[คำที่ ๖๓] เวยฺยาวจฺจ

 
Sudhipong.U
วันที่  8 พ.ย. 2555
หมายเลข  32183
อ่าน  585

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ เวยฺยาวจฺจ

คำว่า เวยฺยาวจฺจ  (อ่านว่า  ไว - ยา - วัด - จะ) เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง เขียนเป็นไทยว่า เวยยาวัจจะ (หรือ ไวยาวัจจะ) แปลว่า การขวนขวาย ซึ่งเป็นการขวนขวายในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ดังตัวอย่างซึ่งเป็นข้อความบางตอนจากปรมัตถทีปนี อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ว่า 

บุญกิริยาวัตถุที่ประกอบด้วยความขวนขวาย พึงทราบด้วยสามารถแห่งการทำวัตรปฏิบัติ (สิ่งที่ควรทำ) แก่ภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า, พึงทราบ ด้วยสามารถแห่งการที่เห็นภิกษุเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต รับบาตร (ของท่าน) แล้ว บรรจุภิกษา (อาหาร) แม้ในบ้านให้เรียบร้อย นำเข้าไปถวาย และพึงทราบด้วยสามารถแห่งการรีบนำเอาบาตรมาให้ เป็นต้น เมื่อได้ยินคำสั่งว่า จงไปนำเอาบาตรของภิกษุทั้งหลายมา (เพื่อที่จะใส่อาหารนำไปถวาย) ดังนี้.


เวยยาวัจจะ หมายถึง ขวนขวายในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ที่ควรสงเคราะห์เท่าที่จะเป็นไปได้ เป็นกุศลประการหนึ่ง เป็นไปได้ทั้งทางกายและทางวาจา ซึ่งมาจากจิตใจที่ดีงาม

กุศลมีหลายประการ และมีกุศลหลายประเภทด้วยที่เจริญได้โดยไม่ยาก ถึงแม้ว่าไม่มีทรัพย์สินสมบัติสิ่งของใดๆ เลย ก็ยังสามารถที่จะเจริญกุศลได้ เช่น ในการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ที่ควรสงเคราะห์ ขวนขวายในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่นิ่งดูดาย ดูเหมือนเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ยากแต่ว่าในวันหนึ่งๆ ถ้ากุศลจิตเกิดก็กระทำไม่ได้ บางท่านอาจจะเห็นว่าการช่วยเหลือสงเคราะห์บุคคลอื่นเป็นสิ่งที่ดี มีความเข้าใจถูกว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ในขณะที่ควรจะทำ กลับไม่ทำ ที่เป็นเช่นนี้เพราะขณะนั้นกุศลธรรมเกิดขึ้นครอบงำ ไม่สามารถที่จะกระทำแม้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ที่ควรสงเคราะห์ได้

เวลาที่เห็นใครทำงานหนักๆ หรือทำงานเหนื่อยๆ เคยคิดอยากจะช่วยหรือเห็นว่าควรจะช่วยหรือไม่ หรือว่าปล่อยให้เขาทำคนเดียว? ถ้าสติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพจิตใจในขณะนั้น จะทราบได้ว่าเป็นกุศลหรือกุศล กล่าวคือ ถ้าเป็นกุศลก็คิดดี คิดจะช่วยสงเคราะห์บุคคลนั้น แต่ว่ากุศลในขณะนั้นมีกำลังพอที่ทำการสงเคราะห์จริงๆหรือเปล่า หรือว่าเพียงคิด ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง 

เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญปัญญา มีปกติระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง จะเห็นกำลังของกุศล และกำลังของกุศลว่า สภาพธรรมใดมีกำลังมากกว่ากัน กุศลธรรมมีกำลังมากกว่า หรือว่ากุศลธรรมมีกำลังมากกว่าในขณะนั้น ถ้าเข้าใจเรื่องของการเจริญกุศลแล้ว จะเห็นได้ว่าในวันหนึ่งๆ นั้น สามารถที่จะเจริญกุศล ถึงแม้ไม่ใช่กุศลขั้นทาน ก็เป็นกุศลขั้นอื่นได้ เช่น การช่วยเหลือสงเคราะห์บุคคลอื่น แต่ว่าต้องแล้วแต่สภาพของจิตในขณะนั้นว่า กุศลธรรมจะเกิดขึ้นหรือกุศลธรรมจะเกิด ถ้ากุศลธรรมเกิดก็ไม่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แต่ถ้าสะสมกุศลมาแล้ว เห็นประโยชน์ของกุศล ก็ย่อมไม่ละเลยโอกาสที่จะได้เจริญกุศล ด้วยการสงเคราะห์ผู้ที่ควรสงเคราะห์ทันที เป็นเพิ่มพูนกุศลในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นขณะที่มีค่ามาก


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ