ภิกษุในธรรมวินัยไม่รับและยินดีในเงินและทอง

 
khampan.a
วันที่  1 ก.ย. 2563
หมายเลข  32916
อ่าน  748

หทเย นิเธตพฺพยุตฺตกํ
(ข้อความที่ควรเก็บไว้ในหทัย)
[๑๙๗]

ภิกษุในธรรมวินัยไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง


การเป็นภิกษุต่างกับคฤหัสถ์มากมาย แต่เพียงข้อที่รู้ได้ชัดเจน คือ ภิกษุในธรรมวินัยไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง จึงสามารถที่จะสละเพศคฤหัสถ์ได้ คือสละความยินดีที่เป็นคฤหัสถ์ที่จะรับเงินและทอง ด้วยเหตุนี้ ภิกษุใดเพียงแค่ยินดีก็ไม่เป็นภิกษุตามธรรมวินัย เพราะว่ายังเป็นคฤหัสถ์จึงยินดีและถ้ายินดีถึงกับรับเงินและทอง ไม่ต่างกับคฤหัสถ์เลย เพราะฉะนั้น สำนึกอย่างไร? สำนึก คือว่า เราไม่ได้เป็นภิกษุตามที่เราได้บวช ใช่ไหม? เพราะว่าเราสละเพศคฤหัสถ์แล้วต่างหากที่จะศึกษาพระธรรมวินัยในเพศของบรรพชิตขัดเกลากิเลสตามพระธรรมวินัยทั้งหมดจึงสมควรที่จะเป็นภิกษุ เพราะฉะนั้น ถ้าภิกษุใดยินดี หมายความว่าเขาก็ต้องรู้ตัวแล้วว่าเขาเหมือนกับคฤหัสถ์ที่ยังยินดีในเงินและทองและถ้าภิกษุนั้นถึงกับรับด้วย ก็แสดงให้เห็นว่าความยินดีนั้นมากพอที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพราะฉะนั้น สำนึกไหมว่าจะเป็นภิกษุต่อไป? ซึ่งถ้าจะเป็นภิกษุต่อไปก็ต้องปลงอาบัติ (แสดงโทษของตน เพื่อจะไม่ทำอย่างนั้นอีก) ให้รู้ว่าสิ่งนั้นไม่สมควรที่ได้ล่วงละเมิดแล้ว ต่อจากนั้นไปจะไม่กระทำอย่างนั้นอีก จึงสมควรที่จะเป็นภิกษุในธรรมวินัยได้ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ตรงและไม่จริงใจก็คือไม่ใช่ภิกษุในธรรมวินัย ไม่มีทางที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้


กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... เก็บไว้ในหทัย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ก.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Nataya
วันที่ 25 ก.พ. 2564

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ