การ เกิด-ดับ
ในพระอภิธรรมมัตถสังคหแสดงว่า รูปทุกรูป เว้นวิญญัติ และลักษณะรูปเสียมีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต ฯ ดังนั้นรูปที่เหลือทั้งหมด ย่อมมีอายุ ๑๗ ขณะของจิต ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน เกิดกับใคร ปรากฏในทวารใดก็ตาม ย่อมมีอายุเท่ากัน
ขอรบกวนถามเพิ่มเติมนะครับ ยกตัวอย่างรูปที่มีความคงทน อาทิเช่น กำแพงเมืองจีน ภูเขา เหล็ก เพชร ในตัววัตถุเอง มีการเกิดดับ หรือเสื่อมไปหรือเปล่าครับ (ไม่ใช่การเกิดดับทางตานะครับ)
รูปทุกรูปที่เกิดขึ้น ย่อมมีการเปลี่ยนไป ดับไปเป็นธรรมดา แต่บางรูป มีการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่ปรากฏชัด (ปฏิฉันชรา)
กำแพงเมืองจีน หรือภูเขา ก็มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมดา แต่ความชราของภูเขา ถูกปกปิดมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
แม้รูป จะเกิดดับ ๑๗ ขณะจิต แต่ก็เร็วสุดประมาณ ดังนั้น คำว่ารูป ไม่ได้หมายเพียงรูปที่เนื่องกับกายเท่านั้น รูปทั้งหมดทั้งในกาย และนอกกาย เกิดดับ ๑๗ ขณะจิต แต่ลักษณะของรูปที่กาย และนอกกายก็ไม่ต่างกัน เช่น แข็งที่กาย กับแข็งที่กำแพงเมืองจีน ลักษณะก็คือ แข็งเท่านั้น ดังนั้น ปัญญาจึงจะต้องรู้ว่า รูปแม้ภายนอกก็เป็นเพียงรูป ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นกำแพงเมืองจีน มีลักษณะ แข็ง แข็งเป็นธัมมะเท่านั้น แต่เพราะเราไปสำคัญหมายว่า เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพราะความไม่รู้ และที่สำคัญสภาพธัมมะเกิดอย่างรวดเร็ว (จิตเกิดดับเร็วมากเร็วกว่ารูป) ดังนั้น ปัญญาเราจึงไม่สามารถรู้ว่าเป็นธัมมะครับ ค่อยๆ ฟังไป โดยเฉพาะเรื่องการอบรมสติปัฏฐานนะครับ
ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้