[คำที่ ๒o๘] สมาทาน

 
Sudhipong.U
วันที่  20 ส.ค. 2558
หมายเลข  32328
อ่าน  854

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ “สมาทาน

คำว่า สมาทาน เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง [อ่านตามภาษาบาลีว่า สะ - มา - ทา - นะ] มาจากคำว่า สํ (ด้วยดี) กับ คำว่า อาทาน (การถือเอา) แปลงนิคหิต (อํ) เป็น จึงรวมกันเป็น สมาทาน แปลว่า การถือเอาด้วยดี แปลทับศัพท์เป็น สมาทาน เป็นคำที่มีความหมายถึงความตั้งใจที่จะถือเอาด้วยดีเป็นข้อปฏิบัติ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะถือเอาด้วยดีในทางใด เพราะเป็นไปได้ทั้งอกุศล และ กุศล โดยไม่ปะปนกัน ดังนั้น เมื่อได้ยินคำว่า สมาทาน แล้ว ไม่ใช่ว่าจะหมายถึงเฉพาะทางฝ่ายดีเท่านั้น แม้ในทางฝ่ายที่เป็นอกุศล ก็เป็นได้ เช่น สมาทาน(ถือเอาด้วยดี)ซึ่งมิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ข้อความจาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถา-ธรรมบท แสดงถึงความแตกต่างระหว่างสมาทานที่เป็นอกุศล กับ สมาทานที่เป็นกุศลไว้ ดังนี้

“สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้ มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ เป็นผู้ถือด้วยดี (สมาทาน) ซึ่งมิจฉาทิฏฐิ  ย่อมไปสู่ทุคติ, สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษ โดยความเป็นธรรมมีโทษ รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้ เป็นผู้ถือด้วยดี(สมาทาน)ซึ่งสัมมาทิฏฐิ ย่อมไปสู่สุคติ”


คำว่า สมาทาน ที่ชาวพุทธได้ยินกันอยู่เสมอ นั้น หมายถึง การถือเอาด้วยดี  เป็นได้ทั้งฝ่ายกุศล และ ฝ่ายกุศล กล่าวคือ ถ้าถือเอาด้วยดีในทางฝ่ายที่เป็นกุศล ก็จะเป็นผู้มีความตั้งใจจริงที่จะน้อมประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ และเว้นในสิ่งที่ควรเว้น เป็นต้น แต่ถ้าถือเอาด้วยดีในทางฝ่ายกุศล ก็จะเพิ่มกุศลมากยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวัน มีการล่วงศีลข้อต่างๆ เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เสพคุ้นยึดมั่นในความเห็นผิด เป็นต้น เป็นการถือเอาธรรมที่เป็นพิษ คือ อกุศลธรรม นั่นเอง นี้คือ ความเป็นจริงของสมาทาน ซึ่งเป็นกุศล ก็ได้ เป็นอกุศล ก็ได้  

สำหรับการถือเอาด้วยดีในทางฝ่ายที่เป็นกุศลนั้น เป็นเรื่องของความเข้าใจถูกเห็นถูก จะเห็นได้ว่า เวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนถึงพระสาวกทั้งหลาย ที่แสดงพระธรรมเกื้อกูลแก่ผู้อื่น นั้น ก็เพื่อประโยชน์จะให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง กล่าวคือ เมื่อฟังแล้ว ก็สมาทาน (ถือเอาด้วยดี) ซึ่งไม่ใช่คำพูดแต่เป็นความจริงใจ ตั้งใจจริงในทางที่เป็นกุศล มีความเข้าใจถูกเห็นถูก พิจารณาอย่างถูกต้องว่า กุศลธรรมเป็นกุศลธรรม กุศลธรรมเป็นกุศลธรรม กุศลธรรมเป็นสภาพธรรมฝ่ายดำ ไม่ดี ไม่นำคุณประโยชน์มาให้ นำมาแต่ทุกข์โดยส่วนเดียวเท่านั้น  จึงควรละ ไม่ควรสะสมให้มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม กุศลธรรม เป็นธรรมฝ่ายดี ควรสะสมอบรมเจริญ เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง เป็นสำคัญ  

เมื่อได้ฟังพระธรรมเป็นปกติบ่อยๆ  เนืองๆ ก็เป็นเหตุให้สมาทาน คือ ถือเอาด้วยดีในธรรมฝ่ายดี อันเกิดจากปัญญาที่เห็นประโยชน์จึงถือเอาด้วยดี พร้อมที่จะน้อมประพฤติปฏิบัติตาม โดยที่ไม่มีตัวตนที่ถือเอา ไม่มีตัวตนที่สมาทาน ไม่มีใครสั่งไม่มีใครบังคับ แต่เป็นเพราะปัญญาเกิดปรุงแต่งให้ถือเอาด้วยดีซึ่งธรรมฝ่ายดีอันเป็นไปเพื่อขัดเกลาละคลายกิเลสที่ได้สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ และประการที่สำคัญเมื่อเข้าใจเรื่องของสภาพธรรมในขั้นการฟัง ก็เป็นเหตุให้ถือเอาด้วยดี มีความมั่นคงยิ่งขึ้นในหนทางที่ถูกต้อง จากขั้นการฟังจนเป็นปัจจัยให้สมาทานตั้งอยู่ในความเข้าใจถูก จนเป็นปัจจัยให้ปัญญาขั้นต่อไปเกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ว่าเป็นธรรมแต่ละหนึ่งไม่ใช่เรา จนถึงขั้นที่สามารถประจักษ์แจ้งความจริงดับกิเลสตามลำดับขั้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญาที่ค่อย ๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับอย่างแท้จริง

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ตลอด ๔๕ พรรษานั้น เพื่อให้พุทธบริษัทมีความเข้าใจถูก เห็นถูก เป็นปัญญาของตนเอง บุคคลผู้ที่ได้ฟังได้พิจารณาบ่อยๆ จนกระทั่งมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ย่อมจะเห็นประโยชน์ของพระธรรม แล้วน้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีความมั่นคงที่จะถือเอาแต่สิ่งที่ประโยชน์ คือ กุศลธรรม ธรรมฝ่ายดี เท่านั้น ดังนั้น จะขาดการฟัง การศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวันไม่ได้เลยทีเดียว เพราะเหตุว่า การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อการละคลายกุศล และเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นแห่งกุศลธรรม อย่างแท้จริง.

 


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ