สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย

 
p-chinapanya
วันที่  13 พ.ย. 2562
หมายเลข  31295
อ่าน  14,398

คำกล่าวต่อไปนี้มีที่มาอย่างไร. และมีความหมายว่าอย่างไรครับ. สัพเพธรรมานาลัง. อภินิเวสายะ. ถ้าข้อความดังกล่าวเขียนผิดขอได้โปรดแก้ไขให้ด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 15 พ.ย. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๑๕๗

จูฬตัณหาสังขยสูตร

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย (ธรรม ทั้งปวง ไม่ควร เพื่อยึดมั่น) นี้ อธิบายว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือ ไม่เพียงพอ ไม่สามารถ ไม่สมควรเพื่อความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งตัณหา และทิฏฐิ เพราะเหตุไร เพราะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอาได้. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้นนั้น แม้จะถือว่าเป็นของเที่ยง ความไม่เที่ยงเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้จะถือว่าเป็นสุข ความทุกข์เท่านั้น ย่อมถึงพร้อม แม้จะถือว่าเป็นอัตตา อนัตตาเท่านั้นย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเพื่อยึดมั่น.


ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรเพื่อยึดมั่นถือมั่น เพราะตามความเป็นจริงแล้ว ธรรม คือ สิ่งที่มีจริง ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน นั้น เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และสิ่งที่มีจริงๆ ที่เกิดขึ้นเป็นไปนั้น ก็เป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นสภาพธรรมที่ไม่ควรแก่การยินดี เพราะเพียงเกิดปรากฏแล้วก็ดับไปหมดไป ไม่กลับมาอีกเลย แต่เมื่อไม่รู้ ไม่มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ก็เห็นว่าเที่ยงยั่งยืน แล้วก็ยินดีในสภาพธรรมที่ยึดถือว่าเที่ยงเหล่านั้น เมื่อมีความยึดถือ ก็เป็นที่ตั้งของความทุกข์

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้สภาพธรรมทุกอย่างตามความเป็นจริง แล้วทรงแสดงให้ผู้อื่นได้รู้ตาม พระมหากรุณาคุณที่พระองค์มีต่อสัตว์โลกนั้น ไม่มีผู้ใดเสมอกับพระองค์ได้เลย

ถ้าไม่อาศัยพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ที่รวบรวมเป็นพระธรรม ๓ ปิฎก คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ย่อมไม่มีทางที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้เลย และถ้าไม่มีความเข้าใจถูก เห็นถูกตั้งแต่ต้นแล้ว ก็ไม่สามารถละคลายความไม่รู้ ความติดข้อง ความยึดมั่นถือมั่นในสภาพธรรมได้เลย สภาพธรรมเกิดแล้วดับ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน หาความเป็นสาระแก่นสารไม่ได้ ไม่ควรติดข้องยินดีไม่ควรแก่การยึดมั่นถือมั่น

ถ้าจะไปถึงตรงนั้นได้ ก็ต้องมีความเข้าใจถูกเห็นถูกในเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าจะไปมีความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสภาพธรรม ด้วยความไม่รู้ หรือด้วยความเป็นตัวตน เพราะทั้งหมดเป็นเรื่องของปัญญาโดยตลอด ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
p-chinapanya
วันที่ 16 พ.ย. 2562

ขอขอบพระคุณยิ่ง ที่เอื้อเฟื้อแบ่งปันความรู้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
talaykwang
วันที่ 16 พ.ย. 2562

สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ประสาน
วันที่ 21 พ.ย. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Artwii
วันที่ 24 พ.ย. 2562

อนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
่jurairat91
วันที่ 13 ก.พ. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Somporn.H
วันที่ 4 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ