ถ้านั่งสมาธินานๆ แล้วนอนไม่ค่อยจะหลับ แก้อย่างไรครับ
ส่วนใหญ่จะนั่งจับที่ลมหายใจ บางทีก็นอนปฏิบัติ พอปฏิบัติไปสักพัก ก็เกิดเหตุการตามหนังสือนั่นแหละ แต่พอถอนออกจากสมาธิแล้ว ทำไมนอนไม่ค่อยจะหลับ จะหลับอีกทีก็ประมาณ ตี ๔ ตี ๕ พอกำลังจะหลับ ทำไมกายอีกกายหนึ่งดั้นวิ่งออกไปซะงั้น เหมือนมีแม่เหล็กมาดึง หรือพุ่ง อะไรประมาณนั้นแหละ ช่วยอธิบายให้กับเหล่าสาวกผู้นี้ด้วยนะขอรับ ขอบพระคุณล่วงหน้าขอรับ //virot05.exteen.com
เคยมีลงหนังสือพิมพ์ ว่าคนที่ทำสมาธิแล้วเป็นฟุ้งซ่านเป็นบ้าไปก็เยอะ เพราะปฏิบัติผิด วิธีแก้ก็คือ เลิกทำสมาธิค่ะ
จุดมุ่งหมายของการเจริญสมาธิ นั้นเพื่อขัดเกลากิเลส ผู้ที่มีปัญญาเห็นโทษของอกุศลคือ โลภะและโทสะ เป็นผู้มีปัญญา เห็นความต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิตในชีวิตประจำวัน จึงสามารถเจริญสมถภาวนาได้ แต่คนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนี้ ไม่ได้ศึกษาโดยละเอียดเขาบอกให้นั่งก็นั่ง เขาบอกให้หลับตาก็หลับตา โดยทำตามเขาบอก มิใช่ปัญญาความรู้ของเราเอง เมื่อเริ่มด้วยความไม่รู้ ก็ต้องเกิดความไม่รู้ และมีอาการผิดแปลกจากปกติ และก็ไม่เข้าใจด้วยว่า คืออะไร สมถะเป็นการอบรมกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ความเข้าใจ ผู้ที่อบรมสมถะที่ถูกต้องจะไม่มีอาการอย่างที่บอก สมถะเป็นเรื่องละเอียด ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนที่จะทำอะไรในเวปนี้มีคำตอบ ควรเริ่มจากความเข้าใจก่อนว่า ธรรมะคืออะไร
แก้ด้วยปัญญา ปัญญาจะเกิดก็ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจว่า ธรรมคืออะไร ปฏิบัติคืออะไร เริ่มจากการฟังให้เข้าใจก่อนนะครับ
สัตบุรุษทั้งหลายเมื่อทะเลาะกัน ย่อมเชื่อมกันได้เร็ว เพราะการให้อภัย
การอบรมปัญญา ไม่ใช่การนั่งสมาธิ
ก่อนอื่นขอแนะนำก่อนว่า อย่าพึ่งรีบปฏิบัติ ขอให้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ให้เข้าใจก่อน เพราะว่า พระพุทธองค์ทรงสะสมบารมี มาสี่อสงไขยแสนกัปเพื่อให้สัตว์โลกได้มีปัญญารู้แจ้งอริยสัจจธรรม การอบรมเจริญปัญญา ต้องเริ่มจากการฟังการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ เมื่อเริ่มเข้าใจ ปัญญาย่อมค่อยๆ ศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ การอบรมปัญญาไม่ใช่การนั่งสมาธิ อีกอย่างหนึ่ง การเจริญสมถและวิปัสสนาไม่มีจำจัดว่าจะต้องนั่งขัดสมาธิ์เท่านั้น ถ้าเข้าใจในข้อปฏิบัติทั้งสมถและวิปัสสนา สามารถเจริญได้ทุกๆ อิริยาบถ และผลของการอบรมปัญญา คือ รู้แจ้งความจริง ถ้าเจริญถูกต้องจิตต้องสงบและปัญญาต้องรู้ความจริง
พระพุทธศาสนา คือ คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ซึ่งในครั้งก่อนที่จะตรัสรู้ ก็มีการอบรมเจริญสมาธิกันมามาก จนกระทั่งจิตสงบถึงขั้นอุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิ ถึงรูปฌานและอรูปฌาน แต่ก็ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะฉะนั้น ข้อความในพระไตรปิฎก ใช้คำว่า สติปัฏฐาน ไม่ได้ใช้คำว่าสมาธิปัฏฐาน แสดงว่าการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ ที่จะเข้าใจต้องเพราะสติระลึกเรื่องของสติเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะฉะนั้นการเข้าใจธรรมต้องเป็นไปตามลำดับขั้นก่อนว่า ธรรมะ คืออะไร? เพราะว่าเราทุกคนแสวงหาธรรม บางคนก็อ่านในพระไตรปิฎกที่บางท่านเรียบเรียงไว้ให้เข้าใจง่ายๆ แต่ว่าจริงๆ แล้ว ต้องเข้าใจจริงๆ ว่า ถ้าไม่ได้ศึกษาจริงๆ อาจจะมีความเข้าใจผิดในธรรมได้ เพราะว่าหลายคนศึกษาธรรม แสวงหาธรรม แต่ไม่ทราบว่าขณะนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้นจึงต้องเข้าใจตามลำดับตั้งแต่ต้น แม้แต่คำแรกคือ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงและทรงตรัสรู้ ไม่ได้ทรงแสดงเรื่องอย่างที่ปฏิบัติกันก่อนการตรัสรู้คือ สมาธิ แต่ทรงแสดงให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจจริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า “ธรรม” หรือ ว่าลักษณะของธรรมเสียก่อนเพราะสติปัฏฐาน หมายความถึง การอบรมเจริญปัญญา รู้ความจริงของสภาพธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดง ซึ่งทรงแสดงตั้งแต่เริ่มต้น โดยที่ว่านอกจากพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก แล้วก็เป็นพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมล้วนๆ เพราะฉะนั้น ก็จะศึกษาเข้าใจลักษณะของธรรมได้เมื่อเข้าใจคำว่า ธรรมและปรมัตถธรรมและอภิธรรม ก่อนที่จะถึงสติปัฏฐาน
สมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก เป็นเจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ไม่ว่าจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ใด เอกัคคตาเจตสิกก็ตั้งมั่นในอารมณ์นั้น เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิต
ไม่มีกำลังตั้งมั่นคงในอารมณ์ เท่ากับเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิต ขณะใดที่จิตเกิดดับรู้อารมณ์เดียวสืบต่อกันนานๆ ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกซึ่งตั้งมั่นในอารมณ์แต่ละขณะจิตนั้น ก็ปรากฏเป็นสมาธิขั้นต่างๆ ขณะใดที่เป็นกุศล เอกัคคตาเจตสิกตั้งมั่นในอารมณ์นั้น ขณะนั้นจึงเป็น สัมมาสมาธิ ตามลำดับขั้นของกุศลนั้นๆ