ธรรมะ และ สภาพธรรม

 
Vijit
วันที่  2 เม.ย. 2550
หมายเลข  3275
อ่าน  1,403

มีความหมายเหมือนกันหรือไม่ ใช้แทนกัน หรือใช้ต่างกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 4 เม.ย. 2550

คำว่า ธรรมะ และ สภาพธรรม ที่เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปมีความเหมือนกัน และใช้แทนกันคือ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ แต่ในบางแห่งอธิบายคำว่าธรรมะ มีความหมายที่กว้างมาก คือรวมถึง บัญญัติ อาบัติ เป็นต้น แต่คำว่า สภาพธรรม หรือสภาวธรรม ใช้ในความหมายถึง สิ่งที่มีจริงเท่านั้น

เชิญคลิกอ่านที่นี่...ศัพท์ว่าธรรม [ปฏิสัมภิทามรรค]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 4 เม.ย. 2550

ธรรมะ หมายถึง รวมทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง และไม่มีจริง

สภาพธรรม ส่วนมากใช้กับการเจริญสติปัฏฐาน ใช้กับสิ่งที่มีจริงๆ เช่น เห็น

ขณะนี้ มีจริงเป็นธรรมะ สติเกิดก็ระลึกตรงสภาพธรรมะที่ปรากฏ แล้วแต่สติระลึกทาง

ไหน ทวารไหนไม่เจาะจง เพราะสติเป็นอนัตตา มีเหตุมีปัจจัยก็เกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chackapong
วันที่ 5 เม.ย. 2550

เรียนถามครับ

ธรรมะ หมายถึง รวมทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง และไม่มีจริง

ไม่มีจริงเป็นธรรมะด้วยหรือครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 เม.ย. 2550

ตามความเข้าใจที่เราเข้าใจกัน ธรรมหมายถึงสิ่งที่มีจริง คือ ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต

เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง ส่วนถ้าเราเข้าใจความหมายธรรมที่กว้างก็รวม

ถึงสิ่งที่ไม่มีจริง คำว่าไม่มีจริงในที่นี้ หมายถึง ไม่มีลักษณะ สภาวะของเขา (ไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ อนัตตา) นั่นก็คือ บัญญัติ ก็รวมอยู่ในความหมายที่กว้างเรียกว่า บัญญัติ

ธรรม ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chackapong
วันที่ 6 เม.ย. 2550

เรียนคุณแล้วเจอกัน ผมไม่เข้าใจครับ

ขอคำอธิบายเพิ่มอีกสักนิดเถอะ เพราะผมฟังมาว่า ธรรมะหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริง ไม่

ว่าเราจะทราบว่ามีอยู่หรือไม่ ถ้าสิ่งนั้นมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต

ความหมายง่ายๆ ว่า เคยมี มีอยู่ และกำลังจะมีขึ้นใหม่ต่อไป แล้วสิ่งที่ ไม่เคยมี ไม่มี

อยู่ และจะไม่มีอีกต่อไป คือไม่มีอะไรเลยก็เป็นเพียงบรรญัติ อย่างนั้นไช่ไหมครับ

เรานับเอาบัญญัติอันนี้รวมเข้าไปกับคำว่า ธรรมะด้วย ถ้าเราไม่ใส่คำว่า ไม่มีจริง

ความหมายของธรรมะ ยังคงถูกต้องไช่หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 เม.ย. 2550

สิ่งที่เคยมี (อดีต) มีอยู่ (ปัจจุบัน) และกำลังจะมี (อนาคต) สี่งที่กล่าวมานี้จะต้องมี

ลักษณะที่เกิดขึ้นและดับไป (ไม่เที่ยง) ขณะที่สิ่งนั้นดับไป เป็นอดีต ขณะที่กำลังเกิด

เป็นปัจจุบัน ขณะที่กำลังจะดับไป เป็นอนาคต สิ่งนั้นต้องมีลักษณะ มีสภาวธรรมไม่

เที่ยง เป็นต้น นั่นก็คือปรมัตถธรรม มี จิตเป็นต้น

ซึ่งคำว่าธรรม แปลว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ตามที่เราเข้าใจคือ มีจริงเพราะ มีสภาวะ

ลักษณะของเขา เช่น ไม่เที่ยง เป็นต้น เช่น จิต แต่บัญญัติ ไม่มีสภาวะ ลักษณะ

ของเขา (ไม่เที่ยงเป็นต้น) ดังนั้น คำว่า ธรรม ที่ใช้ในความหมายว่า เป็นสิ่งที่มีจริง

บัญญัติ จึงไม่ใช่ธรรมในความหมายนี้ เพราะไม่มีสภาวะครับ แต่คำว่าธรรม เป็นคำที่

มีความหมายกว้าง ทุกอย่างเป็นธรรม แม้บัญญัติ เช่น คำว่า บัญญัติธรรม แต่ไม่ได้

มายความถึงคำว่า ธรรม ที่เราใช้กัน ที่ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง (มีสภาวะลักษณะ)

พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงว่า สัจจะ มี 2 คือ จริงโดยปรมัตถ์ (มีสภาวะ เช่น จิต)

จริงโดยสมมติ (จริงตามที่ ชาวโลกสมมติกัน แต่ไม่มีสภาวะคือบัญญัตินั่นเอง)

เรานับเอาบัญญัติอันนี้รวมเข้าไปกับคำว่า ธรรมะด้วย ถ้าเราไม่ใส่คำว่า ไม่มีจริง

ความหมายของธรรมะยังคงถูกต้องไช่หรือไม่ครับ?

ดังนั้น บัญญัติจึงมีจริงโดยสมมติของชาวโลก แต่ไม่มีสภาวะครับ ความหมาย

ของธรรม จึงมีการใช้ได้หลายอย่างครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chackapong
วันที่ 6 เม.ย. 2550

ขอบคุณครับคุณ แล้วเจอกัน ที่อธิบายเพิ่มเติม

เหมือนการตรวจสภาพรถ เติมน้ำ น้ำมัน ให้เต็ม ก่อนออกเดินทางไกล

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ