ฟังอภิธรรมบ่อยๆ เนืองๆ เป็นปัจจัยเป็นที่ตั้งให้โลภะเกิดหรือเปล่าคะ

 
medulla
วันที่  22 มี.ค. 2550
หมายเลข  3148
อ่าน  1,329

แม้นแต่ฟังอภิธรรมอยู่ แบบฟังบ่อยๆ เนืองๆ นั่นก็ตาม ก็จะเป็นปัจจัย คือจะเป็นที่ตั้งแห่งโลภะหรือราคะได้ เพราะองค์ธรรมที่คือ สัญญาเจตสิกปรมัตถ์ ตามที่ตรัสไว้ใน มธุปิณฑิกสูตรดูก่อนภิกษุ สัญญา (?) ชนิดต่างๆ อันเป็น ปปัญจสัญญา (เครื่องทำความเนิ่นช้า) ย่อมกลุ้มรุมบุรุษ (ปรมัตถ์ ๓) เพราะมีอารมณ์ใดเป็นเหตุ (กรณีนี้ อารมณ์ คือ คลื่นเสียง ที่เข้าสู่อายตนะคือหู แล้ว ฯลฯ ) ถ้าสิ่งใดๆ เพื่อความเป็นอารมณ์นั้น มีไม่ได้ (ด้วยเหตุปัจจัยใดก็ตาม แบบ สวากขาโต ฯ = ไม่เก็งความจริงไม่ว่าจะความจริงแบบสมมติ หรือเก็งความจริงแบบปรมัตถ์)

เพื่อบุรุษนั้น จะพึงเพลิดเพลิน พร่ำสรรสเริญ เมาหมก แล้วไซร้ นั่นแหละคือ ที่สุดแห่ง (อนุสัย ๗ อันเป็น กิเลสชั้นลึก คือ) ราคานุสัย แห่งปฏิฆานุสัย แห่งทิฏฐานุสัย แห่งวิจิกิจฉานุสัย (แค่อนุสัยขั้นนิวรณ์ ยังไม่เคย มีประสบการณ์ตรงๆ ซึมวับมาแล้ว ป่วยการกล่าวถึง วิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัย หรือคือ วิจิกิจฉาอันเป็นสังโยชน์) แห่งมานานุสัย (ตัวกู ของกู ด้วยสัญญานานาอันเป็นปปัญจสัญญา?) แห่งภวราคานุสัย (องค์ธรรมนี้ ต่างกับ ราคานุสัย ยังไง?) แห่งอวิชชานุสัย (อนุสัยคือ โมหเจตสิกปรมัตถ์?)

ขอความเจริญในธรรม วินัย ที่พระพุทธองค์ตรัสบัญญัติไว้ดีแล้ว จงเป็นอุปนิสสยปัจจัยใน ปัจจุบันขณะนี้ๆ แก่พุทธบริษัทฯ โดยทั่วกันขอให้ศึกษาพระอภิธรรมแล้วมีสติปรมัตถ์ กั้นกระแสเหล่านั้นคือ สัญญาชนิดต่างๆ อันเป็นปปัญจสัญญา (ตามที่ตรัสว่า สติ กั้นกระแสเหล่านั้น / สติจำเป็นในทุกๆ สถานที่ ทุกๆ กรณี)

จากคุณ : เซนเถรวาท 20 มี.ค. 50

คัดมาจากเวบบอร์ดพันทิพค่ะ ดิฉันกำลังศึกษาความคิดเห็นนี้ รบกวนผู้รู้ช่วยพิจารณาให้ทีค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 22 มี.ค. 2550

ฟังธรรมเพื่อละความไม่รู้ เพื่อละอกุศล ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา อภิธรรมเน้นเรื่องของปัญญา ธรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย เพราะธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
shumporn.t
วันที่ 22 มี.ค. 2550

ปริยัติ ๓ ประเภท

๑. อลคัททูปมปริยัติ ปริยัติเปรียบด้วยอสรพิษร้าย

๒. นิสสรณัตถปริยัติ ปริยัติเพื่อประโยชน์แก่การสลัดออก

๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
medulla
วันที่ 22 มี.ค. 2550

ขอบพระคุณมากค่ะ เริ่มเข้าใจแล้วว่า ถ้าเพื่อจำเพื่อรู้มาก ก็เป็นการศึกษาเพื่อได้รู้ เพียงชื่อ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
devout
วันที่ 22 มี.ค. 2550

เมื่อฟังพระธรรมแล้วเกิดความเข้าใจ ความเข้าใจนั้นเป็นปัญญา แล้วปัญญาหรือจะเป็นปัจจัยเป็นที่ตั้งของโลภะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
namarupa
วันที่ 22 มี.ค. 2550

พระธรรม คำสอน จากพระพุทธองค์ เป็น ๑ ไม่มี ๒ เป็นคำสอนที่ ทำให้เกิดปัญญา (ความรู้ ความเข้าใจ) ของตนเอง ดังนั้นไม่ว่าเราจะอ่านอะไร มาจากที่ไหนก็ตาม แต่หากมีการเทียบเคียง พิจารณาและไตร่ตรอง ตรงตามพระธรรม จากพระพุทธองค์ ที่ทรงแสดงแล้ว ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า เป็นธรรมจาก พระพุทธองค์ทรงแสดงหรือเปล่า หรือว่า เป็นการสอดแทรกความคิดเห็น จากบุคคลอื่นเท่านั้น ตามความคิดเห็นของ ความคิดเห็นที่ 4 หากลองพิจารณาตามดูแล้ว จะถูกหรือจะผิด?

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 มี.ค. 2550

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ โดยเฉพาะยกพระสูตรมาอ้างด้วย จากข้อความ พระสูตร มธุปิณฑิกสูตร และได้อ้างถึง การฟังอภิธรรมบ่อยๆ เนืองๆ เป็นปัจจัยแก่ราคะ โลภะ เรามาเข้าใจพระสูตรนี้ก่อน มธุปิณฑิกสูตร จะขออธิบาย ที่ข้อความ ได้อ้างเรื่อง ปปัญจสัญญา

สูตรนี้ได้อธิบาย ในเรื่องของ อายตนะ ๑๒ คือ ตา หู ... ใจ เห็น ... คิดนึก เมื่อเกิดการเห็น ย่อมเกิดผัสสะ และมีเวทนาเพราะอาศัยผัสสะ เกิดสัญญา เจตสิก ๓ ตัวแรกเกิดพร้อมกัน เมื่อเกิดสัญญา วิตกก็ตรึกถึง สัญญานั้น และก็เกิด อกุศลหรือกุศล (ชวนจิต) ถ้าเป็นกุศล ก็ไม่เป็นปปัญจสัญญา (ธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ) แน่นอน แต่ถ้าจิตเป็นอกุศล หลังจากเห็น ซึ่งข้อความในอรรถกถา สูตรนี้แสดงถึงปปัญจสัญญาคือ สัญญาอันประกอบด้วยเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ดังนั้น ขณะที่จิตเป็นอกุศล เช่น โลภมูลจิต หลังจากเห็น ก็ต้องมีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยกับโลภเจตสิก (เครื่องเนิ่นช้า) จึงเป็นปปัญจสัญญา ซึ่งก็เป็นไปในทาง ตา หู ... ใจ นั่นเอง ดังนั้น สูตรนี้ไม่ได้แสดงถึงเรื่องที่ ฟังอภิธรรมบ่อยๆ แล้วเป็นปัจจัยให้โลภะเกิด แต่สูตรนี้ แสดงถึง ธรรมเครื่องเนิ่นช้าที่เกิดกับ ทวารทั้งหก คือ ตา ... ใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องฟังอภิธรรมบ่อยๆ แล้วโลภะจะเกิดหรอก แค่ในชีวิตประจำวันที่อยู่กับทวารทั้งหก ขณะที่เป็นอกุศล เช่น โลภะ ก็เป็นสัญญาที่เป็นเครื่องเนิ่นช้าแล้วครับ ไม่ต้องไปรอให้อ่าน หรือฟังอภิธรรมบ่อยๆ หรอกครับ

ส่วนข้อความที่กล่าวว่า ที่สุดแห่ง อนุสัย ๗ คือ การดับตัณหานั่นเอง จึงเป็นที่สุด (ดับ) อนุสัย ๗ (กิเลสทั้งหมด) ไม่มีเหลือ ขอยกข้อความ ในพระไตรปิฎกนะครับ

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... มธุปิณฑิกสูตร

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
medulla
วันที่ 22 มี.ค. 2550

ขอบพระคุณมากเลยค่ะ ขออนุโมทนาทุกท่านที่ช่วยตอบนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Komsan
วันที่ 9 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 21 ส.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ