คิดอย่างนี้ถูกหรือไม่

 
Suvidech
วันที่  21 มี.ค. 2550
หมายเลข  3139
อ่าน  850

บางครั้งเวลาไปทำบุญ ไม่ว่าจะไปใส่บาตรหรือให้เงินกับขอทานเล็กๆ น้อยๆ มักจะมีความคิดความหวัง จะได้สิ่งที่ดีเป็นการตอบแทนบ้าง ไม่มากก็น้อย อดคิดไม่ได้เลย ไม่รู้คนอื่นเป็นอย่างนี้บ้างไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
tanya
วันที่ 21 มี.ค. 2550

การให้เป็นกุศลขั้นทาน ซึ่งให้ผลน้อยสุด ต่ำกว่าขั้นนี้ เป็นอกุศลทั้งนั้นเลย ให้ไปแล้วต้องจบ เสร็จสิ้นการให้ กุศลเกิดดับไปแล้ว แต่กิเลสใหม่เกิดขึ้นเรียกร้องผลตอบแทน บางคนยังไม่ทันให้เลย ก็คิดหาผลตอบแทนล่วงหน้าแล้ว ให้ของเขาไปแล้ว เขาไม่เอามาใช้ ไม่ชื่นชอบขอบคุณ ก็เกิดความขุ่นเคือง บาปชนิดใหม่ก็เกิดอีก ให้แต่น้อย เลือกของที่ให้ แบบไม่ประณีต แต่พยายามโปรโมทว่า เป็นของและหวังผลมากๆ มีหน้ามีตามากๆ

ก็เป็นเรื่องอกุศลทั้งนั้น การให้นี่ ก็ต้องคิดให้เป็นด้วย เราต้องให้ผู้รับได้ประโยชน์จริงๆ และเราก็ได้ละอกุศลจริงๆ อกุศลข้อนี้คือมัจฉริยะ ญาติเป็นของตัวเราก็หวงแหนให้ตัวและญาติพวกพ้อง

การให้ก็คือการละ การปล่อย ไม่หวง แต่จะละไปแล้ว มือขวายังไม่ทันยื่นให้ มือซ้ายเตรียมจะคว้ามา จะดีหรือ ยังมีสิ่งที่ต้องละมากกว่า และละยากกว่า ข้าวของเงินทองอีกเยอะนะ การสละสิ่งที่รักหวงแหนกิเลส ตัวตน การยึดมั่นถือมั่นนี่ยาก ยังอีกไกลที่เราจะละได้ จึงควรเข้าใจและฝึกการให้ข้าวของ เงินทอง ธรรมดาอย่างไม่หวังผลตอบแทนตั้งแต่วันนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 มี.ค. 2550

เวลาที่เราให้ทาน ขณะนั้นจิตเป็นกุศล ให้ผลที่ดี โดยไม่ต้องหวังผล แต่ถ้าหวังเป็นโลภะ เป็นอกุศลที่แทรกสลับกับกุศล ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกคนยังมีกิเลส

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มี.ค. 2550

เป็นธรรมดาอยู่แล้ว มีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิด (ความหวัง) แต่เรามักไปเดือดร้อนกับอกุศลที่เกิด เพราะเราไม่รู้ว่าเป็นธัมมะ ยังไม่มั่นคง ทุกอย่างก็เป็นธัมมะ หนทางที่ถูกก็คือ เมื่อความหวังเกิด สติก็ระลึกว่าเป็นธัมมะไม่ใช่เรา นี่คือหนทางดับกิเลส (สติปัฏฐาน) แต่ถึงแม้คุณจะให้โดยไม่หวัง แต่ไม่รู้เลยว่าที่ให้เป็นธัมมะ ก็ยึดถือว่าเป็นเราที่ให้ ก็ไม่มีทางดับกิเลสได้เลย ต้องมั่นคงว่า อกุศลก็เป็นธัมมะ ใครจะห้าม

ไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เพราะยังมีเหตุปัจจัยให้เกิด อย่างที่กล่าวข้างต้น ต้องเป็นปรกตินะ ไม่ใช่ฝืน แต่ต้องรู้ตัวจริงของเขา (โลภะ) ไม่เช่นนั้น เราก็จะไม่มีทางรู้ทั่วเลยว่าทุกอย่างเป็นธัมมะ กิเลสที่ต้องดับก่อนคือ การยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ครับ จะขอยกตัวอย่าง ในพระไตรปิฎกว่า แม้ท้าวสักกะ และบุคคลอื่น ก็ยังต้องการบุญเพราะบุญนำสุขมาให้ ถึงแม้ไม่ขอ ทียกมาไม่ใช่ให้หวังนะ แต่ให้รู้ว่าเป็นปรกติ และเป็นธัมมะอย่างหนึ่งครับ ลองอ่านดูนะ

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่.. มหากัสสปสูตร .

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
devout
วันที่ 22 มี.ค. 2550

ถ้าควบคุมความนึกคิดได้ เราคงมีแต่กุศลจิตกันทั้งวัน โดยเฉพาะกุศลที่เกิดร่วมกับปัญญา แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่เป็นอย่างนั้น สภาพธรรมทุกอย่างมีประโยชน์ เมื่อสติเกิดขึ้น ระลึกศึกษาสภาพธรรมนั้น แม้แต่ธรรมที่เป็นอกุศล เพราะถ้าไม่รู้ก็ไม่ละ ไม่ขัดเกลา ไม่เห็นกำลังของกิเลส

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
รัตนาพร
วันที่ 23 มี.ค. 2550

ดิฉันเคยนะคะ ตอนทำบุญ ทำเพราะคิดอยากได้บุญ ทำเพราะคิดอยากละ แต่บางทีพอทำไปแล้วก็เคยนึกเสียดาย แล้วก็นึกว่า อย่าเสียดาย ทำเพื่อละกิเลส คือแบบนึกกลับไปกลับมา อยากทราบวิธีอบรมใจให้ไม่นึกแบบนี้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 23 มี.ค. 2550

การศึกษาพระธรรมให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น มีศรัทธามากยิ่งขึ้น จะทำให้มั่นคงในเหตุผล มั่นคงในกรรมผลของกรรม เมื่อมั่นคงจริงๆ จะเป็นผู้อาจหาญร่าเริงในการทำบุญ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 21 ส.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ