พุทธศาสนาสอนให้ ละ

 
Bom
วันที่  20 มี.ค. 2550
หมายเลข  3119
อ่าน  1,348

ผมยังอยากเที่ยว อยากสนุกสนาน ไปเล่นกีฬา และอื่นๆ อีกมากมาย อ่านจากกระทู้อื่น เขาบอกว่า พุทธศาสนาสอนให้ละ แล้วผมจะมาศึกษาพุทธศาสนาได้หรือครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
กุมารน้อย
วันที่ 20 มี.ค. 2550

ได้สิครับ ..ขอเพียง เป็นผู้ตรงต่อตัวเอง ยังอยากเที่ยว อยากสนุกสนาน ก็เหมือนกับผม และคนทั่วไป ซึ่งเป็นปุถุชนผู้ยังละกิเลสไม่ได้ ศึกษาธัมมะก็อย่าเพิ่งไปตั้งความหวังครับ ว่าจะทำให้เราหลุดพ้นได้เลย ขอให้เริ่มค่อยๆ ศึกษา จนเกิดความเข้าใจขึ้นทีละน้อย จนความเข้าใจที่ถูกสะสมเพิ่มขึ้นนั้นเอง จะเป็นปัจจัยให้เราละคลายความเป็นตัวตนลงได้ ทั้งนี้ต้องใช้เวลานะครับ ไม่ใช่เพียงฟังแล้วจะละได้เลย อุปมาเหมือนการจับด้ามมีดครับ ค่อยๆ จับไป จนวันหนึ่งด้ามมีดย่อมสึกได้ อย่าเพิ่งท้อ หรือหมดกำลังใจเสียก่อนนะครับ เพราะทุกอย่างนั้น ย่อมไม่ง่าย แต่หากได้เริ่มแล้ว ย่อมมีวันที่ถึงจุดหมาย อย่างน้อยก็ขอให้มั่นคง และมั่นใจได้ว่า มีดเล่มนี้เป็นมีดที่ถูกเล่ม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 20 มี.ค. 2550

มีชีวิตปกติทุกอย่าง ไปเที่ยว ดูหนัง ดูละคร เป็นเรื่องปกติธรรมดา เพียงแต่อย่าขาดการฟังธรรม มีเวลาให้กับการศึกษาธรรมบ้าง ขั้นแรกของการศึกษาธรรม ไม่ใช่ให้ละโลภะ แต่ให้ละความไม่รู้ก่อน คือละความเห็นผิด เช่น ข้อปฏิบัตผิด เคยเห็นเป็นอัตตา ก็อบรมปัญญา จนกว่าจะเข้าใจว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
medulla
วันที่ 20 มี.ค. 2550

ค่อยๆ ละคลาย ตามปรกติในชีวิตประจำวันค่ะ ที่สำคัญ อย่าขาดการฟังพระธรรมนะคะ เพราะเป็นปัจจัยให้ละคลายได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 มี.ค. 2550

พุทธศาสนาสอนให้ ละ?

๑. อะไรละ?

๒. ละอะไร? 1. อะไรละ? ความเข้าใจเดิม ทุกอย่างเป็นเรา เราทำได้ มีสัตว์บุคคล ตัวตน แต่ตามความเป็นจริง ทุกอย่างเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา เมื่อทุกอย่างเป็นธัมมะ ก็บังคับไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรา ดังนั้น คำถามที่ว่า อะไรละ เป็นตัวเราที่จะไปละ หรือเป็นธรรมที่ละ ในเมื่อไม่มีเรา มีแต่ธัมมะ ธัมมะก็คือ สิ่งที่มีจริง แม้ความอยาก ความต้องการก็เป็นธัมมะ แต่เรายึดถือว่าเป็นเราอยาก ธัมมะแต่ละอย่าง มีหน้าที่ของเขา ความอยาก (โลภะ) ทำหน้าที่ติดข้อง ไม่ใช่หน้าที่ละ ปัญญาเท่านั้นทำหน้าที่ละ ละอะไรจะตอบข้อ ๒ ดังนั้น จึงต้องเข้าใจเบื้องต้นว่า ทุกอย่างเป็นธัมมะ เมื่อเข้าใจอย่างนี้เราก็จะไม่กังวลว่า มีโลภะที่ยัง ... แต่โลภะก็เป็นธัมมะ หน้าที่ของเราก็คือ รู้ความจริงว่าเป็นธัมมะไม่ใช่เรา

๒. ละอะไร? ที่กล่าวข้างต้น ปัญญาทำหน้าที่ละ ไม่ใช่เราไปละ เช่น บอกให้ไม่โลภ ไม่โกรธได้ไหม ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่ได้ แต่ถ้ามีปัญญามาก บอกให้โกรธ ในเมื่อมีปัญญา ทำอย่างไรก็ไม่โกรธ ดังนั้นต้องเข้าใจว่า เป็นธัมมะ ที่ทำหน้าที่ละไม่ใช่เรา กลับมาสู่ที่ว่า ละอะไรคือ ปัญญาละอะไร สิ่งที่ไม่ดีแน่นอน ที่จะต้องละแล้วอะไรคือสิ่งไม่ดี เริ่มต้นตรงนี้ ที่ว่าการศึกษาต้องเป็นไปตามลำดับ ถูกไหม การละก็เป็นไปตามลำดับเหมือนกัน เมื่อศึกษาธัมมะ จะเริ่มเข้าใจว่าสิ่งที่ต้องละก่อน คือ ความไม่รู้ว่า เป็นธัมมะ ละความไม่รู้ตรงนี้ ละได้ด้วยปัญญา ปัญญาก็มีหลายระดับ ปัญญาขั้นการฟัง ละกิเลสอะไรไม่ได้ เพียงแต่ละความไม่รู้ ขั้นการฟังที่ไม่เคยได้ฟังมาเลย เมื่อเรามีปัญญาเพียงขั้นนี้ เราก็ยังมีโลภะเป็นธรรมดา แต่ให้รู้ว่า ปัญญาขั้นการฟังนี่แหละ เป็นจุดเริ่มที่ถูกต้อง ไปสู่การดับกิเลสครับ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
TSP
วันที่ 20 มี.ค. 2550

การศึกษาธรรมะนั้น ไม่ใช่การทำให้ผิดปกติ ในชีวิตประจำวัน เพียงให้เราสนใจในการศึกษา สนใจที่จะฟัง ซึ่งเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเห็นประโยชน์มากน้อยแค่ไหน เพราะว่า การศึกษาธรรมะจะทำให้เรา เข้าใจชีวิตตัวเองมากยิ่งขึ้นการเข้าใจชีวิต มีประโยชน์ ในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง รู้เรื่องเกี่ยวกับตัวเราเอง ดีกว่าไม่รู้ใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
PUM
วันที่ 21 มี.ค. 2550

พุทธศาสนาสอนให้ ละอกุศลทั้งปวง และสอนให้สะสมทรัพย์ คือ อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐ เป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆ แย่งชิงไม่ได้ เป็นสมบัติติดตัวไปทุกสถาน ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ไม่ถูกทำลายด้วย ภัยพิบัติต่างๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ฯลฯ และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริงมี ๗ คือ ๑. สัทธา ๒. สีล ๓.หิริ ๔.โอตตัปปะ ๕. พาหุสัจจะ ๖. จาคะ ๗. ปัญญา (//84000.org/tipitaka/read/?23/6) ความจริง พุทธศาสนา สอนให้รู้ว่า เราควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร ในส่วนที่ยังต้องข้องเกี่ยวกับโลกียวิสัย สอนให้รู้ว่า ฆาราวาสควรประพฤติธรรม ข้อใดบ้าง จึงจะอยู่เป็นสุข ในส่วนโลกุตร หรือผู้ที่ เบื่อหน่ายต่อการเวียนว่ายตายเกิด ควรประพฤติธรรมข้อใดบ้างจึงจะหลุดพ้น ส่วนผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม ต้องถามตัวเองว่า ต้องการประโยชน์แค่ไหน ก็เลือกปฏิบัติธรรมให้ถูกกับ สถานภาพ จริต และอินทรีย์ของตนเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Guest
วันที่ 21 มี.ค. 2550

ปัญญาย่อมเกิดและเจริญขึ้นตามลำดับ ไม่ก้าวกระโดด

ปัญญาย่อมเกิดและเจริญ ขึ้นตามลำดับ ไม่ก้าวกระโดด เหมือนกบกระโดดเบื้องต้น ปัญญาเกิด เพราะการฟังการศึกษา บางอย่างที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ เมื่อคิดพิจารณาภายหลัง ย่อมแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อเข้าใจมากยิ่งขึ้น ย่อมศึกษา ตัวลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังมีในขณะนั้น เมื่อระลึกศึกษา จนปัญญาคมกล้า มากยิ่งขึ้นย่อมแยกความเป็นนามและรูป และปัจจัยของนามและรูป เมื่อวิปัสสนาปัญญา มีกำลังมากขึ้น ย่อมเห็นความเกิดดับ และเห็นโทษของนามรูป จากนั้นย่อมเบื่อหน่ายใคร่จะพ้น เมื่อวางเฉยแก่นามรูป ย่อมพ้นด้วยอริยมรรค เมื่อพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้วระดับของปัญญาของพระอริยบุคคล ย่อมเป็นไปตามลำดับ ตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์ ตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น จาก ..ธรรมะทัศนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 28 ส.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ