หวังดีหรือหวังร้าย?

 
sutta
วันที่  3 พ.ย. 2563
หมายเลข  33221
อ่าน  402

มีหลายคนไม่กล้าที่จะพูดความจริงกลัวว่าคนอื่นผิด แต่ถ้าเขาผิดแล้วจะพูดว่าอย่างไร เขาถูกหรือ พูดไม่ได้ใช่ไหม? เพราะฉะนั้น การที่เราจะบอกว่าใครผิด ถ้าเราหวังร้ายเราก็ทับถมว่าเขา (ซึ่งไม่ถูกต้อง) แต่ถ้าเราหวังดี ให้เขารู้ว่าเขาผิด ดีไหม? เพราะว่าถ้าเขาไม่รู้ว่าเขาผิด ไม่มีทางที่จะแก้ไขอะไรเลยทั้งสิ้น ถ้าเข้าใจธรรมผิดแล้วก็ไม่ให้เขารู้ว่านั่นผิดเขาจะแก้ไหม?ถ้าไม่ให้เขาเข้าใจถูก หวังดีต่อเขาหรือเปล่า เพราะฉะนั้นการที่หวังดีจริงๆ ต้องหวังดีในทางที่ถูกต้อง ให้เขามีความเข้าใจที่ถูก


[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้า 467

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมาก ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดสรรเสริญคุณของคนที่ควรติเตียน ๑ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดติโทษของคนที่ควรสรรเสริญ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัดถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลมประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลายเขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ๑พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ