สอบถามเรื่องการทำงานของจิต 89 แต่ละดวงในวิถีจิตครับ

 
Rachanai
วันที่  2 พ.ค. 2563
หมายเลข  31825
อ่าน  871

อยากทราบว่าแต่ละขณะจิต (ในวิถีจิต 17 ขณะ) มีจิตดวงใดบ้าง (ในบรรดาจิต 89 ดวง) ที่สามารถทำหน้าที่ในขณะนั้นๆ ได้

ขณะที่ 1 อตีตภวังคจิต มีจิตดวงใดบ้าง ที่สามารถทำหน้าที่เป็นอตีตภวังคจิตได้ เช่นโลภมูลจิต ทำหน้าที่เป็น อตีตภวังคจิต ได้หรือไม่? อเหตุกกุศลวิบากจิต ทำหน้าที่เป็น อตีตภวังคจิต ได้หรือไม่?

ขณะที่ 2 ภวังคจลนจิต มีจิตดวงใดบ้างที่สามารถทำหน้าที่เป็น ภวังคจลนจิตได้ เช่น โลภมูลจิต ทำหน้าที่เป็น ภวังคจลนจิต ได้หรือไม่? อเหตุกกุศลวิบากจิต ทำหน้าที่เป็น ภวังคจลนจิต ได้หรือไม่?

ฯลฯ ไปเรื่อยๆ จนถึง ขณะที่ 17 ตทาลัมพนจิต ครับ

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 10 พ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ควรที่จะได้เข้าใจว่า จิต เป็นธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ (อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้) จิต เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว มีลักษณะเดียว คือ รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จิตมีความหลากหลาย เพราะเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย เช่น ถ้าโลภะ เกิดกับจิต จิตนั้น ก็เป็นอกุศลจิต เพราะมีอกุศลเจตสิก คือ โลภะ ความติดข้องต้องการเกิดร่วมด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีเจตสิกฝ่ายดี คือ ศรัทธา (ความผ่องใสแห่งจิต) สติ (ความระลึกเป็นไปในความดี) หิริ (ความละอายต่อบาป) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป) อโลภะ (ความไม่ติดข้อง) อโทสะ (ความไม่โกรธ) หรือ แม้กระทั่ง อโมหะ คือ ปัญญา เกิดร่วมด้วยกับจิตในขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิต ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นนั้น เป็นการพักจากกุศลชั่วขณะที่จิตเป็นกุศล

แม้ว่าจิตจะเป็นใหญ่ เป็นประธานในการทำกิจรู้อารมณ์ แต่จะเกิดโดยปราศจากเจตสิกไม่ได้ เช่น เพราะถ้าผัสสะไม่กระทบอารมณ์ สัญญาไม่จำอารมณ์ เจตนาไม่ขวนขวายจัดแจงในอารมณ์ หรือมนสิการไม่สนใจในอารมณ์ เป็นต้น จิตก็ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้ อุปมาเหมือนกับพระราชาเมื่อจะเสด็จไปไหน ก็มิได้เสด็จไปพระองค์เดียว แต่ทรงแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ราชบริพาร พระราชาทรงเป็นใหญ่ เป็นประธานของหมู่อำมาตย์ราชบริพาร ทั้งหมดทั้งปวงนั้นแสดงถึงความเป็นจริงของธรรม เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

จิต มี ๘๙ ประเภท แต่เมื่อประมวลในการทำกิจหน้าที่แล้ว มี ๑๔ กิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ก็ต้องค่อยๆ ศึกษาไป ว่า จิตใด ทำกิจใด ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ ครับ

กิจของจิต ๑ ...ปฏิสนธิกิจ

กิจของจิต ๒ ...ภวังคกิจ

กิจของจิต ๓ ...อาวัชชนกิจ

กิจของจิต ๔ ...ทัสสนกิจ

กิจของจิต ๕ ...สวนกิจ

กิจของจิต ๖ ...ฆายนกิจ

กิจของจิต ๗ ...สายนกิจ

กิจของจิต ๘ ...ผุสสนกิจ

กิจของจิต ๙ ...สัมปฏิจฉันนกิจ

กิจของจิต ๑๐ ...สันตีรณกิจ

กิจของจิต ๑๑ ...โวฏฐัพพนกิจ

กิจของจิต ๑๒ ... ชวนกิจ

กิจของจิต ๑๓ ... ตทาลัมพนกิจ

กิจของจิต ๑๔ ... จุติกิจ

ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ