[คำที่ ๕๘] สันติ

 
Sudhipong.U
วันที่  4 ต.ค. 2555
หมายเลข  32178
อ่าน  404

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ "สนฺติ"

โดย อ.คำปั่น อักษรวิลัย

คำว่า สนฺติ เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง แปลว่า ความสงบ มีความหมายที่ลึกซึ้งมาก ไม่ได้มุ่งหมายถึงสถานที่ โดยทั่วไปแล้วมุ่งหมายถึงสภาพธรรมที่เป็นพระนิพพานซึ่งเป็นสภาพธรรมที่สงบจากกิเลสแต่ก็ยังมีความหมายที่แสดงถึงความสงบ (สันติ) ในชีวิตประจำวันด้วย ซึ่งหมายถึงสภาพธรรมที่ดีงาม ได้แก่ ขณะที่กุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป โดยที่ในขณะนั้นก็สงบจากกุศล ข้อความที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความสงบ เช่น จาก ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ว่า

ชื่อว่า ผู้มีกายสงบแล้ว เพราะความไม่มีกายทุจริตทั้งหลาย มีปาณาติบาต เป็นต้น, ชื่อว่า ผู้มีวาจาสงบแล้ว เพราะความไม่มีวจีทุจริตทั้งหลาย มีมุสาวาท เป็นต้น, ชื่อว่า ผู้มีใจสงบแล้ว เพราะความไม่มีมโนทุจริตทั้งหลาย มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น) เป็นต้น


คำว่า สงบ หมายถึงขณะกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป หรือจะกล่าวอย่างสูงสุดแล้ว คือ ดับกิเลสได้ทั้งหมด ก็สงบอย่างยิ่งเพราะสงบจากกิเลสโดยประการทั้งปวง ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ขณะที่สงบย่อมตรงกันข้ามกับขณะที่ไม่สงบ เพราะขณะที่ไม่สงบนั้น ย่อมมีในขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น

ใจของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ยังเต็มไปด้วยกิเลสทั้งหลายทั้งปวง มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ย่อมไม่สงบเพราะมีกุศลธรรมเกิดขึ้นครอบงำกลุ้มรุมไม่ปล่อยให้เป็นกุศล ขณะใดที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นย่อมไม่สงบ แต่ในทางตรงกันข้าม ขณะใดที่กุศลธรรมเกิดขึ้น ขณะนั้นสงบจากกุศล เช่น ขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ  จิตเป็นกุศลมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นก็สงบจากความไม่รู้ เพราะปัญญาเกิดขึ้นแทนกุศล เป็นต้น

ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความเป็นไปของจิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) และ เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) ว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ สำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้รับแนะนำในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีความติดข้องยินดีพอใจรักชอบในอารมณ์ที่ดีน่าใคร่น่าพอใจ และย่อมมีความชัง ความเกลียดหรือความไม่พอใจในอารมณ์ที่ไม่ดี เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย แต่สำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้รับแนะนำในวินัยของพระอริยะ ได้อบรมเจริญปัญญาจนดับกิเลสได้ทั้งหมด เป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านย่อมไม่รักและไม่ชังในอารมณ์ที่มากระทบ ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นเลย เป็นผู้มีใจที่สงบอย่างแท้จริง ดังนั้น การมีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย จึงจะค่อยๆ ละความรักความชัง รวมถึงอกุศลธรรมประการอื่นๆ ได้ตามลำดับ เป็นไปเพื่อสงบจากอกุศล จึงแสดงให้เห็นว่าความเข้าใจพระธรรมเท่านั้นที่จะทำให้เปลี่ยนจากการที่เป็นผู้มากไปด้วยอกุศล ให้เป็นผู้มีอกุศลลดน้อยลง แล้วก็เพิ่มพูนทางฝ่ายกุศลให้ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา  เห็นประโยชน์สูงสุดของปัญญา  เพราะปัญญาเท่านั้นที่จะนำพาชีวิตไปสู่ความดีทั้งปวง และเป็นสภาพธรรมที่จะดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้ในที่สุด.


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ