถึงผู้ฟังด้วย ควรที่จะรู้ว่าผู้ฟัง จะรู้สึกเขินอาย หรือมีความสุข ถ้ามีสติสัมปชัญญะ คือ สติ และปัญญาเกิดขึ้น ผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงจากคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกไม่สบายใจ แม้ว่าเขาจะไม่ได้พูดคำไม่จริง ถ้าสติสัมปชัญญะเกิดขึ้น จะเป็นเหตุให้ผู้นั้นพูดคำที่เป็นประโยชน์ ในทางที่เป็นที่ยอมรับ ถ้าผู้นั้นไม่หวังในผลเพื่อตนเอง กุศลนั้นก็จะให้ผลของกุศลเองอยู่แล้ว ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ ข้อความต่อไปในคัมภีร์จริยาปิฎก หน้าที่ ... แสดงว่า

"เพราะไม่พยาบาทจึงเป็นผู้ดูน่ารัก. เป็นที่ยกย่องของสัตว์ทั้งหลายให้สัตว์เลื่อมใสโดยไม่ยาก เพราะเป็นผู้พอใจยิ่งในประโยชน์ของผู้อื่น. อนึ่งเป็นผู้มีสภาวะไม่เศร้าหมอง อยู่ด้วยเมตตา (พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีลักษณะสูงส่ง และเป็นผู้ที่อยู่ด้วยเมตตา) . เป็นผู้มีศักดิ์มีอานุภาพมาก.

เพราะเป็นผู้ไม่เห็นผิดจึงย่อมได้สหายดี. แม้จะถึงตัดศีรษะก็ไม่ทํากรรมชั่ว. เป็นผู้ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าวเพราะเห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน. ศรัทธาของเราเป็นรากตั้งมั่นในพระสัทธรรม [1]. เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต. ไม่ยินดีในลัทธิอื่นดุจพระยาหงส์ ไม่ยินดีในที่มีขยะฉะนั้น. "

เราจะได้เห็นความละเอียดของจิตที่เป็นผู้ไม่เห็นผิด ไม่ควรเลยที่จะคบหากับบุคคลที่เห็นผิด คนที่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจะนำมาซึงผลใด อาจจะเชื่อและยึดติดอยู่ในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ เช่น มงคลตื่นข่าว เป็นต้น ผู้นั้นอาจจะได้ฟังธรรมและมีความเลื่อมใส แต่ถ้าไม่มีความเลื่อมใสมั่นคงยิ่งขึ้นในพระสัทธรรม หรือธรรมที่มีอยู่จริง ก็ยังคงเชื่อมงคลตื่นข่าว และขาดความเข้าใจในเหตุและผล (ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง)

ข้อความนี้แปลจาก...The Perfection of Morality - Firm faith in true Dhamma

------------------------------------------------

[1] พระสัทธรรม <- ศึกษาเพิ่มเติมความหมายของสัทธรรมได้


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ