[คำที่ ๗๙] สุทธิ

 
Sudhipong.U
วันที่  28 ก.พ. 2556
หมายเลข  32199
อ่าน  732

ภาษาบาลี  ๑  คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ สุทฺธิ

คำว่า สุทฺธิ เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง (อ่านว่า สุด  -  ทิ) แปลว่า ความบริสุทธิ์ มีความหมายในทางธรรม  คือ   ขณะที่สภาพธรรมฝ่ายดีเกิดขึ้น ขณะนั้นก็บริสุทธิ์ แต่ถ้าสภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป ขณะนั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะเศร้าหมอง ไม่ผ่องใสด้วยอกุศลธรรม ดังข้อความจากพระไตรปิฎก  ดังนี้.-   

บาปอันผู้ใดทำแล้วด้วยตนเอง ผู้นั้น ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง บาปอันผู้ใดไม่ทำด้วยตนเอง ผู้นั้นย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้

(จาก...พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย   คาถาธรรมบท)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้ตรัสไว้ว่า “เมื่อจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าเศร้าหมอง เมื่อจิตบริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ด้วย”

(จาก... สารัตถปกาสินี  อรรถกถา   สังยุตตนิกาย    ขันธวารวรรค    คัททูลสูตร)

และ บางนัย ความบริสุทธิ์ (สุทฺธิ) มุ่งหมายถึงพระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่บริสุทธิ์จริงๆ กล่าวคือ บริสุทธิ์จากกิเลส บริสุทธิ์จากสภาพธรรมที่เกิดดับโดยประการทั้งปวง.


ธรรม  หมายถึง สิ่งที่มีจริงทั้งหมด  เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้ว ไม่พ้นไปจากจิต(สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์)  เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และ รูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย) แต่ละบุคคลที่เกิดมามีชีวิตดำเนินไปในแต่ละวันๆ นั้น ก็เป็นธรรมทุกขณะ เพราะมีธรรมเหล่านี้คือ มีจิต มีเจตสิก และมีรูป จึงสมมติเป็นคนนั้น คนนี้ เป็นสัตว์บุคคลต่างๆ   

แต่ละบุคคลที่เกิดมานั้น จะบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์ กล่าวคือ จะเป็นคนดีหรือไม่ดี ไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้อยู่ที่ฐานะ ตระกูล หรือ ยศถาบรรดาศักดิ์ แต่อยู่ที่จิต เพราะเหตุว่าเมื่อจิตดี  คือ เป็นกุศลจิต ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็ชื่อว่าบริสุทธิ์ (แต่เป็นการบริสุทธิ์ชั่วขณะที่จิตเป็นกุศล เพราะว่าผู้ที่จะมีจิตบริสุทธิ์จริงๆ ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นเลยนั้น ต้องเป็นพระอรหันต์) แต่เมื่อจิตไม่ดี คือ เป็นกุศลจิต ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ จะถือเอารูปลักษณ์ภายนอกเป็นประมาณไม่ได้เลย ดังนั้น จิต จึงมีความสำคัญมาก ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต เท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามการสะสมมาของแต่ละบุคคลจริงๆ โดยที่ไม่เหมือนกับเลย จะเห็นได้ว่าการที่บุคคลทำกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรือกุศล ก็สำเร็จแล้วด้วยจิต ทั้งนั้น กล่าวคือ เมื่อจิตดี (เป็นกุศล) ก็สำเร็จเป็นกรรมดี ทำในสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น ไม่มีโทษเกิดจากความดีเลยแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม ถ้าจิตไม่ดี (เป็นกุศล)  ย่อมเป็นเหตุให้ทำในสิ่งที่ไม่ดี นำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนมากมาย   

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ตลอด ๔๕ พรรษา ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของคำสอนก็ตาม เป็นเครื่องเตือนที่ดีอยู่เสมอ เตือนให้เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต และเป็นประโยชน์ทุกกาลสมัยด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ได้ฟังได้ศึกษาศึกษาและน้อมประพฤติปฏิบัติตามเท่านั้น บุคคลผู้เห็นประโยชน์ของกุศลธรรม และเห็นโทษของกุศลธรรม โดยอาศัยการฟังพระธรรม บ่อยๆ เนืองๆ สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ จิตใจย่อมน้อมไปในทางกุศลขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวันเพิ่มมากยิ่งขึ้น คล้อยตามความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้น ทำให้เป็นคนที่บริสุทธิ์ขึ้นด้วยกุศลธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป.


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ