[คำที่ ๒๖๒] สกฺยปุตฺติย

 
Sudhipong.U
วันที่  1 ก.ย. 2559
หมายเลข  32382
อ่าน  1,087

ภาษาบาลี ๑คำคติธรรมประจำสัปดาห์ “สกฺยปุตฺติย”

คำว่า สกฺยปุตฺติย เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง [อ่านตามภาษาบาลีว่า สัก – กะ- ยะ – ปุด - ติ - ยะ] มาจากคำว่า สกฺย (ผู้องอาจ ผู้สามารถ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) กับคำว่า ปุตฺติย (นับเนื่องว่าเป็นบุตร) รวมกันเป็น สกฺยปุตฺติย แปลว่า ผู้นับเนื่องในความเป็นบุตร (ที่เกิดจากพระปัญญา) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขียนเป็นไทยได้ว่า ศากยบุตร ในที่นี้มุ่งหมายถึง บรรพชิต ผู้ซึ่งสละอาคารบ้านเรือน สละทรัพย์สมบัติ สละความเป็นคฤหัสถ์ทุกอย่าง เพื่อศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง น้อมประพฤติตามพระธรรมวินัย เป็นภิกษุในพระธรรมวินัย เป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ข้อความจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน อุโปสถสูตร แสดงความเป็นจริงของคำว่า ศากยบุตรไว้ว่า

“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วรรณะ ๔ จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม ถึงการนับว่า พระสมณศากยบุตร ทั้งนั้น” ข้อความจากวิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน อุปาลีเถราปทาน แสดงความเป็นจริงของคำว่า ศากยบุตร ไว้ว่า “เมื่อก่อน คือ ในกาลก่อน เราได้เป็นช่างกัลบก ทำความยินดีให้เกิด คือ ทำความโสมนัสแก่เจ้าศากยะทั้งหลาย คือ แก่พระราชาในศากยวงศ์ทั้งหลาย เราละคือละทิ้งโดยวิเศษซึ่งชาตินั้น คือ ตระกูลนั้น ได้แก่ กำเนิดนั้น เกิดเป็นบุตรของพระมเหสีเจ้า (ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่) คือ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อธิบายว่า ถึงการนับว่า เป็นศากยบุตร เพราะทรงคำสอนไว้ได้.


บุคคลผู้ที่ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีความเข้าใจพระธรรม เข้าใจความจริง เห็นโทษของการอยู่ครองเรือน ว่า คับแคบ คือ แน่นไปด้วยกิเลสทั้งหลาย มีแต่จะเป็นเครื่องพอกพูนกิเลส ให้หนาแน่นขึ้น เป็นที่หลั่งไหลมาของกิเลสทั้งหลาย แล้วมีอัธยาศัยน้อมไปที่จะขัดเกลากิเลสให้ยิ่งกว่าเพศคฤหัสถ์ จึงสละทุกสิ่งทุกอย่าง สละทรัพย์สินเงินทองทั้งหลายทั้งปวง สละวงศาคณาญาติ สละความเป็นคฤหัสถ์ทุกอย่าง แล้วบวช เป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความจริงใจ ด้วยความตั้งใจที่จะขัดเกลากิเลสจริงๆ นี้คือ จุดประสงค์ที่ถูกต้องของการบวชเป็นพระภิกษุ เพราะเหตุว่า การอบรมเจริญปัญญา ไม่จำกัดเฉพาะเพศใดเพศหนึ่งโดยเฉพาะ เนื่องจากว่าเป็นคฤหัสถ์ก็สามารถที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาได้ ดังนั้น จึงมีความต่างกันอย่างชัดเจนระหว่าง ผู้ที่บวช กับ ผู้ไม่บวช

ความเป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัย ต้องประพฤติตามพระวินัยและจะต้องศึกษาพระธรรมให้เข้าใจด้วย สิ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องพิจารณา คือ บวช เพื่ออะไร ซึ่งจะต้องตรงต่อความประสงค์ด้วยที่จะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต ซึ่งจะต้องประพฤติตามพระวินัย ถ้าไม่ประพฤติตามพระวินัยไม่ใช่พระภิกษุแน่นอน ก็ต้องเป็นคฤหัสถ์ ความต่างระหว่างผู้ที่เป็นคฤหัสถ์กับพระภิกษุ อยู่ที่พระวินัย คฤหัสถ์ก็ศึกษาพระธรรมได้ พระภิกษุซึ่งเป็นเพศบรรพชิต ก็ศึกษาพระธรรมได้ ถ้าจะศึกษาพระธรรมในเพศพระภิกษุ ก็ต้องประพฤติปฏิบัติตามพระวินัย ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดก็ตาม พระภิกษุทุกยุคทุกสมัยจะต้องน้อมประพฤติตามพระวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพราะว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้บัญญัติสิ่งที่เหมาะควรแก่พระภิกษุ เพื่อประโยชน์ในการขัดเกลากิเลสโดยประการทั้งปวง เป็นพระภิกษุเพื่ออะไร? เพราะอยู่ดีๆ เป็นคฤหัสถ์แล้วจะเป็นพระภิกษุ เพื่ออะไร ผู้ที่ตรง คือ ผู้ที่จะประพฤติตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศากยบุตร เป็นบุตรของที่เกิดจากพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้สงบจากการที่ทรงได้ตรัสรู้ดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น และมีชีวิตที่เป็นเพศบรรพชิตโดยตลอด ไม่ว่าจะอะไรจะเกิดขึ้น ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะกลับมาเป็นผู้มีกิเลสอีกไม่ได้ ผู้ที่จะบวช คือ ผู้ที่เห็นความประพฤติการกระทำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในเรื่องของธรรมและในเรื่องพระวินัยด้วย ไม่ใช่จะประพฤติอย่างเดิมอย่างคฤหัสถ์ ดังนั้น เมื่อจะประพฤติปฏิบัติตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยทั้งหมด

เมื่อจะประพฤติปฏิบัติตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องพิจารณาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รับเงินทองหรือเปล่า? พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีที่ดินไร่นาหรือเปล่า? พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีปราสาทราชวังหรือเปล่า? การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ตรง เห็นคฤหัสถ์กับบรรพชิต ก็ย่อมรู้ถึงความแตกต่าง เพราะเหตุว่าคฤหัสถ์ก็มีชีวิตของคฤหัสถ์ แต่เมื่อเป็นพระภิกษุเป็นเพศบรรพชิตแล้วย่อมแตกต่างจากคฤหัสถ์ ถ้าไม่ต่างก็ไม่ใช่พระภิกษุ ถ้าหากว่าพระภิกษุมีการล่วงละเมิดพระวินัย เป็นอาบัติ มีการกระทำที่ไม่เหมาะทางกาย ทางวาจา สำนึกหรือเปล่า แสดงอาบัติหรือเปล่า เพื่อให้พ้นจากอาบัติ แสดงอาบัติแล้วยังล่วงละเมิดอีกหรือเปล่า? นี้คือสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่ออนุเคราะห์ให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก ผู้ที่เป็นพระภิกษุต้องตระหนักถึงกาย วาจา ซึ่งจะเป็นเหมือนอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้ เป็นธรรมดาสำหรับพระภิกษุที่ยังมีกิเลส ยังมีเหตุให้ล่วงละเมิดพระวินัยได้ มีความประพฤติไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ความประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจาที่ไม่เหมาะไม่ควร เป็นอกุศล ก็ย่อมมี แต่ต้องสำนึกในความเป็นพระภิกษุ ซึ่งจะต้องแก้ไขปลงอาบัติเพื่อตั้งใจที่ไม่กระทำผิดอย่างนั้นอีก ถ้าตราบใดที่ไม่ปลงอาบัติ ก็ชื่อว่าไม่เคารพในพระธรรมวินัย ไม่เคารพในพระบรมศาสดาแล้วบวชทำไม บวชที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิใช่หรือ เมื่อบวชแล้วก็ต้องเป็นผู้ตรงที่จะต้องประพฤติตามพระวินัย และจะต้องศึกษาพระธรรมให้เข้าใจด้วย เพราะถ้าไม่เข้าใจพระธรรม ก็จะไม่สามารถประพฤติตามพระวินัยได้อย่างครบถ้วนได้

อุบาสกอุบาสิกาที่เห็นพระภิกษุก็เหมือนเห็นบุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีความประพฤติด้วยความสงบตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่ศากยบุตร ไม่ใช่บุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุว่า พระภิกษุที่ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจและน้อมประพฤติตามพระวินัย เท่านั้น จึงจะชื่อว่า เป็นบุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศากยบุตร ซึ่งจะขาดการศึกษาพระธรรมและจะขาดการน้อมประพฤติตามพระวินัย ไม่


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ