สมอง กับ จิต

 
Suvidech
วันที่  19 มี.ค. 2550
หมายเลข  3105
อ่าน  17,443

สมองกับจิตต่างกันอย่างไร ทำหน้าที่เหมือนกันหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 19 มี.ค. 2550

สมองเป็นรูปธรรม เป็นสภาพไม่รู้อะไร คิดนึกอะไรไม่ได้จิตเป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้อารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สุญญตา
วันที่ 19 มี.ค. 2550

จิตกับสังขาร หรือ จิตกับวิญญาณ ตัวเดียวกันหรือปล่าวคะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 19 มี.ค. 2550

สังขารธรรมคือ จิต เจตสิก รูป

สังขารขันธ์ คือ เจตสิก ๕๐ ดวง

จิตกับวิญญาณ เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน คือ รู้แจ้งในอารมณ์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 มี.ค. 2550

สมองกับจิตต่างกันอย่างไร ทำหน้าที่เหมือนกันหรือไม่ ?

เข้าใจพื้นฐานก่อนนะครับ เราเข้าใจว่าสมองมีเมื่อไหร่ เมื่อคิด ตอนนี้ สมองอยู่ที่ไหน ขณะที่เห็น สมองอยู่ที่ไหน ขณะที่ได้ยิน สมองอยู่ที่ไหน ดังนั้น เราต้องแยกสภาพธัมมะ ที่มีจริง (ปรมัตถ์) และไม่มีจริง (บัญญัติ) ที่กล่าวว่า สมองเป็นรูป อะไรเป็นรูป ขณะที่จับวัตถุสิ่งหนึ่งที่บัญญัติว่า เป็นสมอง อะไรเป็นรูป ขณะจับ สภาพอ่อน แข็ง ใช่ไหมที่เป็นรูป เพราะมีจริง เป็นสภาพธัมมะที่ไม่รู้อะไร ดังนั้น สภาพธัมมะ ที่อ่อน แข็ง เป็นต้น จึงเป็นรูป สมองไม่ใช่รูป แต่บัญญัติขึ้น เพราะอาศัยรูป ที่ประชุมรวมกัน จึงบัญญัติว่า เป็นสมอง รูป มี ๒๘ รูป โต๊ะ เป็นรูปไหม ไม่ใช่ แต่อาศัย รูปต่างๆ ที่ประชุมรวมกัน (เช่นธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม..จึงบัญญัติว่าโต๊ะ) จิต เป็นสภาพธัมมะที่มีจริง เป็นสภาพรู้เท่านั้น ไม่มีสั่ง ตามความเข้าใจเดิม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
TeTee
วันที่ 19 ธ.ค. 2550

๑. ถ้าสมองนึกคิดไม่ได้ สมองมีหน้าที่ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานตามปกติใช่หรือไม่

๒. ถ้าคนต้องผ่าเอาสมองออก แล้วยังไม่ตาย ก็คิดนึกได้ ใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
อิสระ
วันที่ 19 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แช่มชื่น
วันที่ 19 ธ.ค. 2550

๑. รูปไม่ใช่สภาพรู้ ครับ สมองเป็นกลุ่มก้อนของมหาภูตรูปมากมาย ที่ต่างก็เกิดดับไปตามปัจจัย แล้วก็มี มหาภูตรูปใหม่เกิดอีก ตามสมุฏฐานที่เกิด ของรูปนั้นๆ ซึ่งถ้าเราพิจารณาถึงส่วนที่ละเอียดที่สุด ของสมองแล้ว ก็คือ มหาภูตรูป ๔ นั่นเองครับ และการที่ร่างกายจะทำงานตามปกติ ก็เพราะการที่ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม มีความสม่ำเสมอกันครับ

๒. ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ รูปเป็นปัจจัย ให้นามเกิดได้ ครับ แต่จิต ที่กำลังคิดทางมโนทวาร มีภวังคุปัจเฉทะ ซึ่งเป็นนามธรรม เป็นทาง ที่จะทำให้เกิดจิตคิด นี้ขึ้น สมอง จึงไม่ได้เป็นทวาร ให้จิตคิดเกิดขึ้นครับ เพราะฉะนั้น ถ้ากรรมยังทำให้ดำรงความเป็นบุคคลนี้อยู่ ถึงถูกผ่าตัดสมองออก แต่จุติจิตยังไม่เกิด ก็ยังไม่สิ้นการเป็นบุคคลนี้ จึงยังมีปัจจัยให้เกิดจิตคิดนึก ทางมโนทวารได้ครับ แต่ก็ต้องพิจารณา อีกด้วยว่า ขณะนั้นเป็นโมฆวาระนานๆ หรืออยู่ในโวฏฐัพพนวาระ หรือเป็นขณะที่สลบครับ

ผมก็ตอบตามที่ศึกษาได้เท่านี้ครับ แต่ความสัมพันธ์ของรูปและนามในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ที่เราไม่รู้นั้น ย่อมจะต้องลึกซึ้งยิ่งกว่า ซึ่งเราก็คงไม่มีความสามารถที่จะรู้ได้ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
TeTee
วันที่ 20 ธ.ค. 2550

ขอบคุณครับ คุณแช่มชื่นคือผมอยากหาคำตอบว่า สมองทำหน้าที่อะไร? ถ้าไม่สามารถคิดนึกได้ อย่างปอดก็ทำหน้าที่หายใจ กระเพาะทำหน้าที่ย่อยอาหารเป็นต้น ไม่ทราบใครพอมีคำตอบเรื่องนี้บ้างครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พุทธรักษา
วันที่ 20 ธ.ค. 2550

จากหลักธรรมทางพุทธศาสนา ที่ได้เรียนมา สมองเป็นรูปที่เกิดจากกรรม รูปไม่ใช่สภาพรู้ กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดรูป (สมอง) เป็นจิต (ประกอบด้วยเจตนาเจตสิก) เป็นสภาพรู้ สรุปว่า ถ้าไม่มีจิต (กรรม) รูป (สมอง) เกิดไม่ได้แน่นอน หน้าที่ของสมองกับจิตจึงต่างกันโดยนัยของปรมัตถ์

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
TeTee
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

ขอบคุณครับ คุณพุทธรักษาแต่ยังบอกไม่ได้ว่า สมองทำหน้าที่อะไร?

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Sam
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

ควรทำความเข้าใจครับว่า สมองเป็นสิ่งที่มีจริง โดยบัญญัติ ไม่มีจริงโดยปรมัตถ์ ดังนั้น หากจะหาคำอธิบายเรื่องสมอง ก็จะเป็นคำอธิบายที่เป็น เรื่องราวของบัญญัติ เป็นวิชาการทางโลก ซึ่งศึกษาไม่มีวันจบ และไม่นำออกไปจากทุกข์

โดยปรมัตถ์มีแต่นามและรูป สิ่งที่เรียกว่าสมอง ไม่ใช่สภาพรู้ จึงไม่ใช่นาม แต่เป็นรูป เป็นรูป สี ที่เห็นได้ทางตา เป็นรูปเย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง ตึง หรือไหว ที่รู้ได้ทางกายสัมผัส เป็นรูป กลิ่น ที่ดมได้ด้วยจมูก และเป็นรูป รส ที่ลิ้มได้ทางลิ้น ที่สำคัญควรพิจาณาว่า ขณะนี้ มีสมองให้เรารู้ได้ จริงๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายหรือเปล่า หรือมีอยู่ในความคิดเท่านั้น แทนที่จะสงสัยในสิ่งที่ ไม่มีอยู่จริง เราควรศึกษาสภาพของสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏอยู่ ในปัจจุบัน อันจะช่วยให้เราเข้าใจชีวิต และโลกตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
TeTee
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

ขอบคุณครับ คุณ Kถ้าอย่างนั้น ขอถามใหม่ว่า เมื่อสมองไม่สามารถนึกคิดได้ แสดงว่า "สมอง" ของคนและของสัตว์ ไม่ได้เป็นปัจจัยให้คนกับสัตว์ มีความสามารถในการคิดต่างกัน แต่เป็นจิต ที่มีความสามารถต่างกัน ใช่ไหมครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
แช่มชื่น
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

วิชาการทางโลก เป็นการศึกษาในส่วนที่เป็นกลุ่มก้อน ที่พอจะปรากฏ ให้เห็นด้วยตาของมนุษย์ มนุษย์ศึกษาในสิ่งที่จะพอสังเกตเห็น รูปร่าง สัณฐานต่างๆ ได้ และเมื่อมองเห็นสิ่งใด ก็ต้องการที่จะสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ จึงบัญญัติชื่อขึ้น เช่น การบัญญัติชื่อของอวัยวะต่างๆ ว่าเป็นสมอง ปอด กระเพาะอาหาร เพื่อความสะดวกในการศึกษาต่อไป ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษย์ แต่นั่นไม่ใช่การรู้ความจริง ของส่วนที่เป็นความจริงยิ่งกว่านั้น เพราะส่วนใหญ่แล้ว การศึกษามากมาย ล้วนแต่เป็นไป เพื่อการสนองความต้องการของตนเอง ไปตามกำลังของ "โลภะ" และ เพราะยังมีความไม่รู้

ในความจริง สภาพธรรมที่เกิดดับรวดเร็ว ก็หลงยึดสิ่งที่ตนบัญญัติขึ้นนั้นว่า มีสภาพจริงๆ ทั้งๆ ที่ชื่อของสิ่งนั้น ไม่ได้มีสภาพให้รู้อะไรได้เลย คนไทยเรียก "สมอง" ฝรั่งเรียก "brain" ทั้งสองก็เป็นเพียงแต่ชื่อ แต่พอคิดถึงคำนี้ ทุกคนนึกไปถึง สิ่งที่อยู่ในศีรษะของตนอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่ สมองไม่มีจริง มีแต่จิตที่นึกคิด หากเราลองเอามือไปจับที่ ศีรษะ ดู ก็ไม่มีลักษณะของคำว่า "ศีรษะ" เลย มีแต่ลักษณะที่รู้ได้ทางกาย คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว ฯลฯ

แต่ด้วยความที่เราเป็นปุถุชน ผู้มีปรกติหลงลืมสติ จึงข้ามการระลึกรู้ สิ่งที่มีจริง พอไม่ได้ระลึก อกุศลก็เป็นปัจจัยให้เกิดคิดเรื่อยไปอีก ในส่วนเนื้อหา ที่เกี่ยวกับสมองหรือศีรษะตามมาภายหลัง ซึ่งเป็นส่วนที่ปลีกย่อยมากมาย เช่น สมอง มีอย่างนั้น มีอย่างนี้ (ตามการสะสมของการคิดในแต่ละท่าน) ที่คอยตามปิดกั้น ไม่ให้ระลึกรู้สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ มากขึ้นไปอีก และก็เป็นอย่างนี้ เนิ่นนานมาแล้ว ในสังสารวัฏฏ์ครับ

เหตุนี้ ในยุคที่ยังมี พระพุทธศาสนา เราจึงควรศึกษาพระธรรม ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ เพราะไม่มีมหาบุรุษใด จะสามารถตรัสรู้ความจริงนี้ได้เหมือนพระองค์ ซึ่งทรงสามารถที่จะบัญญัติ คำที่ชี้บอกถึงสิ่งที่เป็นจริง มีอยู่จริง เพื่อเปิดทางสว่างแก่สัตว์โลก ให้คลายความเป็นผู้มืดบอด หลงไปในทะเลภาพ ทะเลชื่อ มาโดยตลอด ด้วยพระปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณ และพระบริสุทธิคุณ ครับ ถ้าเราจะศึกษาพระพุทธศาสนา เราก็พักเรื่องวิชาการทางโลก เอาไว้ก่อนดีกว่าไหมครับ เมื่อฟังแล้ว เราก็พิจารณาตามพระธรรม ด้วยเหตุและผลว่า ความจริงที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้โดยละเอียดนั้น เป็นความจริงหรือไม่ อย่างไร การศึกษาแบบนี้ จึงจะเกิดประโยชน์มากกว่าการที่เราพยายามหาคำตอบจาก พระพุทธศาสนา โดยที่ยังเชื่อมโยงความรู้เก่าในวิชาการทางโลกครับขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

รูปที่เป็นที่เกิดของจิตเรียกว่าวัตถุรูปมี ๖ อย่าง

๑. จักขุวัตถุ

๒. โสตวัตถุ

๓. ฆานวัตถุ

๔. ชิวหาวัตถุ

๕. กายวัตถุ

๖. หทยวัตถุ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
พุทธรักษา
วันที่ 22 ธ.ค. 2550

ร่างกาย อวัยวะทุกส่วนจะสามารถทำหน้าที่เฉพาะของตนได้ เพราะมีใจครอง ถ้าไม่มีใจครอง ร่างกายและอวัยวะนั้นก็คือ ศพ ประโยชน์ของการทราบว่า นาม และ รูปต่างกันอย่างไร เพื่อการอบรมเจริญสติ จนละคลายความยึดถือว่ามีตัวตน (ซึ่งเป็นความเห็นผิด) จนเกิดปัญญา ขั้น "นามรูปปริเฉจทญาณ" บรรลุเป็นพระโสดาบัน แต่ถ้าอยากทราบว่า สมองทำหน้าที่อะไร (ในทางวิชาการทางโลก) ควรจะถามแพทย์ผู้ศึกษาเรื่องราวทางสมองโดยตรงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
TeTee
วันที่ 22 ธ.ค. 2550

ความจริงที่ถาม ก็เพราะต้องการทราบว่า ในทางพระพุทธศาสนา มีการกล่าวไว้เกี่ยวกับสมองว่าอย่างไรบ้าง (นอกจากว่าเป็น รูป) เพราะความรู้แบบทางโลก (ทางแพทย์/วิทยาศาสตร์) ก็รู้กันอยู่ว่า สมองมีหน้าที่นึกคิด คำนวณ และควบคุมการทำงานของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย เช่น การหลั่งฮอร์โมนต่างๆ เป็นต้น เผื่อจะได้อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้บ้าง มิได้มีเจตนาเป็นอื่นครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่มาช่วยตอบ/อธิบายครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
พุทธรักษา
วันที่ 22 ธ.ค. 2550

จิตต่างกันเพราะสั่งสมวิบากต่างกัน ทุกชีวิตจึงต่างกันทั้งลักษณะและความคิด

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 22 ธ.ค. 2550

"สมองเป็นสิ่งที่มีจริง โดยบัญญัติ ไม่มีจริงโดยปรมัตถ์ ดังนั้น หากจะหาคำอธิบายเรื่องสมอง ก็จะเป็นคำอธิบายที่ เป็นเรื่องราวของบัญญัติ เป็นวิชาการทางโลก ซึ่งศึกษาไม่มีวันจบ และไม่นำออกไปจากทุกข์" เมื่อมีคำถามในทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะถามถึงสิ่งใด ก็ต้องกลับมาที่ สิ่งที่มีจริงๆ คือ ปรมัตถธรรม นี้เสมอ (ปรมัตถธรรม หมายถึง สิ่งที่มีจริงๆ มี ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน) นอกนั้นเป็นบัญญัติ ค่อยๆ ศึกษาพระธรรมไปก่อนนะครับ ความสงสัยในสิ่งต่างๆ จะเริ่มลดลงครับ ข้อสำคัญคือควรสนใจในสิ่งที่จะนำออกจากทุกข์มากกว่าครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ธ.ค. 2550

แก้อรรถ

มีคำถามว่า "ก็ใจ มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดในขณะเดียวกัน พร้อมกับธรรมเหล่านั้น ไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน ชื่อว่า เป็นหัวหน้าของธรรมเหล่านั้นอย่างไร?" มีคำแก้ว่า "ใจ ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้าของธรรมเหล่านั้น ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัยเครื่องยังธรรมให้เกิดขึ้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อพวก โจรเป็นอันมาก ทำโจรกรรมมีปล้นบ้านเป็นต้นอยู่ด้วยกัน เมื่อมีใครถามว่า "ใครเป็นหัวหน้าของพวกมัน?" ผู้ใดเป็นปัจจัยของพวกมัน คืออาศัยผู้ใดจึงทำกรรมนั้นได้ ผู้นั้นชื่อทัตตะก็ตาม ชื่อมัตตะก็ตาม เขาเรียกว่าหัวหน้าของมัน ฉันใด; คำอุปไมยซึ่งเป็นเครื่องให้อรรถถึงพร้อมนี้ บัณฑิตพึงรู้แจ้ง ฉันนั้น.

ใจชื่อว่า เป็นหัวหน้าของธรรมทั้งหลายนั่น ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัยเครื่องยังธรรมให้เกิดขึ้น ฉะนี้ เหตุนั้น ธรรมทั้งหลายนั่น จึงชื่อว่า มีใจเป็นหัวหน้า, เพราะเมื่อใจไม่เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้. ฝ่ายใจ ถึงเจตสิกธรรมบางเหล่าแม้ไม่เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แท้.

อนึ่ง ใจชื่อว่าเป็นใหญ่ของธรรมทั้งหลายนั่น ด้วยอำนาจเป็นอธิบดี เหตุนั้น ธรรมทั้งหลายนั่นจึงชื่อว่ามีใจเป็นใหญ่. เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายมีโจรผู้เป็นหัวโจกเป็นต้นผู้เป็นอธิบดี ได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ของชนทั้งหลายมีโจรเป็นต้น ฉันใด, ใจผู้เป็นอธิบดี ได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น, เหตุนั้นธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีใจเป็นใหญ่. อนึ่ง สิ่งทั้งหลายนั้นๆ เสร็จแล้วด้วยวัตถุมีไม้เป็นต้น ก็ชื่อว่าของสำเร็จแล้วด้วยไม้เป็นต้น ฉันใด. แม้ธรรมทั้งหลายนั่น ได้ชื่อว่าสำเร็จแล้วด้วยใจ เพราะเสร็จมาแต่ใจฉันนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
TeTee
วันที่ 23 ธ.ค. 2550

ขอบคุณทุกท่านด้วยครับที่เมตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
Sam
วันที่ 12 ก.พ. 2551

สมองมีส่วนในการรู้อารมณ์? ดังที่เคยแสดงความคิดเห็นไว้แล้วว่า สมอง เป็นคำบัญญัติ เรียกรูปกลุ่มหนึ่ง สมองไม่มีจริง แต่รูปเหล่านั้นมีจริง การที่ท่านสมาชิกศรัทธา กล่าวว่า สมองมีส่วนในการรู้อารมณ์

ผมจึงขออนุญาตขยายความเพิ่มเติม (หากเข้าใจไม่ตรงกัน กรุณาชี้แจงเพิ่มเติมครับ) ว่า รูปที่เรียกว่า สมอง (หรือเส้นประสาท ฯลฯ ) นั้น เป็นปัจจัยหนึ่งในการรู้อารมณ์ เพราะหากรูปเหล่านั้น ถูกทำลายหรือทำให้เปลี่ยนสภาพไป ย่อมมีผลต่อการรับรู้อารมณ์ ทางทวารต่างๆ ได้ แต่อย่าลืมนะครับว่า การรู้อารมณ์ครั้งหนึ่งนั้น ประกอบด้วยปัจจัยหลายปัจจัย และธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า รูปที่เรียกว่าสมองนั้น เป็นปัจจัยหนึ่ง (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) ของการรู้อารมณ์ สำหรับภูมิมนุษย์ ที่เราอาศัยอยู่นี้ สำหรับในภูมิอื่นปัจจัยทั้งหลายก็จะมีความวิจิตรแตกต่างกัน

เชิญอ่านหัวข้อที่กล่าวถึง..

รูปเป็นปัจจัยให้แก่รูปและนาม

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
Sam
วันที่ 13 ก.พ. 2551

ขอแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการนำความรู้ทางโลก มาเทียบเคียงกับพระธรรมคำสั่งสอน เพราะหลายๆ คน อาจเห็นว่า ในเมื่อพระธรรม เป็นการบัญญัติ สิ่งที่มีจริง ดังนั้น ก็น่าจะนำไปใช้อธิบายความเห็นของวิชาการทางโลกได้ ในเรื่องนี้ผมขอตั้งสังเกตไว้สองสามประการดังนี้

๑. พระธรรม เป็นคำสอนเพื่อการนำออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อการละ แต่วิชาการทางโลกเป็นไป เพื่อการแสวงหา ลาภ สักการะ สำหรับการเลี้ยงชีพ

๒. การเทียบเคียงกันส่วนใหญ่ มักนำความรู้วิชาการทางโลก เป็นตัวตั้ง แล้วนำข้อธรรมะ มาอธิบาย (รับรอง) ความเชื่อนั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความเห็นที่ขัดกัน เนื่องจาก นำคำสอนที่ละเอียด มาอธิบายในกรอบแนวคิดที่หยาบกว่า และคำที่ใช้ในการเทียบเคียงนั้น แม้จะเป็นคำๆ เดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ก็มักจะมีความหมายไม่เหมือนกัน เนื่องจากคำที่ใช้ในธรรม บัญญัติมีความหมายไม่เปลี่ยน แต่คำในวิชาการทางโลก มีการเปลี่ยนความหมายไป ตามยุคสมัย

๓. หากมีความเข้าใจพระธรรม เมื่ออยู่ในวงสนทนา ที่มีการเทียบเคียงเช่นนี้ก็จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ โดยใช้ความเข้าใจพระธรรมเป็นหลัก ในการอธิบาย และชี้ให้เห็นว่า บัญญัติวิชาการทางโลก แต่ละประการนั้น คือ ปรมัตถธรรมใด มีลักษณะและกิจอย่างไร รวมทั้งเป็นปัจจัยต่อกันอย่างไร ทั้งนี้การอธิบายทั้งหลายก็เพื่อประโยชน์ของผู้ฟัง ในการละกิเลสเป็นสำคัญ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
พุทธรักษา
วันที่ 13 ก.พ. 2551

ขอสนทนาด้วยนะคะ ที่เรียนถามว่า"สังขารไม่เที่ยง"หมายความว่าอะไร ไม่ได้มีเจตนาอื่นนอกจาก อยากทราบว่ามีความเข้าใจตรงกันหรือไม่ และไม่ได้ออกนอกประเด็นเพราะ จากการศึกษา ทราบว่า สังขารไม่เที่ยง ไม่ได้หมายเฉพาะทุกข์กายเท่านั้น มีความหมายกว้างมาก แต่ไม่พ้นจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในเรื่องปรมัตถ์ หากยังไม่มีความเชื่อมั่นคงในปรมัตถ์ จะไม่มีทางรู้ตามพระพุทธเจ้าได้ว่า ทุกสิ่งที่มีจริง แยกออกแล้ว ถ้าไม่ใช่"นามธรรม" ก็เป็น "รูปธรรม"เท่านั้น. ข้อความบางตอนจากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป โดยย่อมีดังนี้ คือ สภาพธรรมมี ๒ ประเภทคือ นามธรรม และ รูปธรรม นามธรรม เป็นสภาพรู้ รูปธรรม ไม่ใช่สภาพรู้

ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

จิต เจตสิก นิพพาน เป็นนามธรรม

รูป เป็น รูปธรรม

สังขารธรรมคือสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดดับ ไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม นิพานเป็น วิสังขารธรรม รูปที่เล็กสุดจนแยกออกจากกันไม่ได้เลยเรียกว่ากลาป ๑ กลาปประกอบด้วยรูปรวมกัน ๘ รูป คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม (อ่อน แข็ง) (เกาะกุม) (ร้อน เย็น) (ตึง ไหว) และ แสงสี กลิ่น รส อาหาร

สิ่งที่บัญญัติเรียกว่า "สมอง" ประกอบด้วย ๘ รูปนี้ จึงเป็นรูปปรมัตถ์ ไม่รู้อารมณ์ใดๆ แต่เป็นอารมณ์ของจิตได้ เป็นอารมณ์ของจิตได้เพราะ มีรูปร่าง มีกลิ่น มีรส มีสี การที่รูปของสัตว์ บุคคลทั้งหลายเคลื่อนไหวไปได้เพราะจิตนั้น ก็ต้องมีรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานด้วย เพราะถ้ามีรูปที่เกิดจากกรรมเท่านั้น จะเคลื่อนไหวไปมาทำกิจธุระใดๆ ไม่ได้เลย เมื่อจิตต้องการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร่างกายส่วนนั้นจะต้องมี "วิการรูป" ที่เกิดจาก "อุตุ" คือความสม่ำเสมอของ "ธาตุเย็น ร้อน" มี "วิการรูป" ที่เกิดจาก "อาหาร" คือ "โอชารูป" เป็นสมุฏฐานด้วย มิฉะนั้นแล้ว แม้จิตต้องการจะเคลื่อนไหว รูปก็เลื่อนไหวไม่ได้ เช่น ผู้ที่เป็นอัมพาต เป็นต้น

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจจ์ และทรงพระมหากรุณาสั่งสอนอย่างละเอียด เพื่อการประจักษ์สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าทุกสิ่งที่เคยยึดถือว่าเป็นเราหรือสิ่งใดๆ ถ้าไม่ใช่ นามธรรม ก็เป็นรูปธรรม ความเข้าใจเรื่องปรมัตถธรรมสำคัญมาก คลาดเคลื่อนไม่ได้ เพราะสติปัฏฐาน (ธรรมอันดับทุกข์) มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ บัญญัติเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานไม่ได้ หากยังไม่เข้าใจเรื่องนามธรรม รูปธรรม จะไม่มีทางเข้าใจอริยสัจจ์ได้เลย

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 ก.พ. 2551

ไม่ลืมว่า พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดและลึกซึ้ง เพื่อนำสัตว์โลกออกจากทุกข์ และ "การอธิบายทั้งหลายก็เพื่อประโยชน์ของผู้ฟังในการละกิเลสเป็นสำคัญ" และพิจารณาในความเห็นที่ 31 และฟังและศึกษาพระธรรมกันต่อนะครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 37  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 ก.พ. 2551

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

มหาประเทศ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 38  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 ก.พ. 2551

ความคิดเห็นที่ 1 โดย : แล้วเจอกัน

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สัตวโลกเป็นไปตามการสะสมมา สะสมที่จะสนใจพระธรรม หรือไม่สนใจ หรือสนใจธรรมแล้ว แต่ก็สะสมไปในทางเห็นถูก และเห็นผิด สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ว่าจะให้สนใจหรือไม่สนใจ จะเห็นถูกหรือเห็นผิด แผ่นดินโลกนี้ ไม่มีใครถมให้เสมอกันได้ จะทำให้แต่ละคนสนใจพระธรรมไม่ใช่ฐานะ แม้พระพุทธเจ้าก็ช่วยไมได้ หากบุคคลนั้นไม่ได้สะสมมา พระองค์เป็นแต่ผู้บอกทาง บางคนไม่อยากไป พระองค์ไม่ตรัสบอก เพราะไม่เป็นประโยชน์ บอกทางแล้ว บางคนไปทางผิด ไปทางถูก จะทำอย่างไรได้เพราะตามการสะสมมา หากแต่ว่า กิจที่ควรทำที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจธรรมของเราว่า ถูกต้องเพียงไร ตรงตามพระธรรมวินัย หรือไม่ มิเช่นนั้นเราก็อาจจะเผยแพร่แนะนำ ในสิ่งที่ผิดก็ได้ โดยไม่รู้..จึงเริ่มที่เราเอง..คบความเห็นถูก บุคคลที่เห็นถูก และแนวทางที่ถูกต้องครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
Komsan
วันที่ 16 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
pamali
วันที่ 30 พ.ย. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 41  
 
สุภาพร
วันที่ 16 ธ.ค. 2553

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 43  
 
p.methanawingmai
วันที่ 17 ส.ค. 2560
สาธุค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 44  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 45  
 
สิริพรรณ
วันที่ 3 พ.ค. 2565

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ