[คำที่ ๑๓๒] พาล‏

 
Sudhipong.U
วันที่  6 มี.ค. 2557
หมายเลข  32252
อ่าน  399

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์  พาล

คำว่า พาล เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง อ่านตามภาษาบาลีว่า พา - ละ แปลว่า คนพาล โดยความหมายแล้ว คือ คนไม่ดี ผู้ประกอบด้วยบาปธรรม ผู้คิดชั่ว ทำชั่ว พูดชั่ว ผู้ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล  ไม่มีความละอายต่ออกุศล ไม่มีความเกรงกลัวต่ออกุศล เป็นต้น ดังข้อความจาก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อหิริกสูตร ว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นคนพาล และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญ มาก, ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? คือ  บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ทุศีล ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล และย่อมประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญ มาก”


พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แสดงถึงสิ่งที่มีจริง เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกตรงตามความเป็นจริงของธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง  และมีจริงในชีวิตประจำวัน เพราะมีแต่ธรรมเท่านั้น ที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ แม้แต่ในเรื่องของ “คนพาล” แท้ที่จริงแล้ว เมื่อว่าโดยปรมัตถธรรม  คนสัตว์ ไม่มี มีแต่ธรรม เพราะมีธรรมฝ่ายไม่ดีเกิดขึ้นเป็นไป จึงเรียกว่า คนพาล ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเป็นปุถุชน ก็ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจของกิเลสเป็นส่วนใหญ่ กุศลจิตจึงเกิดขึ้นมากในชีวิตประจำวัน คนพาล ก็มีหลากหลายตามความเป็นไปของสภาพธรรมฝ่ายที่ไม่ดี เช่น คนพาล คือ คนที่ทำบาปกรรม มี ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ เป็นต้น อีกนัยหนึ่งที่น่าพิจารณาคือ คนพาล คือ ผู้มีชีวิตอยู่สักว่าเพียงแค่หายใจเข้าออก หมายความว่า ไม่ได้รู้ประโยชน์โลกนี้ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ ไม่ได้ทำความดีในโลกนี้ และไม่รู้ประโยชน์ในโลกหน้า ไม่สะสมความดีเป็นที่พึ่งให้กับตนเองเลย แต่มักทำในสิ่งที่ไม่ดีเป็นปกติ ลักษณะของคนพาลอีกประการหนึ่งที่เป็นพาลอย่างยิ่ง คือ เป็นผู้มีความเห็นผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งเมื่อเห็นผิดแล้ว ก็จะทำให้คิดผิด พูดผิด ทำผิด ตามความเห็นที่ผิด และยังชักนำผู้อื่นไปในทางที่ผิด ด้วย เป็นต้น ทั้งหมดทั้งปวง ไม่พ้นไปจากกุศลธรรมเลย

ที่จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง คือ ในฐานะที่ยังเป็นผู้มีกิเลสอยู่ แต่ละบุคคลควรอย่างยิ่งที่จะพิจารณาตนเองอยู่เสมอว่า “เราเป็นคนพาลบ้างหรือไม่? หรือว่าไม่ได้เป็นคนพาลเลย? ตามความเป็นจริงแล้ว ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นจะบอกว่าเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ที่ฉลาด ไม่ได้เลย และส่วนมากมักจะคิดว่า คนที่มีความชั่วมากๆ มีกุศลมากๆ เท่านั้น ที่เป็นคนพาล โดยลืมคิดไปว่า กุศลจะมากหรือน้อย ก็คือพาล (ไม่รู้ความจริง เพราะขณะที่อกุศลเกิด ประกอบด้วยโมหะ หรือ อวิชชา ซึ่งเป็นความไม่รู้) เพราะฉะนั้นโลภะจะมากหรือน้อย ก็คือโลภะ โทสะจะมากหรือน้อย ก็คือโทสะ เมื่อเป็นเช่นนี้ แทนที่เราจะไปดูคนอื่นว่าเขาเป็นคนพาล แล้วเราเป็นคนพาลหรือเปล่า? ขณะใดเป็นกุศล ขณะนั้นเป็นคนพาลแน่ๆ ปกติในชีวิตประจำวัน กุศลจิตเกิดบ่อยมาก กล่าวได้ว่า “เป็นพาลเกือบจะทั้งวัน” นานๆ กุศลจิตถึงจะเกิด ซึ่งพอจะเป็นบัณฑิตได้บ้าง แต่ก็น้อยมากถ้าเทียบกับกุศล

ดังนั้น เรื่องของกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเรื่องของคนพาล ไม่ใช่เป็นเรื่องของบัณฑิต เพราะฉะนั้น คนพาลจะไกลตัวหรือว่าจะใกล้ตัว เพราะบางคนคิดถึงลักษณะของคนพาลว่าเป็นลักษณะของผู้อื่น แต่ว่า ถ้ารู้ว่าขณะนี้คือ กุศลจิต ก็จะทำให้รังเกียจอกุศลเพิ่มขึ้น ไม่ปรารถนาที่จะให้ตนเองเป็นคนพาล หรือไม่ปรารถนาให้ตนเองมีอกุศลมากๆ อย่างนั้น ไม่ควรจะคบกับอกุศล ไม่ควรเห็นว่า อกุศล เป็นสิ่งที่ดี

การมีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในชีวิตของแต่ละบุคคล ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจตามความเป็นจริงของกุศลและอกุศล ว่าอกุศลเป็นโทษ ให้ผลเป็นทุกข์ และเป็นสิ่งที่ควรละ ไม่ควรทำเลย ส่วนกุศล ความดีทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ แม้จะไม่มีใครเห็นก็ตาม เมื่อเข้าใจในเหตุและผลของกุศลและอกุศลแล้ว ย่อมจะเป็นผู้มีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อกุศล ไม่ประมาทในอกุศลแม้จะเล็กน้อย ทำให้เป็นผู้ถอยกลับจากกุศล และเพิ่มพูนกุศลในชีวิตประจำวันขัดเกลากิเลสของตนเองยิ่งๆ ขึ้นไป นั่นย่อมหมายความว่า ทำให้ค่อยๆ ขัดเกลาความเป็นพาลให้ออกไปจากจิตของตนเองไปตามลำดับ เพราะ พาล คือ กุศลธรรม ทั้งหลาย ไม่ได้อยู่ที่อื่น แต่อยู่ที่จิตของแต่ละคน นั่นเอง.


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
มกร
วันที่ 14 พ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ