[คำที่ ๒๑๔] อธมฺม

 
Sudhipong.U
วันที่  1 ต.ค. 2558
หมายเลข  32334
อ่าน  383

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ อธมฺม

คำว่า อธมฺม เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง [อ่านตามภาษาบาลีว่า อะ - ดำ - มะ] มาจากคำว่า (ไม่ใช่) กับคำว่า ธมฺม (ธรรม ซึ่งคำว่า ธรรม ในที่นี้ หมายถึง กุศลธรรม,ความดี) รวมกันเป็น อธมฺม แปลว่า อกุศลธรรม ไม่ใช่ธรรมที่ดีงาม ไม่ใช่กุศลธรรม แปลทับศัพท์เป็น อธรรม   มุ่งหมายถึง สภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรม เท่านั้น ซึ่งเป็นธรรมที่มีโทษ เป็นอันตราย ทำให้เกิดในอบายภูมิได้ ตามข้อความจาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา ธัมมิกเถรคาถา ว่า

“สภาพทั้งสองคือ ธรรมและธรรม ย่อมมีวิบากไม่เสมอกัน ธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมทำให้ถึงสุคติ เพราะฉะนั้นแหละ บุคคลเมื่อชื่นชมยินดีด้วยโอวาทที่พระตถาคตผู้คงที่ตรัสไว้อย่างนี้ ควรทำความพอใจในธรรมทั้งหลาย เพราะพระสาวกทั้งหลาย ของพระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ ตั้งอยู่แล้วในธรรม นับถือธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด ย่อมยังตน ให้พ้นจากทุกข์ได้”


การที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริง ตามความเป็นจริง นั้น จะต้องเริ่มจากการฟัง การศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ว่า ธรรม คือ อะไร? สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนๆ ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น เช่น ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นความเข้าใจถูกเห็นถูก จะเปลี่ยนแปลงปัญญาให้เป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ เพราะความจริงเป็นอย่างนั้น สี เป็น สี เห็นเป็นเห็น ได้ยิน เป็นได้ยิน เป็นต้น เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้ว ธรรม มี ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ นามธรรม (จิต สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์, เจตสิก สภาพธรรมที่เกิดประกอบพร้อมกับจิต, พระนิพพาน สภาพธรรมที่ดับทุกข์ดับกิเลส ไม่เกิดไม่ดับ) และ รูปธรรม (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร) สิ่งที่มีจริงเหล่านี้ ทรงตรัสรู้โดยบุคคลผู้เลิศผู้ประเสริฐที่สุดในโลก คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ก็ทรงแสดงพระธรรมซึ่งเป็นคำสอนแก่สัตว์โลกเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องมีการใช้คำเพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าพระองค์ตรัสถึงสิ่งใด เพื่อความเข้าใจของผู้ฟังอย่างถูกต้อง, เมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องแล้วว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงๆ ไม่ว่าจะอ่านพบข้อความใดในพระไตรปิฎก ก็ไม่พ้นไปจากเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง เช่น ในบางแห่งจะพบคำว่า ธรรม กับ  ธรรม มาคู่กัน จากพื้นฐานความเข้าใจตั้งแต่เบื้องต้น ก็จะเข้าใจว่าธรรมในประโยคที่กล่าวถึงนี้ มุ่งหมายถึง ธรรมฝ่ายดี  ซึ่งเป็นกุศลธรรม ธรรมที่ดีงามทุกระดับขั้น และแน่นอน กุศลธรรม ก็มีจริงๆ เป็นธรรม ส่วน ธรรม เป็นธรรมที่ตรงกันข้ามกับกุศลธรรม คือ เป็นกุศลธรรม   ไม่ใช่ธรรมฝ่ายดี ก็เป็นธรรมอีกเหมือนกัน แต่เป็นธรรมที่เป็นกุศล เป็นธรรมฝ่ายดำ ให้ผลเป็นทุกข์ มีโทษ เป็นอันตราย ไม่นำมาซึ่งคุณประโยชน์ใดๆ เลย ซึ่งจะต้องไม่ลืมว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงๆ ไม่ว่าจะกล่าวถึงอะไร ก็ไม่พ้นจากสิ่งที่มีจริงๆ

โดยธรรมดาของบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น กุศลย่อมเกิดมากกว่ากุศล มีความหวั่นไหวไปด้วยอำนาจของกุศลประการต่างๆ มากมาย มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น แม้แต่วันนี้วันเดียว กุศลธรรมเป็นอันมากเกิดขึ้นกลุ้มรุมทำร้ายจิตใจของเราอยู่เกือบจะตลอดเวลา      

กุศลธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี เป็นธรรมฝ่ายดำ ไม่นำประโยชน์อะไรมาให้เลย ให้ผลเป็นทุกข์เท่านั้น แต่เนื่องจากเราได้สะสมกุศลมาอย่างยาวนานในสังสารวัฏฏ์นับชาติไม่ถ้วน เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย กุศลธรรมก็เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น เวลาโกรธ ขุ่นเคืองใจ ไม่สบายใจ ไม่พอใจ ถ้าโกรธมาก  ก็อาจจะไปทำร้ายเบียดเบียนคนอื่นได้ ทั้งนี้เพราะเคยสะสมโทสะมาแล้ว, เวลาโลภะเกิด ก็มีความติดข้องต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด เมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการ ก็เกิดโทสะ เกิดความไม่พอใจ แต่เมื่อได้มาตามที่ต้องการแล้ว ก็ต้องรักษาไว้อย่างดี กลัวสูญหาย เป็นเรื่องของอกุศลธรรมโดยตลอด แต่ถ้าไม่มีความติดข้องต้องการเลย ก็จะเบาสบายด้วยจิตที่เป็นกุศล นี้คือ สภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน   

เวลาโลภะเกิดครั้งหนึ่ง ก็ดับไป เวลาโทสะเกิดครั้งหนึ่ง ก็ดับไป แต่ไม่สูญหายไปไหน จะสะสมอยู่ในจิตต่อๆ ไป ทำให้แต่ละคนมีอุปนิสัยที่แตกต่างกัน บางคนเป็นคนโลภมาก ติดข้องมาก เห็นอะไร ก็อยากได้ไปหมด ได้เท่าไหร่ก็ไม่พอ ไม่มีวันเต็มสำหรับโลภะ บางคนเป็นคนที่มีโทสะมาก เห็นอะไร ได้ยินอะไร ก็ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจไปทุกเรื่อง ไม่มีความอดทน, ในชาตินี้เป็นอย่างนี้ ชาติหน้าต่อไป ก็สะสมเป็นบุคคลอย่างนี้ ทำให้เป็นผู้เต็มไปด้วยกุศลมากยิ่งขึ้น จนยากที่จะแก้ไขได้ นี้คือ โทษของกุศล ทั้งในชาตินี้และชาติต่อไป และถ้าถึงขั้นกระทำทุจริตกรรมมีการฆ่าสัตว์ เบียดเบียนบุคคลอื่น ลักทรัพย์ เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายภูมิ คือ ภูมิที่ไม่มีความเจริญในธรรม อันได้แก่  นรก เปรต อสุรกาย และ สัตว์ดิรัจฉาน ได้ มีความทุกข์ ความเดือดร้อนอย่างมาก โดยไม่มีใครทำให้เลย

ธรรม หรือ กุศลธรรม ความชั่วทั้งหลาย นั้น เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความเห็นผิด และ ความไม่รู้ เพราะฉะนั้น หนทางเดียวที่จะเป็นไปเพื่อขัดเกลาละคลายธรรมฝ่ายที่ไม่ดีได้ ก็ต้องด้วยหนทางของปัญญา เท่านั้น ที่จะต้องได้ฟังพระธรรม  ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกเป็นปกติในชีวิตประจำวัน.


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ