ช่วยอธิบาย รู้ทั่วทั้ง ๕ ขันธ์

 
pdharma
วันที่  22 ส.ค. 2562
หมายเลข  31124
อ่าน  856

เคยฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ บรรยายว่า "หากไม่มีความรู้ทั่วแล้ว ก็จะไม่สามารถละกิเลสได้" ทราบว่า รู้ทั่ว นั้นหมายถึง สติระลึกรู้ทั่วทั้ง ๕ ขันธ์ อยากทราบเพิ่มเติมว่า

๑. ความรู้ทั่วทั้ง ๕ ขันธ์นั้น เป็นการรู้ในขณะเดียวกัน หรือเป็นการรู้เป็นลำดับต่อๆ กันไป เช่น จากรูป ไปเวทนา ไปสัญญา ไปสังขาร ไปวิญญาณขันธ์

๒. หากยกตัวอย่างว่า สติระลึกรู้ในสัญญาขันธ์ การระลึกรู้ในขณะนั้นมีลักษณะอย่างไร จะแยกจาก ความคิดว่านี่เป็นความจดจำ ได้อย่างไร

ขอขอบพระคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

ปชานาตีติ ปญฺญา ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่าย่อมรู้ทั่ว. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอริยสัจทั้งหลายโดยนัยมีคำว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญาเพราะอรรถว่า ย่อมให้รู้ ถามว่า ย่อมให้รู้อะไร? ตอบว่า ย่อมให้รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.


เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นชีวิตประจำวัน ของยุคไหน สมัยไหนๆ คือในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ปรินิพพาน หรือว่าปรินิพพานไปแล้ว 2500 กว่าปี หรือว่าจะถึง3000ปี ในอนาคตถึง 4000ปี 50000ปี ก็ตาม สติของผู้อบรมเจริญปัญญาที่จะดับกิเลส ต้องระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามปกติทั่วทั้ง 6 ทวาร

แล้วก็พิจารณา สังเกตุ ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม คลายความไม่รู้ ละคลายความยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตน ซึ่งเหตุผลทั้งหมดจะสอดคล้องกันขณะที่สติปัฏฐานเกิด ระลึกศึกษาจึงรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นปรากฏ ตามความเป็นจริงว่า บังคับบัญชาไม่ได้ ถ้ารู้อย่างนี้ จะคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน โดยไม่เลือกรู้บางนามบางรูป นี่เป็นความรู้ เมื่อรู้ก็ไม่เลือก เพราะว่า ไม่ว่าสภาพธรรมอย่างใดที่ปรากฏ สภาพธรรมนั้นก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทั้งสี้น แต่ถ้าไม่รู้อย่างนี้ ก้จะมีการเจาะจง เลือกด้วยความไม่รู้ หรือว่าพยายามหาทางหนึ่งทางใด ที่จะรู้นามหนึ่งนามใด โดยที่ว่าไม่รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็น สภาพธรรมที่ปัญญาจะต้องรู้ทั่ว จึงจะละคลายได้

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 22 ส.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ละเอียด ลึกซึ้งอย่างยิ่ง จะต้องมีความเพียร มีความอดทนที่จะศึกษา ไม่ขาดการฟังพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เมื่อฟังบ่อยๆ พิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ความเ้ข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น เป็นการสะสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย

ชีวิตที่ดำเนินไปในแต่ละวัน ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริง ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงจิตขณะสุดท้ายของภพนี้ชาตินี้ เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นในยุคใดสมัยใดก็ตาม สภาพธรรมที่มีจริงนั้น ไม่พ้นไปจากทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ไม้พ้น ๖ ทางนี้เลย การที่จะเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเหตุว่าธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยาก กว่าที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้นั้นต้องอาศัยการฟังการศึกษา มีความอดทนทีจะฟัง ที่จะศึกษา บ่อยๆ เนืองๆ เมื่อมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นๆ ย่อมมีเหตุปัจจัยให้สติปัญญาเกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง โดยที่ไม่มีตัวตนที่จะไปบังคับบัญชา เพราะการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้น ต้องเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่มีใครไปทำรู้ให้เกิดขึ้นได้ แต่สามารถอบรมเจริญขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน และการรู้นั้นไม่ได้จำกัดที่จะรู้เฉพาะทางใดทางหนึ่ง หรือ รูปใดนามใด โดยเฉพาะ แต่ต้องทั่วทั้ง ๖ ทาง และประการที่สำคัญ จะรู้ทั่วยังไม่ได้ ถ้าหากว่ายังไม่มีความรู้ความเข้าใจในขั้นของการฟังเรื่องของสภาพธรรม ดังนั้น จึงขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลย ครับ

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

ความสงสัยในขันธ์

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 24 ส.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 4 ก.ย. 2562

ปัญญามีหลายระดับ เพียงแต่เข้าใจธรรมะว่าไม่ใช่เรายังยากเลย และการรู้ทั่วต้องเป็นวิปัสสนาญาณที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของรูปธรรม นามธรรมว่าไม่ใช่เราค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sea
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ