[คำที่ ๔๒] ศรัทธา

 
Sudhipong.U
วันที่  14 มิ.ย. 2555
หมายเลข  32162
อ่าน  874

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์  สทฺธา

โดย อ.คำปั่น อักษรวิลัย

คำว่า สทฺธา (อ่านว่า สัด - ทา) เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง แปลว่า ความผ่องใส ความเลื่อมใสในสิ่งที่ควรเลื่อมใส แปลทับศัพท์เป็น  ศรัทธา, ศรัทธา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เมื่อเกิดขึ้นก็ยังจิตให้ผ่องใส สงบระงับกิเลส

ดังข้อความบางตอนจาก อัฐสาลินี  อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก  ธรรมสังคณีปกรณ์  ว่า

ศรัทธา เมื่อเกิดขึ้น ย่อมข่มนิวรณ์ทั้งหลาย ย่อมทำให้กิเลสสงบ ย่อมทำให้จิตผ่องใส ย่อมทำจิตไม่ให้ขุ่นมัว

ตัวอย่างพระสูตรที่แสดงถึงศรัทธา

เทวดาทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “อะไรหนอ  เป็นเพื่อนของคน?”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า “ศรัทธา เป็นเพื่อนของคน” [เป็นเพื่อนของผู้ไปสู่สวรรค์และพระนิพพาน]

(ข้อความบางตอนจาก  ...  พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  สคาถวรรค  ทุติยสูตร)


ศรัทธาเป็นปรมัตถธรรม (สภาพธรรมที่มีจริง) เป็นธรรมที่ดีงาม เกิดร่วมกับจิตที่ดีงามทุกประเภท ศรัทธาเปรียบเหมือนสารส้มที่ทำให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัว เพราะเหตุว่าเมื่อศรัทธาเกิดขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายซึ่งเปรียบเหมือนกับโคลนตมย่อมจมลงคือเกิดขึ้นไม่ได้ ศรัทธาเป็นสภาพธรรมที่ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เป็นไปในทาน เป็นไปในศีล เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา ดังนั้น เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นกุศลธรรมประการต่างๆ จะเกิดร่วมด้วยไม่ได้เลย เพราะศรัทธาเป็นธรรมฝ่ายดีจะไม่เกิดร่วมกับกุศลจิต

ถ้าหากไม่มีศรัทธาแล้ว กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเทียบเป็นชั้นๆ ทรัพย์ของชาวโลก ซึ่งเป็นแก้วแหวนเงินทอง ข้าทาสบริวารทั้งหลาย ไม่ใช่ทรัพย์ที่ประเสริฐ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้พ้นจากทุกข์ และไม่ได้นำความสุขมาให้อย่างแท้จริง ยกตัวอย่างเช่น  คนที่มีเงินมากๆ ก็เป็นทุกข์มากเพราะเงิน แสดงว่าทรัพย์นั้นไม่ได้ประเสริฐ ทรัพย์ที่เป็นเงินนั้นไม่ทำให้เกิดในภพภูมิที่ดีได้ เพราะฉะนั้นทรัพย์เหล่านั้นนำมาแต่ความทุกข์ ความกังวลใจ จึงไม่ประเสริฐเลย, ศรัทธาเป็นทรัพย์ที่ประเสริฐ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเอาศรัทธาเป็นประธาน ซึ่งก็รวมทั้งศีล หิริ (ความละอายต่อกุศล) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อกุศล) สุตะ(การสดับตรับฟังพระธรรม) จาคะ (การสละ) และปัญญาด้วย อริยทรัพย์เหล่านี้โจรก็ลักไปไม่ได้ มีแต่จะติดตามเจ้าของทรัพย์ไปได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นความประเสริฐของศรัทธาจึงมากกว่าทรัพย์ทั่วๆ ไปของชาวโลก อริยทรัพย์มีศรัทธาเป็นต้น ทำให้พ้นจากบายภูมิ ทำให้พ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้    

บุคคลผู้ที่มีศรัทธา จึงมีการเจริญกุศลทุกประการ มีการคบหาสัตบุรุษหรือกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ไตร่ตรองพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เมื่อปัญญาเจริญขึ้นไปตามลำดับก็สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้  เพราะอาศัยศรัทธา เป็นเบื้องต้น นั่นเอง ดังนั้น ศรัทธา จึงเป็นสภาพธรรมที่นำมาซึ่งประโยชน์เท่านั้น เป็นเหมือนเพื่อนที่ดีที่ช่วยให้สำเร็จกิจประการต่างๆ ทั้งในโลกนี้ ในโลกหน้าและช่วยให้ถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมด้วย.

 

 


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ก.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ