อสุรกาย
อสูรหรืออสุรกาย หมายถึง อบายภูมิภูมิหนึ่ง ที่เป็นที่เกิดของผู้กระทำอกุศลกรรมไว้เป็นอบายภูมิที่ไม่ทุกข์ทรมานเหมือนนรกหรือเปรต แต่สัตว์ที่เกิดในภูมินี้ไม่มีความร่าเริง ไม่มีความเจริญ สถานที่อยู่ใกล้มนุษย์ แต่กำเนิดเป็นอสุรกาย
อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 203
สัตว์ทั้งหลายพวกที่ชื่อว่าอสูร เพราะอรรถว่าไม่เล่น (อย่างเทวดา) คือเล่นโดยความเป็นใหญ่และเป็นกีฬาเป็นต้นก็หาไม่ ได้แก่ พวกเปรตที่เป็นอสูร ฯ ส่วนเวปจิตติอสูรนอกนี้ ชื่อว่า อสูรเพราะอรรถว่า ไม่ใช่เทวดา คือ เป็นข้าศึกของเทวดาฯ ก็ในบทว่า อสุรกายนี้ หมายเอาพวกอสูรที่เป็นเปรตเท่านั้น มิได้หมายเอา พวกเวปจิตติอสูรนอกนี้
อสูรกาย ป็นภูมิที่ไม่มีความสนุก ไม่มีสิ่งบันเทิง ไม่มีหนังให้ดู ไม่มีเพลงให้ฟังไม่มีความสบาย เหมือนมนุษย์
จะแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล อย่างไร ..ให้อสุรกาย จึงจะได้รับ
..ขออนุโมทนา
การที่สัตว์ใด จะได้รับส่วนบุญขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ
๑. มีผู้อุทิศให้
๒. สัตว์นั้นอยู่ในฐานะที่จะรับได้ คือ อยู่ในภพภูมิที่จะรับได้
๓. สัตว์นั้นอนุโมทนา
เมื่อปัจจัยพร้อม ๓ ประการ สัตว์นั้นจึงได้รับส่วนบุญ ซึ่งที่กล่าวถึงอสุรกาย จัดอยู่ในประการที่ ๒ คือ สัตว์นั้นอยู่ในฐานะที่จะได้รับส่วนบุญได้ไหม ซึ่งในข้อความจากพระไตรปิฎก ภูมิเปรต ที่สามารถได้รับส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้ ไม่ได้กล่าวถึงอสุรกาย จึงไม่ใช่ฐานะที่อสุรกายจะได้รับส่วนบุญแม้ญาติอุทิศให้ครับ แต่บางส่วนก็แสดงว่าแม้เทวดาก็ได้รับส่วนบุญ เมื่อคนอื่นอุทิศให้ ขอยกข้อความในพระไตรปิฎกเรื่องเปรต และ เทวดาครับ
ข้อความบางตอนจาก ชาณุสโสนีสตร
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 437
ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัย ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตร อำมาตย์หรือญาติสายโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ซึ่งปัตติทานมัยจากมนุษยโลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยปัตติทานมัยนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ.
เรื่องอุทิศให้เทวดา
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 305
ข้อความบางตอนจาก มัจฉทานชาดก
วันหนึ่งพี่น้องทั้งสองนั้นคิดกันว่า พวกเราจักชำระสะสางการค้าขายอันเป็นของบิดาให้เรียบร้อยเสียที จึงไปยังบ้านหนึ่ง ได้ทรัพย์พ้นกหาปณะแล้วกลับมา บริโภคอาหารห่อแล้วรอเรืออยู่ที่ท่าแม่น้ำ.พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคาแล้วให้ส่วนบุญแก่เทวดาประจำแม่น้ำ. เทวดาพออนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้นก็เจริญพอกพูนด้วยยศอันเป็นทิพย์ จึงรำพึงถึงความเจริญยศของตนก็ได้รู้ถึงเหตุนั้น.
ไม่ได้แสดงเจาะจงลงไปว่าศีลข้อไหน แต่ต้องเป็นอกุศกรรมที่เคยได้ทำไว้แน่นอน ที่ทำให้ไปนำเกิดเป็นอสุรกายเพราะเป็นอบายภูมิครับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433
ข้อความบางตอนจาก วัตถูปมสูตร
[๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นหย่อนลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้นพึงเป็นผ้ามีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.