[คำที่ ๓๙๗] พาลฺย

 
Sudhipong.U
วันที่  4 เม.ย. 2562
หมายเลข  32517
อ่าน  373

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ “พาลฺย”

คำว่า พาลฺย เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง [อ่านตามภาษาบาลีว่า พา - ละ - ย] มาจากคำว่า พาล (ไม่รู้ความจริง,เขลา,คนพาล) ลง ณฺย ปัจจัย ในความหมายว่า “ความเป็น” รวมกันเป็น พาลฺย หมายถึง ความเป็นคนพาล เมื่อกล่าวถึงธรรมแล้ว ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล มีความไม่ละอายต่อบาป และความไม่เกรงกลัวต่อบาป เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดขึ้น ก็ทำให้เป็นคนพาล เป็นคนไม่รู้ความจริง ขณะที่อกุศลธรรมเกิดขึ้น นั้น เขลา ไม่สามารถเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริงได้เลย นี้แหละคือ ความเป็นคนพาล เมื่อเป็นเช่นนี้ คนพาลจะอยู่ใกล้หรือยู่ไกล เพราะเหตุว่า เป็นเรื่องของอกุศลธรรมทั้งหลาย ที่แต่ละคนก็มีด้วยกันทั้งนั้น

ข้อความใน ปรมัตถโชติกา อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มงคลสูตร แสดงความเป็นจริงของลักษณะที่เป็นคนพาล ไว้ดังนี้ ว่า

“ชื่อว่า พาล เพราะเป็นอยู่หายใจได้ อธิบายว่า เป็นอยู่โดยเพียงหายใจเข้าหายใจออก ไม่เป็นอยู่โดยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา”

ข้อความใน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อหิริกสูตร แสดงความเป็นคนพาลไว้ดังนี้ว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นคนพาล และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญ มาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ทุศีล ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล และย่อมประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญ มาก


พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แสดงถึงสิ่งที่มีจริง เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกตรงตามความเป็นจริงของธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงและมีจริงในชีวิตประจำวัน เพราะมีแต่ธรรมเท่านั้น ที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ แม้แต่ในเรื่องของความเป็นคนพาล ก็ทรงแสดงไว้ เป็นเครื่องเตือนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ จะได้รู้จักตัวเองว่า ยังไม่พ้นจากความเป็นพาล เมื่อว่าโดยสภาพธรรม แล้ว ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน มีแต่ธรรมเท่านั้น เพราะมีธรรมฝ่ายไม่ดีเกิดขึ้นเป็นไป จึงเรียกว่า คนพาล ทำให้ไม่รู้ความจริง ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเป็นปุถุชน ก็ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจของอกุศลธรรม เป็นส่วนใหญ่ กุศลจิตจึงเกิดขึ้นมากในชีวิตประจำวัน คนพาล ก็มีหลากหลายตามความเป็นไปของสภาพธรรมฝ่ายที่ไม่ดี เช่น คนพาลที่หยาบปรากฏชัด คือ คนที่ทำบาปกรรม ทำทุจริตกรรมประการต่างๆ มี ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด เป็นต้น พาลที่ละเอียดกว่านั้น แม้ไม่ได้ทำอกุศลกรรมประการต่างๆ แต่ก็ยังไม่พ้นจากความเป็นคนพาล เพราะยังมีอกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป แม้ไม่ได้ล่วงเป็นทุจริตกรรมก็ตาม ซึ่งจะต้องพิจารณาไปแต่ละขณะจิตจริงๆ กล่าวคือ ขณะที่จิตไม่ดี คือ อกุศลจิตเกิดขึ้น มีความติดข้องต้องการยินดีพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือ มีความโกรธ ความไม่พอใจเกิดขึ้น เป็นต้น ก็ชื่อ เป็นคนพาล เป็นคนไม่ดีแล้วในขณะนั้น เพราะเป็นอกุศล บางคนก็บอกว่า เกิดมาแล้วไม่ได้ทำผิดอะไร สบายอยู่แล้วก็สบายต่อไป ก็เป็นคนพาลอีกเหมือนกัน เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริงเลย และความเป็นพาลที่มีโทษมาก อันตรายมากกว่าอย่างอื่น คือ ความเห็นผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติผิดและสอนในสิ่งผิดๆ กระจายความเห็นผิดก่อโทษให้กับชนหมู่มาก ทำให้ชนทั้งหลายออกจากพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำลายทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ของผู้อื่น และทำลายพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ซึ่งเป็นโทษที่ยิ่งกว่าโทษใดๆ

ในฐานะที่ยังเป็นผู้มีกิเลสอยู่ แต่ละบุคคลควรอย่างยิ่งที่จะพิจารณาตนเองอยู่เสมอว่าเราเป็นคนพาลบ้างหรือไม่? ตามความเป็นจริงแล้ว ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นจะบอกว่าเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ที่ฉลาด ไม่ได้เลย และส่วนมากมักจะคิดว่า คนที่มีความชั่วมากๆ มีกุศลมาก ๆ เท่านั้น ที่เป็นคนพาล โดยลืมคิดไปว่า กุศลจะมากหรือน้อย ก็คือ เป็นพาล เพราะฉะนั้นโลภะจะมากหรือน้อย ก็คือโลภะ โทสะจะมากหรือน้อย ก็คือโทสะ เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะไปดูคนอื่นว่าเขาเป็นคนพาล แล้วเราเป็นคนพาลหรือไม่ ขณะใดเป็นกุศล ขณะนั้นเป็นคนพาลแน่ๆ ปกติในชีวิตประจำวัน กุศลจิตเกิดบ่อยมาก กล่าวได้ว่า เป็นพาลเกือบทั้งวัน นานๆ กุศลจิตถึงจะเกิด ซึ่งพอจะเป็นบัณฑิตได้บ้าง แต่ก็น้อยมากถ้าเทียบกับกุศล

เรื่องของกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเรื่องของคนพาล ไม่ใช่เป็นของบัณฑิต กุศลธรรมเหล่านั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป แต่ไม่สูญหายไปไหนจะสะสมสืบต่อในจิตขณะต่อไป ซึ่งสามารถจะเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ เป็นไปเพื่อความเดือดร้อนแก่ชนหมู่มาก ได้ เพราะฉะนั้น แต่ละบุคคลสามารถเข้าใจธรรมได้ เพราะการทรงแสดงพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออนุเคราะห์ผู้ไม่รู้ เช่น ขณะโกรธ ขณะนั้นมีความไม่รู้อย่างแน่นอน ไม่เห็นโทษของความโกรธแน่ๆ จึงโกรธ ถึงแม้โกรธแล้ว ขณะนั้นก็ไม่รู้อีกว่าจะไปเกิด ณ ที่ไหน จากความโกรธ นั้นถ้าเป็นความโกรธที่มีกำลังจนถึงประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่น เพราะอกุศลธรรมทั้งหลายให้ผลเป็นทุกข์เท่านั้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเป็นผู้รู้เหตุรู้ผลจริงๆ ย่อมคำนึงถึงผลของสิ่งที่เกิดจากความประพฤติเป็นไปในโลกนี้ ถ้าความประพฤติเป็นไปในโลกนี้เป็นอกุศลมากๆ โลกหน้าเป็นอย่างไร ก็รู้ได้เลย โดยอาศัยพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น พาลกับบัณฑิตก็ต่างกันที่ว่า คนพาลไม่ได้คิดถึงอกุศลที่เกิดขึ้นว่าจะเป็นเหตุไปสู่ภพภูมิไหน แต่ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็สามารถมีปัญญาเป็นบัณฑิตเห็นโทษของอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย ไม่ใช่แต่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียว ยังจะต้องติดตามไปอีก นี้คือประโยชน์จากการฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ทำให้รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง บุคคลผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมเท่านั้นที่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากพระธรรม ซึ่งไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นอย่างนี้เพราะพระธรรมไม่ได้สาธารณะกับทุกคน เพราะฉะนั้นแล้ว โอกาสที่ประเสริฐที่สุดในชีวิต คือ ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งเป็นการฟังการศึกษาในสิ่งที่มีค่าที่สุดในสังสารวัฏฏ์ สะสมเป็นที่พึ่งต่อไป เพราะทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเท่านั้น.


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 14 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ