การวัดเวลาเป็น อสงไขย และ มหากัป
ขอถามว่า ๑ อสงไขย และมหากัป นี่เป็นระยะเวลานานเท่าไรครับ ช่วยเปรียบเทียบให้ด้วยครับ
คำว่า "อสงไขย" หมายถึง นับไม่ได้ หรือไม่พึงนับคือ เป็นระยะเวลาที่นานมากๆ ๆ ซึ่งในพระไตรปิฎกมีใช้ ๒ ความหมาย คือ
อสงไขยปี จำนวนปีที่ผ่านไปจนนับไม่ได้ ๑
อสงไขยกัป จำนวนกัปที่ล่วงไปจำนวนมากจนนับไม่ได้ ๑
ในตำราบางแห่งเขียนเป็นตัวเลขให้เห็นดังนี้ เลขหนึ่ง หนึ่งตัว ต่อด้วยเลขศูนย์อีกหนึ่งร้อยสี่สิบตัว เป็นจำนวนหน่วยวัด
ส่วนหนึ่งมหากัป เป็นระยะเวลาที่นานมากๆ เช่นกัน
ในพระไตรปิฎกมีอุปมาเปรียบหลายอย่าง
เชิญอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก
ขอบคุณมากครับ
พออ่านจบ รู้สึกว่าหนี่งกัปก็นานมาก สาเหตุที่ถามก็เพราะว่า ผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการบำเพ็ญพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระสมณโคดม) จึงเกิดความสงสัยในเรื่องของเวลาที่พระองค์ทรงใช้บำเพ็ญ (นานมากจริงๆ ครับ)
เท่าที่ผมได้อ่านตัวอย่างการบำเพ็ญพระบารมีของพระองค์ แต่ละชาติก็ล้วนแล้วแต่ทำได้ยาก (เรื่องที่ชอบมากเป็นพิเศษก็คือ การบำเพ็ญขันติในพระชาติที่พระโพธิสัตว์ประสูติเป็นขันติวาทีดาบส ครับ)
อ่านพระสูตรที่ยกมาแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่า เพียงพอที่จะเบื่อหน่าย แต่กลับไม่รู้สึกเพราะปัญญาน้อยจริงๆ รวมทั้งเราก็อยู่ในสังสารวัฏฏ์มานานแล้ว (อยู่กับอกุศลส่วนใหญ่) ทำให้เมื่ออ่านพระสูตรนี้จึงไม่รู้สึกอะไร ก็คงต้องฟังธรรมต่อไป อบรมบารมีและสติปัฏฐาน รู้ว่าตัวเองยังไม่ดีอีกมากครับ
อนุโมทนาทุกท่านครับ
[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 166
"ราตรีของคนผู้ตื่นอยู่ นาน โยชน์ของคนล้าแล้ว ไกล สงสารของคนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่รู้อยู่ซึ่งสัทธรรม ย่อมยาว"
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
ข้อความบางตอนจาก
อุทัยสูตร
สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อยๆ บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้า บ่อยๆ ส่วนผู้มีปัญญาถึงจะเกิดบ่อยๆ ก็เพื่อได้มรรค แล้วไม่เกิดอีก ดังนี้