โลกิยปัญญา​

 
เมตตา
วันที่  10 เม.ย. 2563
หมายเลข  31727
อ่าน  1,234

[เล่มที่ 44] ​พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 111

... ฝ่ายปัญญาที่เป็นโลกิยะ ได้แก่สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญาที่ยังมีอาสวะ ส่วน โลกุตรปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล. ชื่อว่า​ วิมุตติได้แก่ ผลวิมุตติและนิพพาน เพราะฉะนั้น วิมุตตินั้น จึงเป็นโลกุตระอย่างเดียว.

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 406

ฝ่ายปัญญาก็เหมือนกัน ที่สำเร็จด้วยการฟัง สำเร็จด้วยการคิด ที่สัมปยุตด้วยฌานและวิปัสสนาญาณ จัดเป็นโลกิยปัญญา แต่ในที่นี้ เมื่อว่าโดยพิเศษ พึงยึดเอาวิปัสสนาปัญญา. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล จัดเป็นโลกุตรปัญญา.

[เล่มที่ 22] [เล่มที่ 22] ระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

... สติ ในคำว่า สติยา เอตํ อธิวจนํ นี้มีคติเหมือนปัญญา. โลกิยปัญญา ย่อมมีได้ด้วยปัญญาอันเป็นโลกิยะ โลกุตรปัญญาย่อมมีได้ด้วยปัญญาอันเป็นโลกุตระ บทว่า อริยาเยตํ ปญฺญาย ได้แก่ วิปัสสนาปัญญา อันบริสุทธิ์.

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

ในบทนี้ว่า สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ (บุคคลย่อมได้รับชื่อ เสียงด้วยคำสัตย์) หรือว่ายังมีเหตุได้โลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญายิ่งกว่าทมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอ้างถึงปัญญา ว่า สุสฺสูสา ในบทว่า สุสฺสูสํลภเต ปญญํ (ผู้ตั้งใจฟังย่อมได้ปัญญา)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 15 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ