[คำที่ ๓๕] ปปญจ

 
Sudhipong.U
วันที่  26 เม.ย. 2555
หมายเลข  32155
อ่าน  931

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ ปปญฺจ

โดย อ.คำปั่น อักษรวิลัย

คำว่า ปปญฺจ เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง มีรากศัพท์มาจาก บทหน้า + ปญฺจ ธาตุ ลงในอรรถว่า ไป + ปัจจัย จึงรวมกันเป็น ปปญฺจ  (อ่านตามภาษาบาลีว่า  ปะ  -  ปัน  -  จะ) แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ซึ่งเป็นกุศลธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าต่อการเจริญขึ้นของปัญญา   และยังหมายถึงกุศลธรรมที่ยังสัตว์ให้ชักช้าอยู่ในสังสารวัฏฏ์ หรือยังสังสารวัฏฏ์ให้ยืดยาวออกไป ซึ่งไม่พ้นไปจากกุศลธรรม มี โลภะ  โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้น ดังข้อความจากปรมัตถทีปนี อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ภูตเถรคาถา ตอนหนึ่งว่า    

“ชื่อว่า ปปัญจะ เพราะอรรถว่า ทำความสืบต่อแห่งสัตว์ในสังสารวัฏฏ์ให้ชักช้า คือให้ยืดยาว ได้แก่ ราคะ เป็นต้น และได้แก่ มานะ เป็นต้น”

ใน ปปัญจสูทนี อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬสีหนาทสูตร ได้แสดงถึงธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ไว้ดังนี้ 

ในบทว่า ปปญฺจารามสฺส  ปปญฺจรติโน นั้น สัตว์ทั้งหลาย ย่อมยินดีในความเนิ่นช้านั้น เพราะฉะนั้น ความเนิ่นช้านั้น จึงชื่อว่า อาราโม (เป็นที่มายินดี). ความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดีของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปปญฺจาราโม (แปลว่า ผู้มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี).     ความยินดีในความเนิ่นช้าของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า ปปญฺจรตี (ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า). บทว่า ปปญฺโจ นั้น เป็นชื่อของตัณหา ทิฏฐิ และมานะ  อันเป็นไปแล้วโดยความเป็นอาการของผู้มัวเมา และผู้ประมาทแล้ว.


การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพียงแค่วันเดียว ไม่ใช่เพียงชาติเดียวเท่านั้น แต่ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานในการสะสมอบรม เป็นจิรกาลภาวนา (การอบรมที่ต้องใช้เวลาอันยาวนาน) ค่อยๆ สะสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย โดยที่ไม่ขาดการฟังพระธรรม บุคคลผู้ที่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น นั้น ล้วนเป็นผู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญา เป็นระยะเวลาอันยาวนานมาแล้วทั้งนั้น

ถ้าหากว่าในแต่ละวัน ชีวิตเต็มไปด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ยินดี ติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ย่อมทำให้เป็นผู้เหินห่างจากการฟังพระธรรม ไม่ได้ไตร่ตรองพิจารณาถึงพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง

ตัณหา หรือโลภะ จึงเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ทำให้ปัญญาไม่เจริญขึ้น  หรือ แม้แต่ผู้ได้ยินได้ฟังพระธรรมมาบ้าง แต่เป็นผู้มีความหวัง มีความต้องการที่จะให้ได้ผลโดยเร็วจากการศึกษาพระธรรม อยากให้สติเกิด อยากให้ปัญญาเกิด นี่ก็เป็นเครื่องเนิ่นช้าด้วยเช่นกัน เพราะความอยาก ความต้องการ เป็นกุศลธรรม

มานะ (ความสำคัญตน) เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้าอีกประการหนึ่ง ไม่ให้ปัญญาเจริญขึ้น เพราะเหตุว่าเมื่อมีความสำคัญตนเกิดขึ้น ย่อมไม่เข้าไปสอบถาม ไม่เข้าไปสนทนาธรรม ไม่เข้าไปฟังธรรมกับท่านผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจธรรมตรงตามที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ย่อมทำให้เป็นผู้หมดโอกาสในการเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น มานะจึงเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา

ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตที่มีโลภะเป็นมูล (เฉพาะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด) ทำให้เป็นผู้มีความเห็นผิด ประการต่างๆ มีการยึดถือ ลูบคลำ ในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด ซึ่งไม่ใช่หนทางที่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา เพราะมีความเห็นผิด มีการยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด ความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมจึงมีไม่ได้ เมื่อมีความเห็นผิดแล้ว กาย วาจา และใจ ก็จะผิดไปด้วย เป็นเหตุให้กุศลธรรมทั้งหลายเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น คล้อยตามความเห็นที่ผิดจนยากที่จะแก้ไขได้

เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ธรรมที่เป็นเครื่องเนิ่นช้า คือ กุศลธรรมทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำให้ปัญญาเจริญขึ้น หรือจะกล่าวว่า ขณะกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป ขณะนั้นเนิ่นช้าต่อการเจริญขึ้นของกุศลธรรม ก็ได้ เพราะเหตุว่าเมื่อกุศลเกิดขึ้น ย่อมไม่ปล่อยให้จิตเป็นกุศลได้เลย พระธรรมที่ทรงแสดงถึงธรรมที่เป็นเครื่องเนิ่นช้า นั้น จึงเป็นเครื่องเตือนใจที่ดีสำหรับผู้ศึกษาพระธรรมทุกท่าน เพื่อความเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตประจำวัน ไม่ละทิ้งโอกาสที่สำคัญของชีวิต คือ โอกาสที่ได้ฟังและเข้าใจพระธรรม เพราะประโยชน์ของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ที่การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกเป็นปัญญาของตนเอง.

 


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ