ทำไมวิปัสสนา ไม่ใช่การนั่งสมาธิ-จงกรม

 
จิต89หรือ121
วันที่  5 เม.ย. 2550
หมายเลข  3322
อ่าน  1,432

เพราะการอบรมเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่ทำอะไรที่ผิดปกติจากชีวิตประจำวัน การนั่งสมาธิเดินย่องๆ แล้วคิดว่าเป็นการปฏิบัติธรรม นั่นคือโลภะที่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ (ความพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิด) ผู้มีปกติเจริญวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน ต้องแยกความต่างกันของกุศลและอกุศลในชีวิตประจำวันได้ กุศลไม่ใช่ความต้องการพอใจที่จิตจดจ้อง ที่จะตั้งมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใด (อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 5 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนา

เพราะวิปัสสนาเป็นปัญญาที่รู้แจ้งในสภาพของนามธรรมและรูปธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แหม่มค่ะ
วันที่ 5 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนา ทั้งสมถะและวิปัสสนาต้องเพื่อขัดเกลากิเลส ไม่ใช่อะไรที่แปลกๆ แล้วก็ไม่รู้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 เม.ย. 2550

วิปัสสนา คือ การรู้แจ้งธรรมที่มีในขณะนี้ ธรรมไม่ได้มีแต่ตอนนั่ง ตอนเดินจงกรม แต่มีอยู่ทุกขณะ ดังนั้น ปัญญาจึงควรรู้สภาพธัมมะที่มีขณะนี้ ด้วยการอบรมขั้นการฟังจนเข้าใจเรื่องสภาพธัมมะทางตา ...ใจ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมธัมมะนั่นแหละที่ทำหน้าที่ (ไม่ใช่เราไปทำหน้าที่) ระลึกรู้สภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา ต้องเริ่มต้นก่อนว่า อะไรคือธัมมะ และธัมมะอยู่ขณะไหน และที่สำคัญที่สุดธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ดังนั้น จึงไม่มีใครไปบังคับให้มีการเจริญวิปัสสนา หรือสร้างสถานการณ์ให้ปัญญาเกิด ด้วยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นความเข้าใจว่าไม่มีเราแม้ขั้นการฟังว่าเป็นธัมมะ จึงจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเจริญวิปัสสนาที่ถูกต้องครับ

การแสดงธรรมที่ถูกต้องเพื่อเกื้อกูลและด้วยความเมตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 5 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนา

เพราะวิปัสสนาเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่ มรรค ผล นิพพานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
medulla
วันที่ 5 เม.ย. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
anas
วันที่ 8 เม.ย. 2550

การที่นั่งสมาธิแล้วได้พบกับความสุขสงบ สุขเย็นๆ แบบไม่เคยเจอความรู้สึกเช่นนี้มาก่อนในชีวิต แต่เป็นแค่ช่วงสั้นๆ คือ อะไรคะ อย่างนี้เรียกว่าสมถะ ใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
shumporn.t
วันที่ 8 เม.ย. 2550

ที่เรียกว่าความสุขนั้น อาจเป็นโลภมูลจิตได้ เพราะโลภะและกุศลจิตต่างประกอบด้วยโสมนัสเวทนาเหมือนกัน สมาธิที่ประกอบด้วยกุศลจิตคือ สัมมาสมาธิ สมาธิที่ประกอบด้วยอกุศลจิตคือ มิจฉาสมาธิ สมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิก เกิดกับกุศลจิตหรืออกุศลจิตก็ได้ ส่วนสมถะ หมายถึงความสงบจากอกุศล สมถะจึงเป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเข้าใจความต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิต ปัญญาเห็นโทษของโลภะและโทสะในชีวิตประจำวัน จึงอบรมสมถะ ถ้าสภาพธรรมปรากฏแล้วไม่รู้ว่าเป็นอะไร คืออะไร ไม่ใช่สมถภาวนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 27 ม.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ