ราคะ ต่างกับโมหะอย่างไร

 
boonyarit
วันที่  3 มี.ค. 2563
หมายเลข  31601
อ่าน  1,164

คำว่าโทสะ พอเข้าใจความหมาย แต่ราคะกับโมหะ ไม่ทราบต่างกันอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 มี.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โลภะหรืออีกชื่อหนึ่งก็คือราคะก็ได้ ซึ่งเป็นความติดข้องยินดีพอใจ ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่มีจริงคือโลภเจตสิก โลภะเกิดขึ้นตามการสะสมมาของแต่ละบุคคล พอใจในรูปบ้าง พอใจในเสียงบ้าง พอใจในกลิ่นบ้าง พอใจในรสบ้าง พอใจในสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย บ้าง เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นความติดข้องในระดับใด ย่อมเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งนั้น เพราะเป็นกุศลธรรม กุศลธรรม เป็นโทษ เป็นภัย ไม่นำประโยชน์สุขใดๆ มาให้เลยแม้แต่น้อย

โมหะ ว่าโดยศัพท์ โมหะ มาจาก มุห ธาตุ เป็นไปในอรรถว่า หลง เขลา แปลง อุ ที่ มุ เป็น โอ สำเร็จรูปเป็น โมหะ (ความหลง ความเขลา)

โมหะ คือ ความหลง อวิชชา ความไม่รู้ ทั้งสองคำ เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน แต่แสดงความหมายได้หลากหลายนัย เพราะ มีความไม่รู้ จึงมีความหลง หลงไปในทางที่ผิด และ ที่สำคัญ เพราะ มีอวิชชา ความไม่รู้ จึงทำให้มีความเห็นผิด ซึ่งความเห็นผิด เป็นสภาพธรรมคนละอย่าง กับความไม่รู้ เพราะความเห็นผิด เป็นการเห็นผิดจากความเป็นจริง เห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล แต่ ความไม่รู้ ก็คือไม่รู้ความจริง แต่ไม่ได้มีความเห็นผิด แต่เพราะมีความไม่รู้ จึงทำให้มีอกุศลประการต่างๆ เกิดขึ้น อวิชชา โมหะ จึงเป็นสภาพธรรมที่เป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย พระโสดาบันดับความเห็นผิดได้ แต่ ยังมีความไม่รู้เกิดขึ้นอยู่ พระอรหันต์เท่านั้นที่ดับความไม่รู้ได้ครับ

เพราะฉะนั้น โลภะทำหน้าที่ติดข้อง ยินดีพอใจ โมหะ ทำหน้าที่ไม่รู้ หลง ไม่ได้ทำหน้าที่ติดข้อง แต่เพราะไม่รู้ จึงเป็นเป็นปัจจัยเกิดกิเลสประการต่างๆ รวมทั้งเกิดโลภะ ติดข้องด้วยครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kullawat
วันที่ 4 มี.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 4 มี.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทั้งราคะ และ โมหะ ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่มีความแตกต่างกันตามลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ โดยที่ ราคะ เป็นความติดข้องยินดีพอใจ ใคร่ หรือ ในความหมายว่า กำหนัด ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็คือ โลภเจตสิก ข้อความในพระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณีปกรณ์ แสดงความเป็นจริงของความติดข้องยินดีพอใจ ไว้ ดังนี้ คือ

โลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ การกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความกำหนัด ความเพ่งเล็ง กุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโลภะมีในสมัยนั้น

ราคะ เป็นความติดข้อง ความยินดี ความกำหนัดยินดี ไม่ได้มุ่งหมายถึงเพียงราคะอย่างที่คนไทยเข้าใจ เพราะกว้างกว่านั้น แม้ยินดีในดอกไม้สวย ในกลิ่นหอม ในอาหารอร่อย เป็นต้น ก็เรียกว่า ราคะ จะเห็นได้ว่า สิ่งใดที่มีราคามาก สิ่งนั้นก็เป็นเครื่องวัดราคะ ความยินดีว่ามีมากแค่ไหน ราคะจึงเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นความติดข้อง ยินดีพอใจ ซึ่งเป็นกุศลธรรมประการหนึ่ง ไม่ว่าจะติดข้องในอะไร หรือเกิดกับใครก็ตาม ราคะ ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะเป็นอย่างอื่นไปได้ เกิดเมื่อใดก็ผูกพันไว้กับสิ่งนั้น ผูกพันไว้ไม่ให้จิตเป็นกุศล และผูกพันไว้ในสังสารวัฏฏ์ ไม่ให้ออกไปจากสังสารวัฏฏ์ ไม่ทำให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้เลย ราคะ ซึ่งเป็นความยินดีพอใจ นั้น มีหลายระดับขั้น กล่าวคือ มีทั้งระดับที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน และที่มีกำลังมาก หรือ เกินประมาณ ถึงขั้นล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เช่น ลักทรัพย์ของผู้อื่น เป็นต้น

โมหะ สภาพธรรมที่ไม่รู้ความจริง เป็นเจตสิกประการหนึ่ง คือ โมหเจตสิกซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับกุศลจิตทุกประเภท

ข้อความในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ โมหสูตร แสดงความเป็นจริงของโมหะ หรือ อวิชชา ความไม่รู้ความจริง ว่าเป็นเหตุให้สัตว์โลกท่องเที่ยววนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ แต่เมื่อดับโมหะได้แล้ว ก็ไม่ต้องมีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ ดังนี้

“ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุ ให้หมู่สัตว์ถูกธรรมนั้นหุ้มห่อแล้ว ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูกโมหะหุ้มห่อแล้ว ไม่มีเลย ส่วนพระอริยสาวกเหล่าใด ละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว พระอริยสาวกเหล่านั้น ย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ (แห่งสังสารวัฏฏ์) ย่อมไม่มี แก่พระอริยสาวกเหล่านั้น”

อกุศลจิตทุกประเภท เกิดเพราะโมหะ หรือ อวิชชา ซึ่งเป็นความหลง ความไม่รู้ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดผลอะไรในชีวิต เป็นต้น, สาเหตุหลักที่แต่ละบุคคลยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ก็เพราะยังมีโมหะอยู่นั่นเอง เป็นสภาพธรรมที่หุ้มห่อไว้ทำให้ไม่รู้ความจริง เมื่อไม่รู้ความจริงก็มืดมน ไม่สามารถที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ได้ ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้นที่เป็นอย่างนี้ แต่เป็นอย่างนี้มานานแล้วในสังสารวัฏฏ์

หนทางเดียวที่จะค่อยๆ ละคลายความไม่รู้ให้เบาบางลงได้ คือ การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง สะสมปัญญาซึ่งความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ไม่ละทิ้งโอกาสสำคัญในชีวิต นั่นก็คือ การฟังพระธรรม ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
boonyarit
วันที่ 4 มี.ค. 2563

ขอบพระคุณอย่างสูง ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 11 มี.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Somporn.H
วันที่ 23 มี.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ