รู้จักตัวเอง ตามความเป็นจริงมากขึ้น
คำว่า "รู้จักตัวเอง ตามความเป็นจริงมากขึ้น" มีความหมายอธิบายได้หลายนัย ดังนี้ เมื่อศึกษาพระธรรมโดยละเอียดมากขึ้น ย่อมรู้ว่าตนเองเป็นผู้มีกิเลสมากในวันหนึ่งๆ มากไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ อิสสา มัจฉริยะ ขาดเมตตา เห็นแก่ตัว หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ถูกอวิชชาท่วมทับตลอด ยังไม่รู้อะไรอีกมาก ฯลฯ และมีกุศลเกิดขึ้นน้อยมาก อีกอย่างหนึ่ง เมื่อศึกษาละเอียดมากขึ้น เข้าใจความจริงมากขึ้น ย่อมรู้ว่าทุกขณะที่เกิดขึ้น เป็นไปเป็นเพียงสภาพธรรมะอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่มีตัวเราจริงๆ
รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง คือเห็นโทษของอกุศล เช่น ความโกรธไม่ดี ให้โทษกับตนเองและผู้อื่นด้วย เราควรมีขันติ ให้อภัยและเมตตา และเห็นประโยชน์ของการเจริญกุศลทุกประการ โดยเฉพาะการอบรมปัญญา เพื่อรู้สัจจธรรมความจริง
รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงมากขึ้น หมายถึง ผู้ที่ศึกษาธรรมและเข้าใจธรรมที่ได้ยิน ได้ฟังนั้น ถูกต้องรู้ว่า ธรรมคืออะไร ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่มีเรา และการศึกษาธรรม ไม่ใช่เพื่อให้ ไม่มีโทสะ เพราะทุกท่าน ไม่ชอบความโกรธ จึงพยายามดูว่า ศึกษาธรรมแล้ว โกรธน้อยลงหรือไม่ บางคนก็พยายามระงับความโกรธ ด้วยความเป็นตัวตน ด้วยความเป็นเรา แต่หากเข้าใจถูกว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ความโกรธที่เกิดขึ้น ก็คือสภาพธรรมที่เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย ความติดข้องที่เกิดขึ้น ก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป ไม่ใช่เราที่โกรธ ไม่ใช่เราที่โลภ ถ้ารู้อย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้จริงๆ คือ "การรู้จักตัวเองตามความเป็นจริงมากขึ้น" ในขั้นการฟัง คิดพิจารณา และเมื่อใดที่ สะสมความเข้าใจ (ปัญญา) เพิ่มขึ้นๆ ๆ จนสติสัมปชัญญะเกิด ระลึกสภาพธรรมขณะนั้น บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะละคลายอกุศลและความเป็นเรา ไปจนถึงขั้นที่สติปัฏฐานเกิด ก็จะเป็นการรู้จักตัวเองตามความเป็นจริงมากขึ้นจริงๆ
รู้ตัวว่าไม่ดีอย่างไร พยายามปรับปรุงขัดเกลา ซึ่งจะเป็นการดีกว่าที่รู้ว่าตัวเองดี แล้วเกิดมานะ สำคัญตน นั้นเป็นการเพิ่มอกุศลให้ตัวเองค่ะ
ขณะที่อกุศลจิตเกิด แล้วไม่รู้ว่าเป็นอกุศล เป็นคนเลวทราม ขณะที่อกุศลจิตเกิด แล้วรู้ว่าเป็นอกุศลจิต ขณะนั้นประเสริฐ ขณะที่กุศลจิตเกิด แล้วไม่รู้ว่าเป็นกุศล เป็นคนเลวทราม ขณะที่กุศลจิตเกิด แล้วรู้ว่าเป็นกุศล ขณะนั้นประเสริฐ