เซฟรูปภาพของคนอื่นในอินเตอร์เน็ต ผิดศีลอทินนาทานหรือไม่

 
Panchamindra
วันที่  20 ธ.ค. 2562
หมายเลข  31382
อ่าน  1,065

การที่เราเซฟรูปภาพของคนอื่นในอินเตอร์เน็ต โดยที่ไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของภาพก่อน อย่างนี้ถือว่าผิดศีลข้ออทินนาทานหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 21 ธ.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

องค์ของอทินนาทาน ตามข้อความใน

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๙๐

๑. ปรปริคฺคหิตํ (ของที่เจ้าของหวงแหน)

๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา (รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน)

๓. เถยฺยจิตฺตํ (จิตคิดลัก)

๔. อุปกฺกโม (พยายามลัก)

๕. เตน หรณํ (ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น)

โดยส่วนใหญ่ภาพที่เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต เขาก็เผยแพร่กันอยู่แล้ว เป็นอันรู้กันอยู่แล้ว ถ้าเขาหวงแหน ก็คงไม่นำมาลงไว้ ดังนั้น การที่ผู้อื่นเซฟรูปเหล่านั้นไป ก็ไม่ได้เข้าข่ายอทินนาทาน แม้ว่าจะไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของก็ตาม (แต่ไม่ควรกระทำการใดๆ อันจะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของภาพ)

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นภาพที่จะต้องมีการซื้อขาย ก็ต้องซื้อก่อน ถึงจะได้ภาพที่มีคุณภาพที่สุดไป ถ้าไม่ซื้อ ก็จะไม่ได้ภาพที่มีคุณภาพดังกล่าว ไป ครับ

(ขอบพระคุณ คุณโสภณ สิงห์แก้ว โปรแกรมเมอร์เวปไซต์บ้านธัมมะ ที่ให้ความรู้ในเรื่องนี้ ครับ)

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Panchamindra
วันที่ 21 ธ.ค. 2562

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ