การตาย 3 อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 155
พึงทราบประเภทแม้นี้อีกว่า ขณิกมรณะ สมมติมรณะ สมุจเฉทมรณะ
เมื่อชีวิตยังเป็นไป ความแตกแห่งรูปธรรมและนามธรรม ชื่อว่า ขณิกมรณะ คำนี้ว่า ติสสะตาย ปุสสะตาย ดังนี้ ชื่อว่า สมมติมรณะ โดยปรมัตถ์ เพราะไม่มีสัตว์ แม้คำนี้ว่า ข้าวกล้าตาย ต้นไม้ตาย ดังนี้ก็ชื่อว่าสมมติมรณะ เพราะไม่มีชีวิตินทรีย์กาลกิริยาอันไม่มีปฏิสนธิของพระขีณาสพ ชื่อว่า สมุจเฉทมรณะ
ขณิกมรณะ การตายชั่วขณะ คือสภาพธรรมเกิดแล้วดับ
สมมติมรณะ ตายโดยสมมติ เช่น จุติจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป ปฏิสนธิจิตเกิดต่อโดยไม่มีระหว่างคั่นคือ ตายแล้วเกิด
สมุจเฉทมรณะ ตายโดยเด็ดขาดคือ ตายโดยไม่มีการเกิดอีกได้แก่การตายของพระอรหันต์
ชีวิตเหมือนความฝัน ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ก็ฝันกันไปเรื่อยๆ
รูปที่ ๒ ในความคิดเห็นที่ ๓ เป็นจักขุวิญญาณอกุศลวิบากใช่มั้ยจ้ะ และถ้ามีกลิ่นด้วย ก็เป็นฆานะวิญญาณอกุศลวิบาก