ธรรมชาติกับธรรมะ
ธรรมะ คือ สิ่งที่มีจริงทั้งหมด ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และไม่ใช่ธรรมชาติ โดยปรมัตถ์ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นธรรมะ บางแห่งคำว่า ธรรมะ หมายเอาเฉพาะกุศลธรรม เช่น คำว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม บางแห่งหมายเอา พระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่แสดงไว้ทั้งหมดเป็นธรรมะ (ปริยัติธรรม) ฉะนั้นในพระไตรปิฎก จึงมีหลายความหมาย แต่คำว่า ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ไม่มีในพระไตรปิฎก สรุป คือความหมายคำว่าธรรมะ มีความหมายกว้างกว่า คือ รวมสิ่งที่มีจริงทั้งหมด แต่ธรรมชาติ หมายถึง รูปธรรมที่เกิดขึ้น เพราะอุตุเป็นปัจจัย
ธรรมะ กับ ธรรมชาติต่างกันอย่างไร
ถ้าพูดถึงธรรมชาติ บางคนอาจคิดถึงภูเขา ต้นไม้ น้ำทะเล ดาว แต่ถ้าพูดถึงธรรมแล้ว เป็นสิ่งซึ่งหมายถึง สิ่งที่มีจริงๆ เป็นสิ่งซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้น ปรากฏแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงธรรมชาติ ก็จะต้องเข้าใจด้วยว่า ธรรมชาติในทางธรรม หรือธรรมชาติในทางโลก ธรรมชาติในทางธรรมก็คือ ธรรม หมายถึง ไม่ใช่ตัวตนสัตว์ บุคคล เป็นธรรมะ เป็นธาตุ ใช้คำว่า
ธาตุ ก็ได้ หรือ ธรรมะ ก็ได้