[คำที่ ๒๔๑] ปาปกมฺมวิปาก

 
Sudhipong.U
วันที่  7 เม.ย. 2559
หมายเลข  32361
อ่าน  366

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ “ปาปกมฺมวิปาก

คำว่า ปาปกมฺมวิปาก เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง [อ่านตามภาษาบาลีว่า ปา - ปะ - กำ - มะ - วิ - ปะ - กะ] มาจากคำว่า บาป (บาป,ธรรมที่ชั่ว) กมฺม (เจตนา,การกระทำ) กับคำว่า วิปาก (ผลที่สุกงอมแล้ว) รวมกันเป็น ปาปกมฺมวิปาก แปลว่า ผลของกรรมที่เป็นบาป,ผลของบาปกรรม,ผลของกรรมที่ชั่ว เป็นคำที่ส่องให้เข้าใจถึงความเป็นจริงของผลที่มาจากเหตุ กล่าวคือ เมื่อมีเหตุ คือ ปาปกรรม หรือ อกุศลกรรมที่ได้ทำแล้ว เมื่อถึงคราวที่อกุศลกรรมให้ผล ผลก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นไปตามควรแก่เหตุ ซึ่งเป็นผลที่ไม่น่าพอใจเท่านั้น เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น และไม่มีใครทำให้ด้วย ตามข้อความจาก พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทูตสูตร ว่า

“ก็บาปกรรมนี้นั่นแล ไม่ใช่มารดาทำให้ท่าน ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องหญิงทำให้ท่าน ไม่ใช่มิตรอำมาตย์ทำให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน ตัวท่านเองทำเข้าไว้ ท่านเท่านั้นจักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้”


กรรมที่ตนเองได้กระทำแล้วของใครก็เป็นของคนนั้น จะแบ่งปันให้กันไม่ได้ ไม่เหมือนกับทรัพย์สมบัติที่จะพอจะแบ่งปันให้คนอื่นได้, บุคคลผู้ที่ทำบาปกรรมหรืออกุศลกรรมประการต่างๆ มี ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียดใส่ความให้คนอื่นแตกแยกกัน เป็นต้น ถึงแม้ว่าหนีไปอยู่ ณ สถานที่แห่งใดด้วยความมุ่งหมายว่าจะทำให้ตนเองรอดพ้นจากการได้รับผลของกุศลกรรม ก็ย่อมไม่สามารถที่จะรอดพ้นจากการได้รับผลของกุศลกรรมไปได้เลย กุศลกรรมที่ได้ทำแล้ว เมื่อถึงคราวที่จะให้ผล ก็จะต้องให้ผล แล้วแต่ว่าจะให้ผลมาก เผ็ดร้อน หนักเบา ก็ตามควรแก่กุศลกรรมนั้นที่ตนได้ทำแล้วนั่นเอง ซึ่งไม่มีใครทำให้เลย ขึ้นอยู่กับกรรมที่ตนเองได้ทำไว้แล้วอย่างเดียว จะโทษใครก็ไม่ได้

เป็นความจริงที่ว่ากุศลกรรมที่ได้ทำแล้ว ถ้าเป็นปัจจัยทำให้ปฏิสนธิ (เกิด) ก็ย่อมจะปฏิสนธิในนรกบ้าง หรือว่าในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง หรือว่าปิตติวิสัย คือ เปรตบ้าง หรือว่า อสุรกาย (อบายภูมิที่ไม่ทุกข์ทรมานเหมือนนรกหรือเปรต แต่สัตว์ที่เกิดในภูมินี้ไม่มีความร่าเริง ไม่มีความเจริญ) บ้าง ซึ่งเป็นภูมิที่ไม่สามารถจะเจริญกุศลธรรมจนกระทั่งสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ เป็นภูมิที่เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน เดือดร้อน และ เต็มไปด้วยกุศลธรรม แต่ละคนก็จะเห็นความวิจิตรของกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว การฆ่าสัตว์ การถือเอาสิ่งของที่บุคคลอื่นไม่ได้ให้ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด เป็นต้น ที่ได้ทำแล้ว ไม่ว่าจะเป็นใครทำก็ตาม เป็นเหตุทำให้ปฏิสนธิในนรกก็ได้ ทำให้ปฏิสนธิในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็ได้ ทำให้เกิดเป็นเปรตก็ได้ ทำให้เกิดเป็นอสุรกาย ก็ได้ ตามสมควรแก่กุศลกรรม โดยไม่มีใครทำให้เลย นอกจากตนเองที่ได้ทำกุศลกรรมลงไปแล้วเท่านั้นจริงๆ สำหรับในภูมิมนุษย์ก็ยังเห็นสัตว์ดิรัจฉาน ซึ่งจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่มีกำเนิดดิรัจฉาน เพราะเหตุว่าแม้ในโลกนี้ ก็มีภูมิมนุษย์และมีภูมิสัตว์ดิรัจฉาน ด้วย

การที่เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานนั้น เป็นผลของกุศลกรรม ไม่ใช่ผลของกุศลกรรม การเกิดในนรกก็เป็นผลของกุศลกรรม การเกิดเป็นเปรต การเกิดเป็นอสุรกาย ก็เป็นผลของอกุศลกรรม แต่ไม่มีผู้ใดทราบความวิจิตรว่ากรรมที่ตนได้ทำแล้ว หลังจากจุติจิตสิ้นสุดความเป็นมนุษย์ในโลกนี้แล้ว กุศลกรรมนั้นจะทำให้ปฏิสนธิในนรก หรือว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน หรือว่าเป็นเปรต หรือว่าเป็นอสุรกาย แต่ว่าเหตุคือ กุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้น มีอยู่ ถ้าให้ผลทำให้ปฏิสนธิ ก็จะทำให้ปฏิสนธิในอบายภูมิ

แต่สำหรับกำเนิดของนรกกับกำเนิดของดิรัจฉานนั้น ก็พอจะเห็นได้ว่า การเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานนั้น มีความทุกข์ทรมานน้อยกว่าในภูมินรก สัตว์ดิรัจฉานที่มีความสุข ความสบาย ตามสมควรแก่สภาพของสัตว์ดิรัจฉาน ก็ยังมี ยังเป็นได้ ได้รับอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าพอใจ) ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายได้ แต่ว่าเพราะเหตุว่าสัตว์ดิรัจฉานปฏิสนธิด้วยจิตที่ไม่ใช่ผลของมหากุศล เพราะฉะนั้น แม้ว่าสัตว์ดิรัจฉานนั้นจะเห็นอิฏฐารมณ์ แต่การที่จะพิจารณาเจริญธรรม เจริญกุศล ให้มีกุศลเพิ่มพูนขึ้นอย่างมนุษย์นั้น ก็เป็นสิ่งที่เทียบกันไม่ได้กับผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์

ดังนั้น เมื่อได้ศึกษาเรื่องผลของบาปกรรมหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมจะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลที่ดี ให้เป็นผู้ที่มีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อการทำอกุศลกรรม เพราะอกุศลกรรม ให้ผลเป็นทุกข์เท่านั้น

เพราะฉะนั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ก็ไม่ควรที่จะประมาทในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาต่อไป และ ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ เพราะเหตุว่า โอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เหลือไม่มากแล้ว ซึ่งจะประมาทไม่ได้เลยทีเดียว เพราะความประมาทเป็นทางแห่งความเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเหตุให้กุศลพอกพูนหนาแน่นเพิ่มมากขึ้นทำให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์อย่างไม่มีวันสิ้นสุด.


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ