สาวัชชสูตร ... วันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๒
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๒
คือ
สาวัชชสูตร
...จาก...
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๓๕๒
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๓๕๒
๕. สาวัชชสูตร
(ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก มีบุคคลผู้มีโทษ เป็นต้น)
[๑๓๕] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก เป็นไฉน คือ
สาวชฺโช บุคคลมีโทษ
วชฺชพหุโล บุคคลมีโทษมาก
อปฺปวชฺโช บุคคลมีโทษน้อย
อนวชฺโช บุคคลไม่มีโทษ
บุคคลมีโทษ เป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรมอันมีโทษ วจีกรรมอันมีโทษ มโนกรรมอันมีโทษ อย่างนี้แล บุคคลมีโทษ
บุคคลมีโทษมากเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโทษ เป็นส่วนมาก ที่ไม่มีโทษ เป็นส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษมาก
บุคคลมีโทษน้อย เป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันไม่มีโทษ เป็นส่วนมาก ที่มีโทษ เป็นส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษน้อย
บุคคลไม่มีโทษ เป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรมอันไม่มีโทษ วจีกรรมอันไม่มีโทษ มโนกรรมอันไม่มีโทษ อย่างนี้แล บุคคลไม่มีโทษ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก
จบ สาวัชชสูตรที่ ๕
อรรถกถาสาวัชชสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสาวัชชสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
คนจำพวกที่หนึ่ง ได้แก่ ปุถุชนคนโง่เขลา
จำพวกที่สอง ได้แก่ โลกิยปุถุชนผู้บำเพ็ญกุศลในระหว่างๆ
จำพวกที่สาม ได้แก่ พระโสดาบัน ถึงพระสกทาคามี และอนาคามี
ก็รวมกับคนจำพวกที่สามนั้นเหมือนกัน
จำพวกที่สี่ ได้แก่ พระขีณาสพจริงอยู่ พระขีณาสพนั้น หาโทษมิได้โดยส่วนเดียว
จบ อรรถกถาสาวัชชสูตรที่ ๕
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สาวัชชสูตร *
(ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก มีบุคคลผู้มีโทษ เป็นต้น)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงบุคคล ๔ จำพวก ที่มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
๑. บุคคลผู้มีโทษ บุคคลผู้มีกาย วาจา ใจ เป็นโทษโดยส่วนเดียว ได้แก่ ปุถุชนผู้โง่เขลา
๒. บุคคลผู้มีโทษมาก บุคคลผู้มีกาย วาจา ใจ ส่วนที่เป็นโทษมีมาก ที่ไม่เป็นโทษ มีน้อย ได้แก่ ปุถุชน ผู้ได้กระทำบุญบ้าง แทรกสลับกับอกุศล
๓. บุคคลผู้มีโทษน้อย ผู้มีกาย วาจา ใจ ส่วนที่เป็นโทษมีน้อย ที่ไม่เป็นโทษมีมาก ได้แก่ พระโสดาบัน ถึง พระอนาคามี
๔. บุคคลผู้ไม่มีโทษ ได้แก่ พระอรหันต์ ซึ่งมีกาย วาจา ใจ ไม่เป็นโทษเลย
ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ
ปุถุชน
ความเป็นปุถุชนและปัญญาขั้นการฟัง
ความหมายของขีณาสพ [อรรถกถา มูลปริยายสูตร]
* หมายเหตุ คำว่า สาวัชชะ หมายถึง มีโทษ หรือ เป็นไปกับด้วยโทษ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...