พระองคุลิมาล

 
vichit
วันที่  18 มี.ค. 2550
หมายเลข  3103
อ่าน  3,064

เหตุใดพระองคุลิมาลจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 19 มี.ค. 2550

พระองคุลิมาลได้บรรลุเพราะท่านได้สะสมอบรมบารมีมาพร้อมแล้ว ในชาติสุดท้าย ท่านได้ฟังพระธรรมและเจริญวิปัสสนาจึงบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ขอเชิญอ่านประวัติและคาถาของท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 19 มี.ค. 2550

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 132

องคุลิมาลเถรคาถา

ผู้ใดเคยประมาทในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอกฉะนั้น บาปกรรมที่ทำไว้แล้ว อันผู้ใดย่อมปิดกั้นไว้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น ภิกษุใดแล แม้จะยังหนุ่ม ความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุ นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอกฉะนั้น ก็ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา ขอจงพึงธรรมกถาที่เราได้ฟังแล้วในสำนักของพระศาสดา ขอจงประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ขอจงคบหากับ มนุษย์ผู้เป็นสัตบุรุษ ซึ่งถือมั่นแต่ธรรมอย่างเดียว ก็ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา ขอเชิญฟังธรรมของท่านผู้กล่าวสรรเสริญความอดทน ผู้มีปกติสรรเสริญความไม่โกรธ ตาม เวลาอันสมควร และขอจงปฏิบัติตามธรรมอันสมควรแก่ธรรมนั้นเถิด ขออย่าเบียดเบียนเราและชาวประชาหรือ ว่าสัตว์อื่นใดเลย พึงบรรลุความสงบอย่างเยี่ยม และพึง รักษาสัตว์ทั้งปวงให้เป็นเหมือนบุตรที่รักเถิด ก็ชาวนาที่ต้องการน้ำย่อมไขน้ำไป ช่างศรย่อมดัดลูกศร ช่างไม้ย่อมถากไม้ บัณฑิตย่อมฝึกตน คนบางพวกฝึกช้างและม้า เป็นต้น ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บาง ส่วนเราเป็นผู้อันพระศาสดาผู้คงที่ทรงฝึกแล้ว โดยไม่ได้ทรงใช้อาชญาและศาสตรา เมื่อก่อนเรามีชื่อว่า อหิงสกะ ผู้ไม่เบียดเบียน แต่เรายังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่

วันนี้เราเป็น ผู้มีชื่อจริง ไม่เบียดเบียนใคร แต่ก่อนเราเป็นโจรลือชา ทั่วไปว่าองคุลิมาล ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปจนได้มาพบพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้า ครั้งก่อนเรามีมือเปื้อนด้วยโลหิต ลือชื่อไปทุกทิศว่าองคุลิมาล แต่บัดนี้ องคุลิมาลได้มาพบ พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้าแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ ภพน้อยภพใหญ่ขึ้นได้แล้ว เราได้ทำกรรมเช่นนั้นอันเป็น เหตุให้ไปสู่ทุคติเป็นอันมาก จึงต้องมารับผลกรรมที่ทำไว้ แต่บัดนี้ เราบริโภคโภชนะโดยไม่เป็นหนี้ คนพาลผู้มี ปัญญาทราม ย่อมประกอบตามความประมาท ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ อันประเสริฐสุดฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตาม ความประมาท อย่าประกอบความสนิทสนมด้วยความ ยินดีในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งพินิจอยู่ ย่อมถึงความสุขอันไพบูลย์

การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดา เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็นการมาไม่ดี การที่เราคิดจะ บวชในสำนักของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่ เลวเลย เพราะเป็นการเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ในธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้ว การที่เรามาสู่ สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็น การมาไม่ดี การที่เราคิดจะมาบวชในสำนักของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่เลวเลย เราได้บรรลุวิชชา ๓ ตามลำดับ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว แต่ก่อนเราอยู่ในป่า โคนไม้ ภูเขา หรือใน ถ้ำทุกๆ แห่ง มีใจหวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ เราผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วไม่ไปในบ่วงมาร จะยืน เดิน นั่ง นอนก็เป็นสุข เมื่อก่อนเรามีเชื้อชาติเป็นพราหมณ์ มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ทั้งหลายฝ่าย บัดนี้ เราเป็น โอรสของพระสุคตศาสดา ผู้เป็นพระธรรมราชา เราเป็น ผู้ปราศจากตัณหาแล้ว ไม่ถือมั่น คุ้มครองทวาร สำรวมดีแล้ว เราตัดรากเหง้าของทุกข์ได้แล้ว บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว

จบ องคุลิมาลเถรคาถา

อรรถกถาองคุลิมาลเถรคาถาที่ ๘

คาถาของท่านพระองคุลิมาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า คจฺฉํ วเทสิ สมณฐิโตมฺหิ ดังนี้ เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์นามว่าภัคควะ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศลในเมืองสาวัตถี

ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 19 มี.ค. 2550

ในสังสารวัฏฏ์ ทุกคนก็เคยสะสมกุศลและอกุศล รวมทั้งปัญญาด้วย พระองคุลิมาล เป็นหนึ่งใน อสีติมหาสาวก (คือ มหาสาวก ๘๐)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 มี.ค. 2550

ถ้าได้เคยอ่านในพระไตรปิฎกเถรคาถา จะเห็นได้ว่า พระเถระที่บรรลุธรรมแต่ละรูปย่อมได้ทำบุญไว้แต่ชาติปางก่อนกับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวกในอดีต แต่ต้องเป็นบุญที่เป็นไปในวิวัฏฏะ (ปรารถนาเพื่อดับกิเลส) ดังนั้น มูลหรือเหตุที่ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ที่สำคัญก็คือ การได้กระทำบุญไว้แต่ปางก่อนซึ่งบุญนั้นเองเป็นปัจจัยให้ได้พบ บัณฑิต พบพระธรรม และหนทางที่ถูก อันนำมาซึ่งการเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่ดับกิเลสได้ครับ ขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎกเรื่องที่บรรลุเป็นพระอรหันต์เพราะได้กระทำบุญไว้แต่ปางก่อน 2 เรื่อง

[เล่มที่ 53] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 136

ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถาองคุลิมาลเถรคาถาที่ ๘

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ ปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ใน พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์นามว่าภัคควะ ผู้เป็นปุโรหิต ของพระเจ้าโกศลในเมืองสาวัตถี ในวันที่ท่านเกิด อาวุธนานาชนิดทั่วทั้งพระนครลุกโพลง และพระแสงมงคลของพระราชา ซึ่งวางอยู่บนตั่ง ที่บรรทมก็ลุกโพลงด้วย

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 308

ข้อความบางตอน

เรื่องพระอุคคเสน

รุ่งขึ้นวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุ ทั้งหลาย เหตุคือการอาศัยลูกสาวนักฟ้อน เที่ยวไปกับด้วยนักฟ้อนของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตอย่างนี้ เป็นอย่างไรหนอแล เหตุแห่งอุปนิสัยพระอรหัตเป็นอย่างไร"

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยเรื่อง ชื่อนี้" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เหตุแม้ทั้งสองนั่น อันอุคคเสนนี้ผู้เดียวทำไว้แล้ว" เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงทรงชักอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :-

"ดังได้สดับมา ในอดีตกาล เมื่อสุพรรณเจดีย์สำหรับพระกัสสปทศพล อันเขากระทำอยู่ พวกกุลบุตรชาวพระนครพาราณสี บรรทุกของเคี้ยวของบริโภคเป็นอันมากในยานทั้งหลาย กำลังไปสู่เจดีย์สถาน ด้วยตั้งใจว่า "พวกเราจักทำหัตถกรรม" พวกพระเถระองค์หนึ่ง กำลังเข้าไป เพื่อบิณฑบาตในระหว่างทางแล้ว ลำดับนั้นนางกุลธิดาคนหนึ่ง แลเห็นพระเถระแล้ว จึงกล่าวกะสามีว่า "นาย พระผู้เป็นเจ้าของเราเข้ามาอยู่ เพื่อบิณฑบาต อนึ่ง ของเคี้ยวของบริโภคของเราในยาน มีเป็นอันมาก นายจงนำบาตรของท่านมา เราทั้งสองจักถวายภิกษา" สามีนำบาตรมาแล้ว ภรรยายังบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยของควรเคี้ยวของควรบริโภคแล้ว ให้สามีวางลงในมือของพระเถระ แม้ทั้งสองคนทำความปรารถนาว่า "ท่าน เจ้าข้า ดิฉันทั้งสองคนพึงมีส่วนแห่งธรรมอันท่านเห็นแล้วนั่นเทียว" พระเถระแม้นั้น เป็นพระขีณาสพ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านเล็งดู ทราบ ภาวะ คือ อันจะสำเร็จความปรารถนาของเขาทั้งสองนั้นแล้ว ได้ทำการยิ้ม หญิงนั้นเห็นอาการนั้นเข้า จึงพูดกะสามีว่า "นาย พระคุณเจ้าของเรา ย่อมทำอาการยิ้ม ท่านจักเป็นเด็กนักฟ้อน" ผ่ายสามีของนางตอบว่า "นางผู้เจริญ ก็จักเป็นอย่างนั้น" ดังนี้แล้ว หลีกไป นี้เป็นบุรพกรรม ของเขาทั้งสองนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ก.ค. 2564

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม..

เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ [๓๐๑]

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 9 ก.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ