จักขุสัมผัส

 
chatchai.k
วันที่  8 เม.ย. 2563
หมายเลข  31714
อ่าน  1,507
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 8 เม.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จักขุสัมผัส
หมายถึง ผัสสเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจักขุวิญญาณ เป็นผัสสะที่อาศัยจักขุ (ตา) ตามข้อความในอรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค สัมผัสสสูตรที่ ๒ แสดงไว้ว่า จักขุสัมผัส ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ และ พิจารณาเทียบเคียงจากข้อความในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ว่า จักขุสัมผัส เป็นปัจจัยแก่จิตขณะต่อไป ซึ่งจิตขณะต่อไป เป็น สัมปฏิจฉันนจิต ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๑๗

ก็ จักขุสัมผัสนั้น เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยตน ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย, อัญญมัญญะ-, นิสสยะ-, วิปากะ-, อาหาระ-, สัมปยุตตะ-, อัตถิ-, อวิคตปัจจัย รวม ๘ ปัจจัย เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยสัมปฏิจฉนจิต ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย, สมนันตระ อนันตรูปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ รวม ๕ ปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย อันสัมปยุตกับด้วยสันติรณจิต เป็นต้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว.

และข้อความใน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๙๗๑ แสดงผัสสะ ๗ ซึ่งชัดเจนมาก ว่า ผัสสะใด เกิดกับจิตประเภทใดบ้าง ดังนี้

[๑๐๘๒] ผัสสะ ๗ เป็นไฉน

คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนธาตุสัมผัส (ผัสสะ ที่เกิดกับปัญจทวาราวัชชนจิต และ สัมปฏิจฉันนจิต) มโนวิญญาณธาตุสัมผัส (ผัสสเจตสิกที่เกิดกับจิตที่เหลือทั้งหมด) เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗.

ผัสสะ เป็นเจตสิก เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 9 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สิริพรรณ
วันที่ 10 เม.ย. 2563

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัย

ถ้าไม่ฟังพระธรรม จะไม่มีวันรู้เลยว่า แม้การเห็นขณะนี้ ก็ไม่ใช่เราทำให้เกิดขึ้น แต่เป็นหน้าที่ของจิต เจตสิก คือธาตุรู้ ที่ไม่มีรูปร่าง แต่มีลักษณะให้เข้าใจได้

แม้จะยาก แต่ครั้งอดีตกาลก็มีผู้ที่มีปัญญามากมายที่ประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม และเข้าใจแล้ว

จึงอดทนฟังพระธรรมด้วยความเคารพต่อไป

กราบขอบพระคุณและยินดีในกุศลท่านผู้ถามและผู้ตอบคำถาม เป็นประโยชน์ในการอบรมเจริญปัญญาอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ประสาน
วันที่ 14 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 8 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ