[คำที่ ๔๓] อุชุ

 
Sudhipong.U
วันที่  21 มิ.ย. 2555
หมายเลข  32163
อ่าน  638

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์   อุชุ

โดย อ.คำปั่น อักษรวิลัย

คำว่า อุชุ เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง มีคำแปลตามศัพท์วิเคราะห์ทางภาษาบาลีว่า ไปโดยความไม่คด, ไปสู่ความไม่คด แปลเป็นไทย ก็คือ   ตรง แสดงถึงความเกิดขึ้นเป็นไปของกุศลธรรม

ดังข้อความบางตอนจาก ปรมัตถโชติกา อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เมตตสูตร  ว่า

ชื่อว่า ตรง เพราะทำด้วยความไม่อวดดี, ชื่อว่า ตรงดี เพราะ ไม่มีมายาหรือว่า ชื่อว่า ตรง เพราะละความคดทางกายและวาจา, ชื่อว่าตรงดี   เพราะละความคดทางใจ"

ชีวิตประจำวัน เป็นธรรมทุกขณะ ทุกขณะของชีวิตเป็นธรรม มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปตลอดเวลา ถ้าเป็นผู้ตรงต่อตัวเองจริงๆ ก็จะรู้ได้ว่า กุศลเกิดมากหรือน้อย? เมื่อเทียบกับเวลาของวันหนึ่งๆ ตอนเช้ามีกุศลกี่ขณะ กี่เหตุการณ์ ตอนกลางวัน มีกุศลกี่ขณะกี่เหตุการณ์ ตอนเย็นมีกุศลกี่ขณะ กี่เหตุการณ์ หรือว่าเป็นไปกับด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง และหวั่นไหวด้วยอำนาจของกิเลสประการอื่นๆ บ้าง นี่คือความจริง  และเป็นธรรมทุกประการด้วย

เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาว่า วันหนึ่งๆ กุศลเกิดมากกว่ากุศล แสดงว่าเป็นผู้ตรงมาขั้นหนึ่ง แล้วยังต้องคิดแก้ไขตนเองด้วย และยังต้องตรงต่อไปที่จะว่า ไม่ควรเลยที่จะปล่อยให้เป็นกุศลเพิ่มขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ กว่าจะสิ้นชีวิตไป ลองคิดถึงกุศลในวันหนึ่งซึ่งเพิ่มขึ้นทุกวัน ไม่ได้ส่วนกับกุศลเลย แล้วจะเป็นอย่างไร นั่นก็หมายความว่า เป็นผู้เต็มไปด้วยกุศลต่อไป, ถ้าเป็นผู้ไม่ประมาท อาจจะหลงลืมสติไปบ้าง แต่แม้กระนั้นก็ตาม การที่เป็นผู้ที่คิดถึงพระธรรมเป็นสรณะ มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ด้วยการฟังพระธรรมให้เข้าใจ เป็นผู้ที่มีความจริงใจและมีความตั้งใจมั่นที่จะน้อมประพฤติตามพระธรรม ก็จะทำให้เกิดการระลึกได้ละเอียดขึ้นว่า ในวันหนึ่งเมื่อทานกุศลอาจจะไม่ได้เกิดเลย เพราะทานกุศล การสละวัตถุเพื่อประโยชน์สุขของคนอื่น มีเป็นบางครั้งบางคราว ก็ควรจะได้พิจารณาว่า ศีล การวิรัติทุจริตทางกาย ทางวาจา ไม่เบียดเบียน ไม่ประทุษร้ายบุคคลอื่น มีบ้างหรือไม่? และทางใจ ยังต้องเป็นผู้ตรงอีกว่า แม้ไม่ประทุษร้ายด้วยกาย ด้วยวาจา แต่ใจคิดอย่างไร บางทีใจคิดเบียดเบียน แต่ยังไม่ทำ ซึ่งก็อาจจะมีได้ แม้อย่างนั้นก็ยังจะต้องเป็นผู้ตรงที่จะเห็นว่า ในขณะนั้นจิตไม่สงบ เพราะเป็นกุศล  

เพราะฉะนั้นการที่จะเจริญกุศล นอกจากจะพิจารณาเรื่องทาน เรื่องศีล ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังจะต้องพิจารณาส่วนที่เหลือในวันหนึ่งๆ ว่า เมื่อทาน และศีล ไม่ได้เกิดบ่อย ส่วนที่เหลือควรจะเจริญกุศลประการอื่นซึ่งไม่ใช่ทานและศีล ได้แก่ ความสงบของจิต และการอบรมเจริญปัญญาที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพื่อที่จะดับความยึดถือสภาพธรรมนั้นว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ทั้งหมดทั้งปวงต้องอาศัยความเข้าใจถูกเห็นถูก จากการฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

พระธรรมในส่วนของความเป็นผู้ตรงนี้  จึงเป็นเครื่องเตือนใจที่ดี เป็นเครื่องเตือนให้เป็นผู้มีความตรง ไม่คดงอ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยสภาพที่ตรง ไม่คดงอนั้น ก็ย่อมไม่พ้นไปจากกุศลธรรมในชีวิตประจำวัน มีความจริงใจที่จะน้อมประพฤติตามพระธรรม เพราะถ้าเป็นกุศลเมื่อใด เมื่อนั้นก็ไม่ตรงแล้ว แต่จะตรงได้ก็ต่อเมื่อเป็นกุศลธรรมเท่านั้น กล่าวคือ ตรงด้วยกุศล ตรงด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง.


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ก.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ