การเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากจิตและเจตสิกประเภทใดคะ

 
Somporn.H
วันที่  4 เม.ย. 2563
หมายเลข  31692
อ่าน  704

ขอความกรุณาท่านอาจารย์วิทยากรอธิบายหัวข้อข้างบนนี้ให้เข้าใจด้วยค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 เม.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การเคลื่อนไหวที่เป็นการกระทำทางกาย ก็ต้องมีจิต ถ้าไม่มีจิต ก็ไม่มีการกระทำทางกาย เช่น จิตที่เป็นกุศล ที่คิดจะให้ กายจึงไหวไปตามความต้องการของจิต แต่ไม่ใช่จิตสั่ง แต่เพราะ อาศัยรูปที่เกิดพร้อมจิต ที่เป็นจิตตชรูป เป็นต้น และอาศัยวาโยธาตุ ธาตุลมที่เป็นรูป จึงมีการไหวไปที่จะทำ การกระทำทางกายได้ครับ ดังนั้น ต้องอาศัยรูปที่อ่อน ควรแก่การงานและการประชุมของรูปอื่นๆ และ อาศัย จิตเจตสิกที่เกิดขึ้น ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง จึงมีการกระทำทางกายเกิดขึ้นครับ อันเป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่มีเราทำ ไม่มีจิตสั่งให้ทำครับ รวมความว่า ไม่ว่าจิตที่เป็นกุศล อกุศลจิต และแม้กิริยาจิตของพระอรหันต์ก็เป็นปัจจัยให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ครับ แต่ต้องประกอบกับปัจจัยอื่นๆ ร่วมกันด้วย จึงมีการเคลื่อนไหวได้ ตามที่กล่าวมา ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 4 เม.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอความบางตอนจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีดังนี้

การที่รูปของสัตว์บุคคลทั้งหลายเคลื่อนไหวไปได้เพราะมีจิตนั้น ก็จะต้องมีรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานด้วย เพราะถ้ามีเพียงรูปที่เกิดจากกรรมเท่านั้น จะเคลื่อนไหวไปมาทำกิจธุระใดๆ ไม่ได้เลย การที่รูปร่างกายจะเคลื่อนไหวทำกิจการงานต่างๆ ได้นั้นจะต้องมี วิการรูป ๓ รูป คือ

ลหุตารูป เป็นภาวะที่เบา ไม่หนักของรูป ดังเช่น อาการของคนไม่มีโรค

มุทุตารูป เป็นภาวะที่อ่อน ไม่กระด้างของรูป ดังเช่น หนังที่ขยำไว้ดีแล้ว

กัมมัญญตารูป เป็นภาวะที่ควรแก่การงานของรูป ดังเช่น ทองคำที่หลอมไว้ดีแล้ว

วิการรูป ๓ รูปนี้เป็นอสภาวรูป เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะต่างหาก เฉพาะของตน เป็นอาการวิการของมหาภูตรูป คือ เบา อ่อนและควรแก่การงาน วิการรูป ๓ เป็นรูปที่เกิดภายในสัตว์บุคคลเท่านั้น รูปที่ไม่มีใจครองไม่มีวิการรูป ๓ เลย และวิการรูป ๓ นี้ไม่แยกกันเลย

ในกลาปใดมีลหุตารูป กลาปนั้นก็มีมุทุตารูปและกัมมัญญตารูปด้วยนอกจากนั้น เมื่อจิตต้องการเคลื่อนไหวส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ร่างกายส่วนนั้นจะต้องมีวิการรูปที่เกิดจากอุตุ (ความสม่ำเสมอของธาตุเย็นร้อน) เป็นสมุฏฐานและมีวิการรูปที่เกิดจากอาหาร (โอชารูป) เป็นสมุฏฐานด้วย มิฉะนั้นแล้ว แม้จิตต้องการจะเคลื่อนไหว รูปก็เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น ผู้ที่เป็นอัมพาตหรือเคล็ดขัดยอก กระปลกกระเปลี้ย เป็นต้น

ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ ครับ

จิตตชรูป 15 ในรูป 28

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ....

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Somporn.H
วันที่ 4 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณมาก และขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Witt
วันที่ 4 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Somporn.H
วันที่ 4 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณมาก และขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ประสาน
วันที่ 5 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ประสาน
วันที่ 5 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ