ธรรมเป็นกุศลเป็นไฉน​ [ธรรมสังคณี]​

 
เมตตา
วันที่  5 พ.ค. 2563
หมายเลข  31836
อ่าน  991

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

อธิบายธรรมเป็นกุศลติกที่ ๑

บัดนี้ เป็นการพรรณนาบทตามบทมาติกา มีคำว่า กุสลา ธมฺมา เป็นต้นนี้ กุศลศัพท์ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษความฉลาด และมีสุขเป็นวิบาก จริงอยู่ กุศลศัพท์นี้

ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค ดังในประโยคมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ กจฺจิ โภโตอนามยํ (ความไม่มีโรค มีแก่ท่านผู้เจริญบ้างหรือ ความไม่ป่วยไข้ มีแก่ท่านผู้เจริญบ้างหรือ)

ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโทษ ดังในประโยคมีอาทิว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราชกายสมาจาโร อนวชฺโช (ข้าแต่ท่านพระอานนท์ กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ)

ใช้ในอรรถว่า ความฉลาด ในประโยคมีอาทิว่า กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ กุสลา นจฺจคีตสฺส สุสิกฺขตาจตุริตฺถิโย (ท่านเป็นผู้ฉลาดในเครื่องประกอบของรถ และคำว่า หญิง ๔ คนศึกษาดีแล้ว เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง)

ใช้ในอรรถว่า สุขวิบาก ดังในประโยคมีอาทิว่า กุสลานํ ภิกฺขธมฺ​มานํ สมาทานเหตุ กุสลสฺสกมฺมสฺส กตตฺตา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสมาทานธรรมทั้งหลายที่เป็นสุขวิบาก และคำว่า เพราะทำกรรมที่เป็นสุขวิบาก)

ในที่นี้กุศลศัพท์ควรใช้ในอรรถว่า ไม่มีโรคบ้าง ไม่มีโทษบ้าง ในสุขวิบากบ้าง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายบทภาชนีย์กามาวจรกุศล

บัดนี้ เพื่อแสดงธรรมทั้งหลาย ที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยมาติกา (แม่บท) ตามที่ทรงตั้งไว้โดยชนิดต่างๆ จึงเริ่มบทภาชนีย์ นี้ว่า ฝ กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) เป็นต้น.

ในบทภาชนีย์นั้น กามาวจรกุศล นี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ครั้งแรกว่า กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นในสมัยใด ดังนี้ ในนิเทศแห่งกามาวจรกุศลนั้น มีมหาวาระ ๓ คือ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 17 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ