พระขี่ม้า

 
b0846363622
วันที่  31 มี.ค. 2563
หมายเลข  31684
อ่าน  1,980

พระขี่ม้าออกบิณฑบาตจะอาบัติหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 เม.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บุคคลผู้ที่มีอัธยาศัยจริงๆ ในการที่บวชเป็นพระภิกษุ ย่อมสามารถที่จะละอาคารบ้านเรือน วงศาคณาญาติ ทรัพย์สมบัติ แล้วบวช ซึ่งเมื่อบวชแล้ว ก็มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา น้อมประพฤติตามพระธรรมวินัย ขัดเกลากิเลสของตนเอง อย่างนี้ คือ ผู้ที่มีอัธยาศัยน้อมไปในการบวชจริงๆ แต่ถ้ายังมีพฤติกรรมเหมือนคฤหัสถ์ทุกประการ อย่างเช่น การขี่ม้า ไม่ว่าจะขี่ไปทำอะไร ก็ไม่ใช่ความประพฤติของพระภิกษุ ดูไม่งามอย่างยิ่ง การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความประพฤติที่ไม่สมควร ในพระวินัยแสดงไว้ว่า เป็นการประพฤติอนาจาร ไม่ควรแก่เพศบรรพชิต เป็นอาบัติสำหรับภิกษุผู้ล่วงละเมิด และพระภิกษุไม่ควรจับต้องสัตว์ดิรัจฉานด้วย ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 1 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Witt
วันที่ 1 เม.ย. 2563

เรียนถามอาจารย์คำปั่นเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนครับ

"พระภิกษุไม่ควรจับต้องสัตว์ดิรัจฉานด้วย"

กรณีที่ไม่ได้จับต้องด้วยกำหนัด ยังถือว่าผิดพระวินัยข้อใดหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 1 เม.ย. 2563

เรียน ความคิดเห็นที่ 3 ครับ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๑๓๒

สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยกายต้องอาบัติทุกกฎ

สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และถูกคลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ


-ในกรณีที่พระภิกษุจับต้องสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยความกำหนัด เป็นอาบัติทุกกฏ ดังข้อความในพระวินัยปิฎกข้างต้น

-สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย (ที่พอจะสามารถเสพเมถุนได้) ภิกษุจับต้อง (จะด้วยความกำหนัด หรือ ไม่กำหนัด ก็ตาม) ก็เป็นอาบัติทุกกฏ เพราะสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นสิ่งที่ภิกษุไม่ควรจับต้อง คือ เป็นวัตถุอนามาส

-สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ถ้าภิกษุไม่มีความกำหนัดที่จะจับต้อง เช่น จับพยายามเพื่อกรอกยาให้สุนัขหรือแมวที่ไม่สบาย เป็นต้น อันนี้ไม่มีอาบัติ แต่ถ้าประสงค์จะเล่น จับสัตว์เล่น ลูบหัวลูบหลังสุนัข เป็นต้น อันนี้ไม่สมควร เป็นอาบัติทุกกฏ

-ส่วนประเด็นเรื่องขี่ม้า ชัดเจนว่าเป็นความประพฤติที่ไม่ควรแก่พระภิกษุ เป็นการประพฤติอนาจาร ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธีรพันธ์
วันที่ 2 เม.ย. 2563

เรียน ความคิดเห็นที่ 3 ครับ

อาบัติถุลลัจจัย เป็นอาบัติที่มีโทษมากกว่าอาบัติทุกกฏ ขออัญเชิญข้อความบางตอน จาก พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๕ ว่า

ภิกษุไม่พึงจับเขาโค หูโค คอโค หางโค ไม่พึงขี่หลังโค รูปใด จับแลขึ้นขี่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

... อนึ่ง องค์กำเนิดโค อันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่พึงถูกต้อง รูปใดถูกต้อง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Witt
วันที่ 2 เม.ย. 2563

กราบขอบพระคุณอาจารย์คำปั่นและอาจารย์ธีรพันธ์ครับ

ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
b0846363622
วันที่ 2 เม.ย. 2563

ในสมัยพุทธกาล. พระพุทธองค์โปรดสัตว์โลก แม้หนทางนั้นจะไกลแสนไกลผ่านป่าผ่านเขา พระองค์จะเสด็จไปด้วยพระบาทเปล่า ไม่มีราชรถนั่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ